สำรวจ
รีวิว
สอบเข้า
ออนไลน์

ครูสอนพิเศษ คุณภาพอันดับ1

หาครูสอนพิเศษตัวต่อตัว คลิกเลย

ค้นหาด้วยเสียง
ค้นหาด้วยเสียงคลิกที่นี่

» » การส่งสารด้วยการพูด วิชาภาษาไทยมัธยมต้น

10 พฤศจิกายน 2559

การส่งสารด้วยการพูด วิชาภาษาไทยมัธยมต้น

การพูดที่มีประสิทธิภาพ หมายถึง การพูดได้เนื้อถ้อยกระทงความสนองจุดประสงค์ของผู้พูด ส่วนหนึ่งของการพูด เราสอนและฝึกได้ การพูดเป็น “ศาสตร์” มีหลักการ กฎเกณฑ์ และเป็นศิลปะเฉพาะตัวที่อาจจะลอกเลียนกันได้ยาก ซึ่งอาจประกอบไปด้วย

ส่งสารด้วยการพูด

การส่งสารด้วยการพูด วิชาภาษาไทยมัธยมต้น


การพูดที่มีประสิทธิภาพ  หมายถึง  การพูดได้เนื้อถ้อยกระทงความสนองจุดประสงค์ของผู้พูด ส่วนหนึ่งของการพูด  เราสอนและฝึกได้  การพูดเป็น “ศาสตร์” มีหลักการ กฎเกณฑ์ และเป็นศิลปะเฉพาะตัวที่อาจจะลอกเลียนกันได้ยาก ซึ่งอาจประกอบไปด้วย

๑.  ผู้พูดมีความรู้ในเรื่องที่จะพูด
๒.  มีจุดประสงค์ในการพูด
๓.  ผู้พูดรู้จักวิเคราะห์ผู้ฟัง
๔.  โอกาสที่พูดเหมาะสม
๕.  ผู้พูดพูดได้ชัดเจน
๖.  ผู้พูดรู้จักสร้างบรรยากาศให้เป็นกันเอง
๗.  ผู้พูดมีบุคลิกลักษณะที่น่าเชื่อถือ

การพูดระหว่างบุคคล
๑.  การทักทายปราศรัย
๒.  การแนะนำตนเอง
๓.  การสนทนา

การพูดในกลุ่ม
๑.  การเล่าเหตุการณ์ที่ได้อ่านหรือฟังมา
๒.  การเล่าเหตุการณ์

การพูดระหว่างบุคคล

เป็นการพูดที่ไม่เป็นทางการ  ปกติทั้งผู้พูดและผู้ฟังมักไม่ได้เตรียมตัวล่วงหน้ามาก่อน  ไม่จำกัดสถานที่และเวลา  เนื้อหาไม่มีขอบเขตจำกัดแน่นอน  แต่เป็นการพูดที่คนเราต้องใช้มากที่สุด  และควรฝึกฝนให้ใช้การได้อย่างคล่องแคล่ว  การพูดประเภทนี้ได้แก่  การพูดทักทายปราศรัย  การแนะนำตนเองและการสนทนา
๑.  การทักทายปราศรัย
ธรรมเนียมไทยใช้คำทักทายปราศรัยว่า  “สวัสดี สบายดีหรือคะ” เป็นการเริ่มต้น ในการทักทายปราศรัยต้องระมัดระวังไม่ล่วงล้ำก้าวก่ายในเรื่องส่วนตัวของผู้อื่น ทั้งโดยเจตนาและไม่เจตนา การทักทายปราศรัยควรปฏิบัติดังนี้ คือ
๑.  ยิ้มแย้มแจ่มใสด้วยความรู้สึกยินดีที่ได้พบผู้ที่เราทักทาย
๒.  กล่าวคำปฏิสันถารหรือทักทายตามธรรมเนียมนิยมที่ยอมรับกันในสังคม  เช่น  “สวัสดีครับ..........สวัสดีค่ะ............”
๓.  แสดงกิริยาอาการประกอบคำปฏิสันถาร  ซึ่งขึ้นอยู่กับฐานะของบุคคลที่เราทักทาย  

๒.  การแนะนำตนเอง
การแนะนำตนเองมีความสำคัญในชีวิตประจำวันเพราะแต่ละวันเรามักจะได้พบ  ได้รู้จัก  ได้สังสรรค์  และติดต่อกิจธุรการงานกับบุคคลอื่น ๆ อยู่เสมอ  บุคคลอาจแนะนำตนเองในหลายโอกาสด้วยกัน  คือ 
๑.  การแนะนำตนเองในที่สาธารณะ  มักจะมีการสนทนาสั้น ๆ เริ่มขึ้นมาก่อน  แล้วจึงมีการแนะนำตนเองขึ้น  มิใช่จู่ ๆ ก็แนะนำตนเองขึ้นมา
๒.  การแนะนำตนเองในการทำกิจธุระ  ต้องมีการนัดหมายล่วงหน้า  เพราะมักจะเกิดกับผู้ที่ยังไม่รู้จัก  การแต่งกายก็ควรเรียบร้อย  ไปให้ตรงเวลา  และเมื่อพบบุคคลที่นัดควรบอกชื่อ   นามสกุลของเราด้วยน้ำ
เสียงที่สุภาพและบอกกิจธุระของตนตามไป  หรืออาจบอกกิจธุระก่อนก็ได้
๓.  การแนะนำตนเองในงานเลี้ยง  เช่น  งานวันเกิด  งานมงคลสมรส  งานฉลองใด ๆ ก็ตาม ควรคำนึงถึงมารยาททางสังคม  การแนะนำตนเองในงานเลี้ยงอาจเริ่มด้วยการแสดงสีหน้าท่าทางที่แสดงความเป็นมิตร  การช่วยเหลือ  การให้บริการซึ่งกันและกันแล้วจึงแนะนำโดยการกล่าวชื่อ  หรือนามสกุล  และรายละเอียดพอสมควร  แต่ไม่ควรบอกตำแหน่งหรือสถานที่ทำงาน  เพราะอาจจะทำให้คู่สนทนารู้สึกว่าด้อยกว่า  และคู่สนทนาก็ควรแนะนำตนเองบ้าง  อย่าอ้ำอึ้งรีรอจนทำให้อีกฝ่ายหนึ่งอึดอัดได้
๔.  การแนะนำตนเองในกลุ่มย่อย  ที่มีคนประมาณ ๑๐ – ๑๕  คน  และส่วนใหญ่ไม่รู้จักกันมาก่อน  เมื่อเริ่มประชุมควรแนะนำตนเองให้รู้จักกัน  เพื่อให้เกิดความเป็นกันเอง  เช่น  บอกชื่อ  นามสกุล  เป็นต้น  และคนอื่น ๆ ในกลุ่มก็ควรแสดงกิริยาต้อนรับ  ด้วยการยิ้มให้ก้มศีรษะรับก็ได้
๓.   การสนทนา
การสนทนาเป็นกิจกรรมที่บุคคลเฉพาะสองคนหรือมากกว่านั้นพูดคุยกันเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ความ
คิด  ความรู้สึก  และประสบการณ์ระหว่างกันอย่างไม่เป็นทางการ
    ๓.๑  การสนทนาระหว่างบุคคลที่รู้จักคุ้นเคย  การสนทนาที่ดีจะนำความราบรื่น  ความเจริญและความสุขมาให้  ตรงกันข้ามการสนทนาที่ไม่ดีจะก่อให้เกิดความแตกร้าว  และนำไปสู่ความเสื่อมทำให้กิจการงานไม่ก้าวหน้าและสับสนวุ่นวาย  การสนทนาระหว่างบุคคลที่รู้จักคุ้นเคย  ควรคำนึงถึงเรื่องที่สนทนาและคุณสมบัติของผู้ร่วมสนทนา  การสนทนาที่ดีควรคำนึงถึงเรื่องที่สนทนา  ดังต่อไปนี้
๓.๑.๑  ควรเป็นเรื่องที่ตนเองและคู่สนทนามีความรู้และมีความสนใจร่วมกัน
๓.๑.๒  ควรเป็นเหตุการณ์ปัจจุบันหรือเป็นข่าวที่กำลังอยู่ในความสนใจ
๓.๑.๓  ควรเป็นเรื่องที่เหมาะแก่กาลเทศะและเหตุการณ์  เช่น  ถ้าไปงานมงคลก็พูดแต่เรื่องที่ดีงาม  หรือขณะรับประทานอาหารก็ไม่พูดถึงสิ่งที่น่ารังเกียจ  เป็นต้น
๓.๑.๔  ควรเป็นเรื่องที่ไม่ทำให้คู่สนทนาเคร่งเครียดจนเกินไป  ควรให้มีความสนุกขบขันบ้างทั้งนี้ควรงดเว้นเรื่องต่าง ๆ ต่อไปนี้
๑.  เรื่องส่วนตัวของผู้พูดเองและเรื่องที่ผู้อื่นไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง
๒.  การพูดโอ้อวดความสามารถของตนเอง
๓.  การปรับทุกข์  การกล่าวถึงความเคราะห์ร้ายของตนเองเพื่อเรียกร้องความสนใจยกเว้นเมื่อสนทนากับผู้ที่สนิทจริง ๆ 
๔.  การนินทาว่าร้ายผู้อื่น การพูดส่อเสียด การพูดเพ้อเจ้อ
เรียนภาษาไทยที่บ้าน ที่สงขลา ภูเก็ต สมุทรปราการ ชลบุรี ระยอง นนทบุรี ปทุมธานี


คุณสมบัติของผู้ร่วมสนทนาที่ดี
๑.  มีความรู้ทั่วไปในเรื่องต่าง ๆ พอสมควร
๒.  ใช้ถ้อยคำสำนวนภาษาที่ง่าย  สุภาพ  คำพูดและน้ำเสียงน่าฟัง  เป็นกันเองกับคู่สนทนาไม่พูดทับถมคู่สนทนาถ้าจำเป็นต้องค้านควรพูดขออภัยก่อน
๓. รู้จักฟัง  ในขณะที่ฟังอาจนึกอยากพูดบ้างควรรอให้คู่สนทนาพูดจบก่อน
๔.  รู้จักสังเกตความรู้สึกของผู้ร่วมสนทนา  
๕.  รู้ว่าอะไรควรพูดและอะไรไม่ควรพูด
๖.  ควรพูดด้วยอารมณ์ขันที่มีรสนิยมดี เพราะอารมณ์ขันจะช่วยชักนำให้การสนทนาดำเนินไปในทางสร้างสรรค์
๓.๒  การสนทนากับบุคคลแรกรู้จัก
หัวข้อที่ควรนำมาสนทนาคือเรื่องดินฟ้าอากาศ  ข่าวสารที่เป็นข้อเท็จจริงแท้ ๆ ในขณะนั้นแต่ไม่ควรเป็นเรื่องที่มีประเด็นโต้แย้งกันอยู่  เพราะคู่สนทนาอาจมีทรรศนะที่ตรงข้ามกันได้  ควรรู้จักสังเกตว่าคู่สนทนาเป็นคนชอบพูดหรือชอบฟังเพื่อจะได้ปฏิบัติตนได้ถูกกาลเทศะ

การพูดในกลุ่ม

การพูดในกลุ่มเป็นกิจกรรมที่สำคัญในสมัยปัจจุบัน  ทั้งในชีวิตประจำวันและในการศึกษา  โดยเฉพาะในโรงเรียนการแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่มเล็ก ๆ ๘ – ๑๐ คน แล้วให้ไปอภิปรายถกเถียงกันเป็นการฝึกให้นักเรียนได้มีโอกาสแสดงความคิดเห็นทำให้นักเรียนทุกคนเติบโตในด้านความคิด
๑.  การเล่าเรื่องราวที่ได้อ่านหรือฟังมา  ควรมีวิธีการดังนี้
๑.  เล่าถึงเนื้อหาและประเด็นสำคัญ ๆ ว่ามีอะไรบ้าง  โดยไม่ต้องกล่าวถึงรายละเอียด
๒.  ภาษาที่ใช้ในการเล่าควรเป็นภาษาง่าย ๆ ไม่ใช้ศัพท์ยาก  ใช้ประโยคสั้น  เข้าใจง่าย
๓.  ใช้น้ำเสียงชัดเจนน่าฟัง  เน้นเสียงในตอนสำคัญ  เพื่อแสดงความรู้สึกหรืออารมณ์ต่าง ๆ 
๔.  ใช้กิริยาท่าทางประกอบตามความเหมาะสม
๕.  ผู้เล่าควรจำเรื่องให้ได้  เรียงลำดับเรื่องให้ถูกต้อง เน้นตอนสำคัญเพื่อเรียกร้องความสนใจของผู้ฟัง
๖.  อาจสรุปเป็นข้อคิดในตอนท้ายหรือทิ้งให้ผู้ฟังคิดเองหรือใช้เป็นประเด็นที่จะอภิปรายต่อไป
๒.  การเล่าเหตุการณ์
๑.  กล่าวเริ่มต้นด้วยการแสดงเหตุผลในการเล่าเหตุการณ์นั้น ๆ 
๒.  ระบุวันเวลา สถานที่ที่เกิดเหตุการณ์นั้น ๆ 
๓.  กล่าวถึงบุคคลที่สำคัญแก่เหตุการณ์นั้น 
๔.  เล่าเหตุการณ์ตามลำดับที่เกิดขึ้นให้มีความต่อเนื่องกัน
๕.  ใช้ถ้อยคำและสำนวนภาษาที่ทำให้ผู้ฟังเห็นภาพ  ใช้ประโยคง่าย ๆ กะทัดรัดเพื่อจะได้สื่อความหมายได้ดี
๖.  น้ำเสียงแจ่มใส  ดังชัดเจน  เน้นเสียงและใช้ระดับเสียงพอเหมาะ
๗.  ใช้สีหน้า  ท่าทาง  กิริยาประกอบการเล่าเหตุการณ์ด้วย  จะได้ดูเป็นธรรมชาติ
๘.  แสดงข้อคิดเพิ่มเติมตามควร

Total Rating ✔

9.2 stars – 2,789 reviews

More Reviews

แสดงความคิดเห็น

การส่งสารด้วยการพูด วิชาภาษาไทยมัธยมต้น

บทความจาก TutorFerry