สำรวจ
รีวิว
สอบเข้า
ออนไลน์

ครูสอนพิเศษ คุณภาพอันดับ1

หาครูสอนพิเศษตัวต่อตัว คลิกเลย

ค้นหาด้วยเสียง
ค้นหาด้วยเสียงคลิกที่นี่

» » สรุปภาษาไทย เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับความคิด

27 ธันวาคม 2559

สรุปภาษาไทย เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับความคิด

สรุปวิชาภาษาไทย มัธยมต้น ความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับความคิด Tutor Ferry สอนพิเศษที่บ้าน 099-823-0343

สรุปวิชาภาษาไทย มัธยมต้น

ความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับความคิด

เรียนภาษาไทยตัวต่อตัวที่นครราชสีมา มหาสารคาม อุดรธานี ขอนแก่น



๑.  ว่าด้วยบทบาทของภาษาในการพัฒนาความคิด๒.  ว่าด้วยวิธีคิด
๓.  ว่าด้วยการคิดเพื่อแก้ปัญหา


บทบาทของภาษาในการพัฒนาความคิด

ในขณะที่มนุษย์กำลังใช้ความคิดนั้นย่อมใช้ภาษาเป็นเครื่องมือในการคิดไปด้วยโดยอัตโนมัติ  ภาษาจึงเปรียบประดุจเงาที่ติดตามเนื่องไปกับความคิดตลอดเวลา
ถ้าความสามารถในการคิดของผู้ใดมีอยู่อย่างจำกัด  ความสามารถในการใช้ภาษาก็พลอยถูกจำกัดไปด้วย  ซึ่งตรงกันข้ามถ้าบุคคลใดมีความสามารถสูงในการคิด  บุคคลนั้นก็มีความสามารถในการใช้ภาษาสูงไปด้วย  อันเป็นผลต่อเนื่องเป็นปฏิกิริยาลูกโซ่
ในกรณีที่บุคคลหลาย ๆ คนใช้ความคิดร่วมกันเพื่อแก้ปัญหา  บทบาทของภาษาจะยิ่งมีความสำคัญมาก  เพราะบุคคลที่ร่วมกันคิดแต่ละคนจะต้องแสดงความคิดเป็นคำพูดออกไปดัง ๆ ให้คนอื่นได้รับรู้  เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดร่วมกัน


วิธีคิดเชิงวิเคราะห์

การวิเคราะห์คือ  การพิจารณาแยกสิ่งใดสิ่งหนึ่งออกเป็นส่วน ๆ เพื่อทำความเข้าใจแต่ละส่วนให้แจ่มแจ้ง  แล้วทำความเข้าใจต่อไปว่า   แต่ละส่วนสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันอย่างไร
ขั้นตอนของวิธีคิดเชิงวิเคราะห์สรุปได้ดังนี้
๑  กำหนดขอบเขตหรือนิยามสิ่งที่จะวิเคราะห์ให้ชัดเจน
๒.  กำหนดจุดมุ่งหมายจะวิเคราะห์เพื่ออะไร
๓.  พิจารณาหลักความรู้หรือทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
๔.  หาวิธีวิเคราะห์ที่เหมาะสม
๕.  สรุปและรายงานผล


ตัวอย่าง

“สมัยนั้นบางลำพูได้ชื่อว่าเป็นชุมนุมโรงมหรสพมากกว่าตำบลใดในกรุงเทพ ฯ มีโรงหนัง ๔ ลิเก ๓ และละครร้องอีก ๑ สำหรับโรงหนังได้แก่ ปีนัง บางลำพูและนครราชสีมา”
จากตัวอย่างจะเห็นว่าเนื้อความกล่าวถึงโรงมหรสพในย่านบางลำพู  โดยแยกให้เห็นว่าโรงมหรสพมีอะไรบ้าง ถ้าข้อสอบถามว่าเป็นการคิดแบบใด  ตอบได้เลยว่าเป็นระเบียบวิธีคิดเชิงวิเคราะห์

วิธีคิดเชิงสังเคราะห์

การสังเคราะห์ หมายถึง การรวมส่วนต่าง ๆ ให้ประกอบกันเข้าด้วยกรรมวิธีที่เหมาะสม โดยมีจุดหมายปลายทางอยู่ที่สร้างสรรค์สิ่งใหม่ขึ้น
๑.  ขั้นตอนของการคิดเชิงสังเคราะห์  
๒.  ตั้งจุดมุ่งหมายให้ชัดเจนว่าต้องการที่จะสร้างสรรค์สิ่งใดขึ้น  เพื่อประโยชน์อะไร  หรือเพื่อให้ทำหน้าที่อะไร
๓.  หาความรู้เกี่ยวกับหลักการ  ทฤษฎีหรือแนวทางที่เหมาะสม  เพื่อนำมาใช้เป็นหลัก
๔.  ทำความเข้าใจส่วนต่าง ๆ ที่จะนำมาใช้เป็นส่วนประกอบ
๕.  ใช้ความรู้ในข้อ ๒ ให้เหมาะแก่กรณีที่จะสังเคราะห์
๖.  ทบทวนว่าผลของการสังเคราะห์สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายหรือไม่เพียงไร
ตัวอย่าง
วันเสาร์นี้เป็นวันรวมญาติเรามาทำก๋วยเตี๋ยวหมูสับรับประทานกันดีกว่า  ไปซื้อเส้นก๋วยเตี๋ยว  เส้นใหญ่  เนื้อหมูสับ  ผักกาดหอม  แป้งมันด้วยนะ   ช่วยกันทำคงสนุกดี
สังเกตดูเนื้อความนี้เกิดสิ่งใหม่  สร้างสรรค์สิ่งใหม่อะไรไหม  ในข้อความนี้แนะนำการทำก๋วยเตี๋ยวหมูสับ  ถ้าข้อสอบถามว่าเป็นการคิดแบบใดตอบได้เลยว่าเป็นการคิดแบบเชิงสังเคราะห์


วิธีคิดเชิงประเมินค่า

คำว่า ประเมินค่า  หมายถึง  การใช้ดุลยพินิจพิจารณาแล้วตัดสินคุณค่าของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง  ซึ่งอาจเป็นบุคคล ผลงาน  วัตถุ  หรือการกระทำก็ได้  
วิธีคิดประเมินค่ามีแนวปฏิบัติดังนี้
๑.  ทำความเข้าใจกับสิ่งที่เราจะประเมิน  (วิเคราะห์)
๒.  กำหนดหลักเกณฑ์ในการประเมินค่าให้ชัดเจน
๓.  ถ้าจะประเมินค่าโดยไม่ใช้เกณฑ์  อาจเปรียบเทียบกับหลักฐานอื่นซึ่งมีความสมเหตุสมผลพอที่จะนำมาเปรียบเทียบกันได้  การประเมินค่าโดยนำสิ่งที่ไม่สมควรจะเปรียบเทียบกันมาเปรียบเทียบอาจทำให้การประเมินผิดพลาด  และก่อให้เกิดความสับสนหรือความเข้าใจผิดสืบเนื่องต่อไปได้มาก
ตัวอย่าง
“เราเห็นว่าเป็นการถูกต้องที่ยินยอมให้เด็กหัวดีที่สอบเทียบได้สอบแข่งขันเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยของรัฐต่อไป”
หลักในการดูว่าข้อความนั้น ๆ เป็นวิธีคิดแบบประเมินค่าหรือไม่  ให้ดูว่าสิ่งนั้นดีหรือไม่ดีเหมาะหรือไม่เหมาะ  เป็นประโยชน์หรือเป็นโทษ  ถ้าพบข้อความเหล่านี้ตอบได้เลยว่าเป็นความคิดแบบประเมินค่า



วิธีคิดแก้ปัญหา

ปัญหา  คือ  สภาพการณ์ที่ทำความยุ่งยากให้แก่มนุษย์  มนุษย์ทุกคนนับแต่เกิดจนตายจะต้องประสบปัญหาต่าง ๆ นานัปการ

หลักในการคิดเพื่อแก้ปัญหา
๑.  ศึกษาประเภทของปัญหา  เราแยกประเภทของปัญหาเป็น  ๓  ประเภทใหญ่ ๆ คือ
๑.  ปัญหาเฉพาะบุคคล  ได้แก่  ปัญหาที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งเท่านั้น  ซึ่งอาจมีที่มาหรือเชื่อมโยงไปสู่บุคคลอื่นได้  อาจเป็นได้ทั้งทางกายและทางจิตใจ  อาจเป็นปัญหาปัจจุบันทันด่วนหรือยืดเยื้อเรื้อรังก็ได้
๒.  ปัญหาเฉพาะกลุ่ม  ได้แก่  ปัญหาที่กลุ่มบุคคลกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งประสบความยุ่งยากร่วมกัน  
๓.  ปัญหาสาธารณะ  อาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ปัญหาสังคมก็ได้  เป็นปัญหาที่มีผลกระทบถึงคนทุกคนอันอาจก่อให้เกิดความสูญเสียชีวิต  ร่างกายและทรัพย์สิน
๒.  หาสาเหตุและสภาพแวดล้อมของปัญหา
๓.  เป้าหมายในการแก้ปัญหา
๔.  การเลือกวิถีทางแก้ปัญหาที่ดีที่สุดที่จะทำให้บรรลุถึงเป้าหมายที่ได้วางไว้







Total Rating ✔

9.2 stars – 2,789 reviews

More Reviews

แสดงความคิดเห็น

สรุปภาษาไทย เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับความคิด

สรุปภาษาไทย ม.ต้น