สำรวจ
รีวิว
สอบเข้า
ออนไลน์

ครูสอนพิเศษ คุณภาพอันดับ1

หาครูสอนพิเศษตัวต่อตัว คลิกเลย

ค้นหาด้วยเสียง
ค้นหาด้วยเสียงคลิกที่นี่

» » การเงิน การคลัง การธนาคาร งบประมาณ วิชาสังคม มัธยมต้น

06 พฤศจิกายน 2559

การเงิน การคลัง การธนาคาร งบประมาณ วิชาสังคม มัธยมต้น

เงิน คือ สิ่งใดก็ตามที่สังคมยอมรับอย่างแพร่หลายในฐานะสื่อกลางของการแลกเปลี่ยน มีอำนาจซื้อขายสินค้าและบริการ สามารถรักษามูลค่าหรือหน่วยทางบัญชี สะสมความมั่งคั่งได้และสามารถชำระหนีได้ตามกฎหมาย

การเงิน การคลัง การธนาคาร งบประมาณ

เรียนวิชาสังคมที่บ้าน กรุงเทพ นนทบุรี สมุทรปราการ นนทบุรี ชลบุรี ระยอง โคราช ขอนแก่น อุดรฯ เชียงใหม่ ภูเก็ต หาดใหญ่


เงิน คือ สิ่งใดก็ตามที่สังคมยอมรับอย่างแพร่หลายในฐานะสื่อกลางของการแลกเปลี่ยน มีอำนาจซื้อขายสินค้าและบริการ สามารถรักษามูลค่าหรือหน่วยทางบัญชี สะสมความมั่งคั่งได้และสามารถชำระหนีได้ตามกฎหมาย



ลักษณะของเงินที่ดี

1.  เป็นที่ยอมรับในสังคมทั่วไปอย่างแพร่หลาย
2.  แบ่งแยกเป็นหน่วยย่อย ๆ ได้
3.  มีเสถียรภาพในมูลค่า ไม่เปลี่ยนขึ้นลงรวดเร็ว
4.  พกพานำติดตัวได้สะดวก
5.  มีความคงทนถาวร


หน้าที่ของเงิน

จำแนกแกเป็น 4 ประเภท คือ
1.  เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน ก่อให้เกิดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
2.  เป็นมาตรฐานในการวัดค่า คือ สามารถกำหนดราคาสินค้าและบริการทุกชนิดออกมาเป็นเงิน ใช้วัดค่าเปรียบเทียบมูลค่าระหว่างกันก่อนที่จะตัดสินใจซื้อขายแลกเปลี่ยน
3.  เป็นมาตรฐานในการชำระหนี้ภายหน้าสามารถใช้ประโยชน์ในสินค้าและบริการและชำระหนี้ในอนาคตได้
4.  เป็นเครื่องรักษามูลค่า การรักษามูลค่าหรือสะสมความมั่งคั่ง สามารถกระทำได้ในรูปแบบอื่น ๆ เช่น เก็บในรูปของวัตถุมีค่าต่าง ๆ ที่ดิน บ้าน เป็นต้น ทั้งนี้การถือเงินไว้ในมือเป็นสินทรัพย์อย่างหนึ่งมีสภาพคล่อง ใช้จ่ายได้ทันที ใช้ในการลงทุนได้สะดวก

ประเภทของเงิน 
1.  เหรียญกษาปณ์ ทำจากโลหะโดยกำหนดค่าต่าง ๆ ไว้ เช่น เหรียญ 5 บาท 10 บาท เป็นต้น ผลิตโดยกระทรวงการคลัง
2.  เงินธนบัตร หรือเงินกระดาษ คือ กระดาษที่พิมพ์ขึ้นเป็นพิเศษและกำหนดมูลค่าเอาไว้ ผลิตโดยธนาคารแห่งประเทศไทย เช่น ธนบัตรฉบับละ 50 บาท เป็นต้น
3.  เงินฝากกระแสรายวัน คือสิทธิที่ธนาคารให้แก่ลูกค้าที่ฝากเงินประเภทนี้ใช้เช็ค (cheque) สั่งจ่ายเงินในบัญชีได้ จำนวนเงินที่กรอกลงในเช็คก็คือ มูลค่าของเงินที่คราเอาไว้


ตลาดเงิน

ตลาดเงิน หมายถึง ตลาดที่อำนวยความสะดวกในการโอนเงินจากหน่วยเศรษฐกิจที่มีเงินออกไปยังหน่วยเศรษฐกิจที่ต้องการเงินออม เพื่อนำไปลงทุนประกอบด้วย
1.  ตลาดเงิน คือ การระดมทุนและให้สินเชื่อระยะสั้นไม่เกิน 1 เช่น ตั๋วแลกเงิน ตั๋วเงินคลัง 
2.  ตลาดทุน คือ ตลาดที่มีการระดมเงินออมระยะยาวให้สินเชื่อตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป ได้แก่ เงินฝากประจำ หุ้นกู้ หุ้นสามัญ และพันธบัตรของทั้งรัฐบาลและเอกชน
ความสำคัญของตลาดเงิน คือ
1.  เป็นการระดมทุนจากหน่วยเศรษฐกิจที่มีเงินออม
2.  ก่อให้เกิดการจัดสรรทุนอย่างมีประสิทธิภาพ
3.  ช่วยรักษาความเจริญ เติบโต ของระบบเศรษฐกิจ
4.  ตลาดเงินช่วยแก้ปัญหาทางการเงินในระดับมหภาคได้


เรียนวิชาสังคมที่บ้าน


การธนาคาร หรือสถาบันการเงิน

ความหมาย ประเภท ของสถาบันทางการเงิน
สถาบันทางการเงิน หมายถึง หน่วยงานหรือองค์กรที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางรับเงินออมจากผู้มีเงินออมต่าง ๆ มาให้ผู้ต้องการกู้ยืมเงิน เพื่อการบริโภค หรือเพื่อลงทุน
ประเภทของสถาบันการเงิน แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1.  ธนาคารพาณิชย์ หมายถึง ธนาคารที่ประกอบธุรกิจประเภทรับฝากเงินที่ต้องจ่ายคืน เมื่อทวงถามหรือเมื่อสิ้นระยะเวลากำหนดไว้ โดยนำไปใช้ประโยชน์ให้กู้ยืม ซื้อขายเป็นตั๋วแลกเงินหรืออื่น ๆ 

     หน้าที่ธนาคารพาณิชย์

1.  รับฝากเงินของเอกชน บริษัทห้างร้านทั่วไป ประเภทกระแสรายวัน ออมทรัพย์และประจำ
2.  ให้สินเชื่อและเครดิตหรือให้การกู้ยืมแก่เอกชน บริษัทห้างร้านหรือบุคคลทั่วไป
3.  การซื้อลดตั๋วเงิน โดยได้รับส่วนลดเป็นดอกเบี้ย
4.  การซื้อขายเงินตราต่างประเทศ
5.  การออกหนังสือค้ำประกัน
6.  อำนวยความสะดวกให้กับผู้สั่งซื้อสินค้าเข้าและผู้ส่งสินค้าออก
7.  การซื้อพันธบัตรจากรัฐบาล
8.  การบริการอื่น ๆ เช่น การเช่าตู้นิรภัย เช็คของขวัญ
2.  ธนาคารกลาง เป็นธนาคารที่มีบทบาทหลักในการจัดการให้เศรษฐกิจมีเสถียรภาพ เช่น แก้ไขเงินเฟ้อ ดูแลการปล่อยสินเชื่อ หรือป้องกันมิให้ธนาคารพาณิชย์ล้ม เป็นต้น
     หน้าที่ของธนาคารกลาง
1.  รักษาเสถียรภาพทางการเงิน ดำเนินนโยบายที่เหมาะสมต่อเศรษฐกิจ เพื่อก่อให้เกิดเสถียรภาพทางการเงินทั้งภายในและภายนอก
2.  กำกับดูแลสถาบันการเงิน ตรวจสอบการทำงานของธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ให้มีความมั่นคงและได้มาตรฐานสากล
3.  เป็นนายธนาคารและที่ปรึกษาด้านนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาล เป็นนายธนาคารของรัฐบาล บริการธุรกิจธนาคารให้แก่ส่วนราชการ
4.  เป็นนายธนาคารของสถาบันการเงิน
5.  การบริหารเงินสำรองระหว่างประเทศ บริหารให้เกิดสภาพคล่องปลอดภัย มีระดับที่มีเสถียรภาพ และความเชื่อถือของเงินบาท
6.  จัดพิมพ์และออกพันธบัตรออกใช้


สถาบันการเงินที่มีวัตถุประสงค์เป็นพิเศษ

1.  ธนาคารออมสิน เป็นธนาคารของรัฐบาล มีหน้าที่รับฝากเงินจากประชาชนทั่วไป โดยนำเงินไปลงทุนซื้อหลักทรัพย์รัฐบาล เช่น พันธบัตร เป็นต้น
2.  ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) มีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจ มีหน้าที่ช่วยเหลือทางการเงินแก่เกษตรกร
3.  ธนาคารอาคารสงเคราะห์ เป็นธนาคารของรัฐบาล สังกัดกระทรวงการคลัง มีวัตถุประสงค์เพื่ออนุเคราะห์แก่ประชาชน กู้ยืมเพื่อไปซื้อที่ดินหรืออาคารสิ่งปลูกสร้าง


สถาบันการเงินที่มิใช่ธนาคาร

1.  บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
2.  บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์จำกัด
3.  บริษัทประกันภัย
4.  สหกรณ์การเกษตรและสหกรณ์ออมทรัพย์
5.  โรงรับจำนำ


การคลัง

การคลัง หมายถึง กระบวนการดำเนินงานทางการเงิน เกี่ยวกับรายรับ รายจ่ายของรัฐบาล
นโยบายการคลัง หมายถึง นโยบายเกี่ยวกับการใช้ รายได้ และรายจ่ายของรัฐ เป็นเครื่องมือสำคัญในการกำหนดแนวทาง เป้าหมาย และการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมายทางเศรษฐกิจ
วัตถุประสงค์ของนโยบายการคลัง
1.  ส่งเสริมการจัดสรรทรัพยากรระหว่างภาคเอกชนและรัฐบาลให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยให้สัดส่วนที่ทำให้สังคมได้รับประโยชน์สูงสุด สามารถจัดหาสินค้าและบริการสาธารณะในปริมาณและคุณภาพที่ตรงกับความต้องการของประชาชนส่วนใหญ่
2.  ส่งเสริมการกระจายรายได้ที่เป็นธรรม ทำให้รายได้เบื้องต้นของประชาชนมีความทัดเทียมกันมากขึ้น
3.  เสริมสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ซึ่งจะขยายตัวได้เมื่อมีการลงทุนที่มีอัตราเพิ่มสูงกว่าอัตราเพิ่มของประชาชน รัฐบาลสามารถใช้นโยบายการคลังที่จะเพิ่มการใช้จ่ายและขยายการลงทุนในภาครัฐบาล
4. รักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่ขาดเสถียรภาพมักก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ประชาชนทั่วไป จึงต้องสร้างความมีเสถียรภาพในตลาดเงินและสมดุลในบัญชีดุลการชำระเงินระหว่างประเทศ

เครื่องมือของนโยบายการคลัง คือ
งบประมาณแผ่นดินเป็นแผนการเงินของรับบาล ประกอบด้วยประมาณการรายได้และรายจ่ายรวมทั้งการจัดหาเงินเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายตามประมาณการใช้ในช่วงระยะเวลา 1 ปี
1.  งบประมาณจะมีการจัดทำได้เป็น 3 ลักษณะ คือ
2.  งบประมาณสมดุล หมายถึง รายจ่ายเท่ากับรายได้รวม
3.  งบประมาณเกินดุล หมายถึง รายได้มากกว่ารายจ่าย
4.  งบประมาณขาดดุล หมายถึง รายจ่ายมากกว่ารายได้ ซึ่งในกรณีนี้รัฐบาลต้องจัดหาทุนมาจุนเจือส่วนที่ขาดดุลโดยก่อหนี้สาธารณะ
เครื่องมือของนโยบายการคลังจึงหมายถึง
1.  งบประมาณรายจ่าย
2.  งบประมาณรายรับ
3.  หนี้สาธารณะ
งบประมาณรายจ่ายของรับ หมายถึง ยอดเงินรวมที่รัฐต้องจ่ายออกไปเพื่อพัฒนาประเทศซึ่งรับบาลจะทำแผนประมาณการรายจ่ายประจำปี
1.  รายจ่ายของรัฐ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
      1.  รายจ่ายประจำ เช่น เงินเดือน ค่าจ้าง ค่าไฟฟ้า ค่าบริการต่าง ๆ 
      2.  รายจ่ายลงทุน คือ การพัฒนาประเทศด้านต่าง ๆ เช่น การสร้างเขื่อน ท่าอากาศยาน ฯลฯ
2.  รายรับของรัฐ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
     รายได้จากการเก็บภาษีอากรและรายได้ที่มิใช่ภาษีอากร
     1.  รายได้จากการเก็บภาษีอากร ได้แก่ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีศุลกากร และภาษีสรรพสามิต ซึ่งเป็นรายได้ส่วนใหญ่ของรัฐ
     2.  รายได้ที่มิใช่ภาษีอากร ได้แก่ รายได้จากรัฐพาณิชย์ รายได้จากการขายหลักทรัพย์และอสังหาริมทรัพย์ และการเก็บค่าธรรมเนียมประเภทต่าง  ๆ
3.  หนี้สาธารณะ
     ในกรณีที่งบประมาณแผ่นดินขาดดุลรัฐบาลต้องจัดหาเงินมาจุนเจือส่วนที่ขาดดุลโดยก่อหนี้สาธารณะโดยกู้ทั้งจากภายในประเทศและจากต่างประเทศ

     การกู้เงินภายในประเทศมีวัตถุประสงค์ คือ
     1.  เพื่อชดเชยงบประมาณขาดดุลชั่วคราว โดยการกู้เงินภายในประเทศระยะสั้นเพื่อนำมาใช้จ่ายในงบประจำต่าง ๆ ชั่วคราว
     2.  เพื่อใช้ในการลงทุนตามโครงการพัฒนาเศรษฐกิจ ตามโครงการเร่งรัดพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศให้เจริญก้าวหน้า
     3.  เพื่อสร้างเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจ ในภาวะที่เศรษฐกิจตกต่ำอันเนื่องมาจากความต้องการใช้จ่าย ผู้ผลิตจำต้องลดการผลิตลง ทำให้เกิดปัญหาการว่างงาน รัฐบาลอาจต้องเพิ่มรายจ่ายของรัฐบาลเพื่อให้มีการใช้ทรัพยากรและการจ้างงาน การเพิ่มรายจ่ายเช่นนี้ทำให้รัฐบาลต้องกู้เงิน

การกู้เงินจากต่างประเทศมีวัตถุประสงค์ คือ
1.  เนื่องจากรัฐบาลรับภาระด้านจัดหาโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจรองรับความเจริญเติบโตของเศรษฐกิจในยุคทุนนิยม แต่ไม่สามารถเก็บภาษีอากรและรายได้อื่นภายในประเทศได้เพียงพอ
2.  ในการสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจโดยผ่านการลงทุนขนาดใหญ่ จำเป็นต้องใช้สินค้าทุนและเทคโนโลยีจากต่างประเทศ และต้องชำระค่าตอบแทนด้วยเงินตราต่างประเทศ แต่เนื่องจากการหารายได้เงินตราต่างประเทศจากการขายสินค้าและบริการส่งออกยังไม่พอเพียง รัฐบาลจึงจำเป็นต้องกู้จากต่างประเทศ

Total Rating ✔

9.2 stars – 2,789 reviews

More Reviews

แสดงความคิดเห็น

การเงิน การคลัง การธนาคาร งบประมาณ วิชาสังคม มัธยมต้น

บทความจาก TutorFerry