สำรวจ
รีวิว
สอบเข้า
ออนไลน์

27 มิถุนายน 2560

ครูโนช ( ID:11511 ) สอนภาษาไทย GAT เชื่อมโยง

อันดับ1 ครูสอนพิเศษ เรียนพิเศษที่บ้าน กับทีมติวเตอร์คุณภาพ
หาครูสอนพิเศษที่บ้าน ต้องการเรียนพิเศษที่บ้านเรียนตัวต่อตัว Tutor Ferryรับสอนพิเศษที่บ้าน

26 มิถุนายน 2560

26 มิถุนายน วันสุนทรภู่ มาทำความรู้จักพระสุนทรโวหาร (ภู่) และมาฝึกแต่งบทร้อยกรองกัน

อันดับ1 ครูสอนพิเศษ เรียนพิเศษที่บ้าน กับทีมติวเตอร์คุณภาพ

ประวัติสุนทรภู่

ประวัติสุนทรภู่


พระสุนทรโวหาร นามเดิม ภู่ หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า สุนทรภู่ (26 มิถุนายน พ.ศ. 2329 - พ.ศ. 2398) เป็นอาลักษณ์ชาวไทยที่มีชื่อเสียงเชิงกวี 

ได้รับยกย่องเป็น เชกสเปียร์แห่งประเทศไทย เกิดหลังจากตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ได้ 4 ปี และได้เข้ารับราชการเป็นอาลักษณ์ราชสำนักในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อสิ้นรัชกาลได้ออกบวชเป็นเวลาร่วม 20 ปี ก่อนจะกลับเข้ารับราชการอีกครั้งในปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยเป็นอาลักษณ์ในสมเด็จเจ้าฟ้าจุฑามณี กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ ในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้เลื่อนตำแหน่งเป็น พระสุนทรโวหาร เจ้ากรมอาลักษณ์ฝ่ายพระราชวังบวร ซึ่งเป็นตำแหน่งราชการสุดท้ายก่อนสิ้นชีวิต

สุนทรภู่เป็นกวีที่มีความชำนาญทางด้านกลอน ได้สร้างขนบการประพันธ์กลอนนิทานและกลอนนิราศขึ้นใหม่จนกลายเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวางสืบเนื่องมาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน ผลงานที่มีชื่อเสียงของสุนทรภู่มีมากมายหลายเรื่อง เช่น นิราศภูเขาทอง นิราศสุพรรณ เพลงยาวถวายโอวาท กาพย์พระไชยสุริยา และ พระอภัยมณี เป็นต้น โดยเฉพาะเรื่อง พระอภัยมณี ได้รับยกย่องจากวรรณคดีสโมสรว่าเป็นยอดของวรรณคดีประเภทกลอนนิทาน และเป็นผลงานที่แสดงถึงทักษะ ความรู้ และทัศนะของสุนทรภู่อย่างมากที่สุด งานประพันธ์หลายชิ้นของสุนทรภู่ได้รับเลือกให้เป็นส่วนหนึ่งในหลักสูตรการเรียนการสอนนับแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน เช่น กาพย์พระไชยสุริยา นิราศพระบาท และอีกหลาย ๆ เรื่อง
ปี พ.ศ. 2529 ในโอกาสครบรอบ 200 ปีชาตกาล สุนทรภู่ได้รับยกย่องจากองค์การยูเนสโกให้เป็นบุคคลสำคัญของโลกด้านงานวรรณกรรม ผลงานของสุนทรภู่ยังเป็นที่นิยมในสังคมไทยอย่างต่อเนื่องตลอดมาไม่ขาดสาย และมีการนำไปดัดแปลงเป็นสื่อต่าง ๆ เช่น หนังสือการ์ตูน ภาพยนตร์ เพลง รวมถึงละคร มีการก่อสร้างอนุสาวรีย์สุนทรภู่ไว้ที่ตำบลกร่ำ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง บ้านเกิดของบิดาของสุนทรภู่ และเป็นที่กำเนิดผลงานนิราศเรื่องแรกของท่านคือ นิราศเมืองแกลง นอกจากนี้ยังมีอนุสาวรีย์แห่งอื่น ๆ อีก เช่น ที่วัดศรีสุดาราม ที่จังหวัดเพชรบุรี และจังหวัดนครปฐม วันเกิดของสุนทรภู่คือวันที่ 26 มิถุนายนของทุกปี ถือเป็น วันสุนทรภู่ ซึ่งเป็นวันสำคัญด้านวรรณกรรมของไทย มีการจัดกิจกรรมเชิดชูเกียรติคุณและส่งเสริมศิลปะการประพันธ์บทกวีจากองค์กรต่าง ๆ โดยทั่วไป

ปี พ.ศ. 2529 ในโอกาสครบรอบวันเกิด 200 ปีของสุนทรภู่ องค์การยูเนสโกได้ประกาศให้สุนทรภู่ เป็นบุคคลสำคัญของโลกทางด้านวรรณกรรม นับเป็นชาวไทยคนที่ 5 และเป็นสามัญชนชาวไทยคนแรกที่ได้รับเกียรตินี้ ในปีนั้น สมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์จึงได้จัดพิมพ์เผยแพร่หนังสือ "อนุสรณ์สุนทรภู่ 200 ปี" และมีการจัดตั้งสถาบันสุนทรภู่ขึ้นเพื่อส่งเสริมกิจกรรมเกี่ยวกับการเผยแพร่ชีวิตและผลงานของสุนทรภู่ให้เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางมากยิ่งขึ้น





ฝึกแต่งบทร้อยกรอง

แนวคิดทั่วไปเกี่ยวกับบทร้อยกรอง

บทร้อยกรองต่างจากบทร้อยแก้วคือ  บทร้อยแก้วอาจแต่งให้จบด้วยถ้อยคำมากน้อยเท่าใดหรือสั้นยาวอย่างไรก็ได้สุดแท้แต่ความพอใจของผู้ประพันธ์ไม่เหมือนกับบทร้อยกรองต้องแต่งให้จบอย่างน้อยหนึ่งบท  ตามแบบแผนข้อบังคับที่กำหนดไว้แต่ละชนิดของบทร้อยกรองนั้น ๆ 


ความรู้เกี่ยวกับโคลง

เชื่อกันว่าโคลงเป็นบทร้อยกรองที่เก่าแก่ที่สุดของไทย  สันนิษฐานว่าเป็นของทางภาคเหนือ ดังปรากฏในหนังสือนิราศหริภุญชัย ซึ่งแต่งเป็นโคลงลาวราวสมัยพระเจ้าปราสาททองซึ่งเป็นหนังสือโคลงเล่มแรก  วรรณ-
คดีที่เป็นแบบฉบับในการประพันธ์คำโคลง  คือ  กำสรวลโคลงดั้น  โคลงทวาทศมาส  ลิลิตยวนพ่าย  ลิลิตพระลอ  ลิลิตนิทราชาคริต  นิราศนรินทร์  ลิลิตตะเลงพ่าย  โคลงโลกนิติ  เป็นต้น  
  โคลงมี ๒ ชนิดคือ  โคลงสุภาพและโคลงดั้น


โคลงสุภาพ

ได้แก่โคลงที่ใช้คำที่มีวรรณยุกต์  เอก  โท  ตามแบบแผนที่กำหนดไว้ที่เรียกว่า  “สุภาพ” เพราะแผนบังคับไว้ว่า เมื่ออ่านทำนองก็สุภาพเรียบ ๆ ผิดกับโคลงดั้น การใช้โคลงสุภาพนั้น โคลงสองและสาม แต่งเข้าลิลิต (คือร้อยโคลง) ส่วนโคลงสี่แต่งโดดได้


แผนผังโคลงสี่สุภาพ



โคลงสี่สุภาพหนึ่งบทมี ๔ บาท  บาทแรกมี ๗ คำ มีคำสร้อยได้อีก ๒ คำ บาทสองมี ๗ คำ บาทสามมี ๗ คำ มีสร้อยได้อีก ๒ คำ บาทสี่มี ๙ คำ (บางครั้งจะเพิ่มสร้อยอีก ๒ คำ)
การส่งสัมผัสระหว่างบทในเมื่อต้องการจะร้อยโคลง  คำสุดท้ายของบาทที่สี่จะส่งสัมผัสไปยังคำที่ ๑ หรือ ๒ หรือ ๓ ของบทต่อไป  หากไม่ต้องการร้อยโคลงก็ไม่ต้องส่งสัมผัส

พลอยพล้ำเพลียกถ้าท่าน ในรณ
บัดราชฟาดแสงพล - พ่ายฟ้อน
พระเดชพระแสดงดล เผด็จคู่   เข็ญแฮ
ถนัดพระอังสาข้อน ขาดด้าวโดยขวา
อุรารานร้าวแยก ยลสยบ
เอนพระองค์ลงทบ ท่าวดิ้น
เหนือคอคชซอนซบ สังเวช
วายชิวาตม์สุดสิ้น สู่ฟ้าเสวยสวรรค์
(ลิลิตตะเลงพ่าย)

การกำหนดความไพเราะของโคลงมีดังต่อไปนี้

๑.  คำท้ายวรรค นิยม “คำเป็น” ยิ่งคำท้ายบท คำที่เก้าของบาทที่สี่ ด้วยแล้วกล่าวได้ว่าบังคับให้เป็น “คำเป็น”และเสียงสูงได้ดียิ่งดี ทั้งนี้ยกเว้นคำท้ายวรรคหลังบาทที่สาม เพราะเป็นที่บังคับเอก มักลงท้ายด้วยคำตาย (แทนเอกได้)
๒.  คำท้ายวรรคที่ส่งและรับสัมผัสกันเป็น ๒ ทอด คือ คำท้ายวรรคหลังบาทที่หนึ่ง  คำท้ายวรรคหนึ่ง  (คำที่ห้า)  บาทที่สองและที่สาม  นิยมให้เป็นเสียงสูง ๒ แห่ง  คำท้ายวรรคหลังบาทที่หนึ่ง (คำที่เจ็ด)  ซึ่งเป็นคำส่งสัมผัสแห่งหนึ่งและคำท้ายวรรคหน้าบาทที่หนึ่ง  หรือที่สาม  ซึ่งเป็นคำรับสัมผัสอีกแห่งหนึ่ง
๓.  คำท้ายวรรคดังกล่าวในข้อ ๒ นิยมให้เป็นคำตาย  ในกรณีที่ต้องการความห้าวหาญเด็ดเดี่ยวเอาจริงเอาจัง  เช่น  การพรรณนาในการต่อสู้  เป็นต้น 
๔.  สัมผัสในโคลงนิยมสัมผัสอักษร  หรือสัมผัสพยัญชนะเป็นสำคัญ  สัมผัสสระเป็นสัมผัสประกอบ  สัมผัสอักษรในโคลงนั้นถือว่า  มีมากเท่าไรยิ่งดี  อย่างโคลงสี่สุภาพ  กวีพยายามแต่งให้มีสัมผัสอักษรทั้งบาท  ถือว่าไพเราะยิ่ง  แต่โดยมากมักทำเช่นนี้ไม่ได้เสมอไป  จึงเพียงแต่พยายามให้มีมากไว้เป็นใช้ได้  และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง  โคลงสี่นิยมให้มีสัมผัส  อักษรข้ามวรรคระหว่างวรรคหน้าและวรรคหลังของสี่บาท
๕.  โคลงสี่สุภาพ  นิยมความไพเราะพิเศษ  โดยการย้ำคำ  กล่าวคือใช้คำเดียวกันเป็นคำท้ายวรรคหน้า  และคำที่สองวรรคหลังบาทที่สี่
๖.  ในการแต่งโคลงทั้งหลายถือว่าถ้าใช้คำที่มีวรรณยุกต์เอกกำกับ  ในที่บังคับเอกได้ทุกแห่งเป็นดี  นับเป็นโคลงแบบทีเดียว
๗.  สำหรับการแต่งโคลงนั้นนิยมโวหารความเปรียบมาก  โดยเฉพาะโคลงสี่แล้วนิยมอย่างยิ่ง  โวหารความเปรียบนี้มีอยู่ ๒ อย่างคือ  โลดโผนและลึกซึ้ง  สมัยก่อนนิยมทั้งสองอย่าง  แต่ปัจจุบันนิยมแบบลึกซึ้งอย่างเดียว  อนึ่ง  การยกเอาเรื่องราวหรือตัวละครในวรรณคดีเรื่องต่าง ๆ มาเปรียบเทียบก็เป็นที่นิยมกันมิใช่น้อย
๘.  โคลงสี่สุภาพนั้นนิยมแต่งเป็นโคลงกระทู้ด้วย  การแต่งโคลงแบบนี้จะต้องตั้งกระทู้ขึ้นก่อน  จะเป็นกระทู้ ๑ คำ ๒ คำ ๓ คำ หรือ ๔ คำ ก็ได้  แต่มักเป็นกระทู้ ๑ คำ และ ๒ คำ เกือบทั้งหมด  กระทู้ ๓ คำ และ ๔ คำ หายาก กระทู้นั้นส่วนใหญ่มีความหมาย  แต่บางทีกระทู้ไม่มีความหมายและบางคราวก็นิยมกระทู้ย้ำคำธรรมดา  การแต่งโคลงกระทู้นั้นถือว่าแต่งได้ความตามกระทู้เป็นดี  เว้นแต่กระทู้ไม่มีความหมายเท่านั้นที่ผู้แต่งคิดได้ตามใจชอบ
๙.  โคลงที่ดีจะต้องมีสัมผัสใน  ชนิดสัมผัสสระไม่เกินวรรคละ ๑ แห่ง  และสำหรับโคลงสี่จะต้องมีไม่เกินบาทละ  ๑  แห่ง  ถ้าโคลงบทใดมีเกินถือว่าขาดความไพเราะ
๑๐.  โคลงที่ดีจะต้องไม่มีคำวรรณยุกต์กำกับฟุ่มเฟือยในที่ที่ไม่บังคับ  เอก โท และที่ที่ไม่บังคับเอก โท นั้น  หากเป็นที่ส่งหรือรับสัมผัสกันตามแผนผังบังคับด้วย  ยิ่งจำเป็นต้องหลีกเลี่ยงการใช้คำมีวรรณยุกต์กำกับให้ได้  มิฉะนั้นถือว่าขาดรสไพเราะ

ตัวอย่างโคลงกระทู้

คลงกระทู้ที่ใช้คำต่างกัน
รูป ชั่วแต่ชอบแล้ว ใดปาน
รส รักผักว่าหวาน หล่นต้ม
กลิ่น อบจบดินดาน บ่ดุจ  เจ้านา
เสียง ก็จับใจล้ม โลกแล้วฤามี  
(โลกนิติคำโคลง)

โคลงกระทู้ที่ใช้คำเดียวกัน
  คุณ แม่หนาหนักเพี้ยง พสุธา
คุณ บิดรดุจอา- กาศกว้าง
คุณ พี่พ่างสิขรา เมรุมาศ
คุณ พระอาจารย์อ้าง อาจสู้สาคร
(โลกนิติคำโคลง)

โคลงกระทู้คำที่ไม่มีความหมาย
โก มลเดียรดาษพื้น สินธู
วา ฬุกาประดับดู ดั่งแก้ว
ปา รังระบัดปู ปุยนุ่น   เปรียบฤา
เปิด จอกกระจับแผ้ว ผ่องน้ำเห็นปลา
(โลกนิติคำโคลง)


โคลงกระทู้คู่
เพื่อนกิน สิ้นทรัพย์แล้ว แหนงหนี
หาง่าย หลายหมื่นมี มากได้
เพื่อนตาย ถ่ายแทนชีว- วาอาตม์
หายาก ฝากผีไข้ ยากแท้จักหา
(โลกนิติคำโคลง)

โคลงกระทู้สาม
ไป่เห็นน้ำ หน้าด่วน ชวนกัน
ตัดกระบอก แบ่งปัน ส่วนไซร้
ไป่เห็นรอก อวดขัน มือแม่น
ขึ้นน่าไม้ ไว้ให้ หย่อนแท้เสียสาย
(โลกนิติคำโคลง)

โคลงกระทู้สี่
ฝนตกแดดออก      จ้า แจ่มแสง
นกกระจอกเข้ารัง     แฝง ฟุบเร้น
แม่หม้ายใส่เสื้อ     แดง ดูฉาด
เอาเสื่อคลุมหลัง     เต้น ไต่เต้าตามทาง
(โลกนิติคำโคลง)


25 มิถุนายน 2560

เรียนภาษาไทยวันละเรื่อง : หน้าที่ของพยัญชนะไทย

อันดับ1 ครูสอนพิเศษ เรียนพิเศษที่บ้าน กับทีมติวเตอร์คุณภาพ

พยัญชนะในภาษาไทยทำหน้าที่ต่าง ๆ ดังนี้

พยัญชนะในภาษาไทยทำหน้าที่ต่าง ๆ ดังนี้

๑.  ทำหน้าที่เป็นพยัญชนะต้นของคำมี  ๒  ประเภท

๑.๑   พยัญชนะต้นตัวเดียว เช่น  ฉัน  นั่ง  เล่น  คน  เดียว  ฯลฯ

๑.๒  พยัญชนะต้นสองตัว
เรียกว่า  พยัญชนะควบกล้ำ หมายถึง พยัญชนะ  ๒ ตัวที่ออกเสียงพร้อมกัน (ตัวหลังเป็นตัว  ร  ล  ว)  อย่างละครึ่งเสียงเมื่อประสมสระและตัวสะกดตัวเดียวกัน  เช่น  คราง  ครึ่ง  ไกล  ปลา  กวาง  ไกว  เรียกว่าควบแท้  ถ้าพยัญชนะสองตัวเรียงกัน แต่อ่าน  ออกเสียงตัวหน้าตัวเดียวหรืออ่านออกเสียงเป็นอย่างอื่น  เรียกว่า  ควบไม่แท้  เช่น  สร้าง  จริง หรือ ทราบ  ทรวดทรง (ออกเสียง  ซ ) ตามลำดับ  พยัญชนะควบกล้ำที่เป็นพยัญชนะต้นมีดังนี้
-  กว  กร  กล  เช่น  แตงกวา  กวาด  กราบ  เกลือก  กลับ
-  ขว  ขร  ขล  เช่น  ขวาน  ขวนขวาย  ขริบ  ขลาด
-  คว  คร  คล  เช่น  คว่ำ  ความ  ครู เครือ  คลาน  คลุม
-  พร พรึบ พลาง พลู
-  ผล  
-  ปร  ปราบปราม  ปลาย  แปลก  เปลี่ยน
-  ตร    ตรวจตรา

นอกจากนี้ ยังมีเสียงพยัญชนะควบกล้ำบางเสียงที่เรารับมาจากภาษาอื่น  เช่น  อิเควเตอร์ ฟรี  ดราฟต์  ฟลุก  บล็อก  ทรัสต์  เสียงพยัญชนะเหล่านี้ไม่มีหน่วย เสียงในภาษาไทยทำให้เรามีเสียงพยัญชนะควบกล้ำเพิ่มขึ้น

๒.  ทำหน้าที่เป็นพยัญชนะท้ายพยางค์ของคำมี  ๒ ประเภท คือ

๒.๑  เป็นพยัญชนะตัวสะกดมี  ๘  มาตราคือ
-  แม่  กก  คือ  คำที่มี  ก  ข  ค  ฆ  เป็นตัวสะกดและออกเสียงเหมือน  ก  สะกด  เช่น  ผัก  สุนัข  อัคคี  เมฆ ฯลฯ                         
-  แม่  กด  คือ  คำที่มี   จ  ช  ซ  ฎ  ฏ  ฐ  ฑ  ฒ  ด  ต  ถ  ท  ธ  ศ  ษ  ส  เป็นตัวสะกดและออกเสียงเหมือน  ด   สะกด  เช่น  อาจ  คช  ก๊าช  กฎหมาย  ปรากฏ  รัฐ  ครุฑ   วุฒิ  ลัด  จิต  รถ  บท  อาพาธ  ทิศ  เศษ  สาหัส ฯลฯ

-  แม่  กบ   คือ  คำที่มี  บ  ป  พ  ฟ  ภ  เป็นตัวสะกดและออกเสียงเหมือน  บ  สะกด  เช่น  กบ  บาป  ลพบุรี  ยีราฟ  ลาภ  ฯลฯ  
-  แม่  กง  คือ  คำที่มี  ง  เป็นตัวสะกด  เช่น นั่ง  ข้าง ฉาง ฯลฯ ฯ     -  แม่  กน  คือ  คำที่มี  ญ  ณ  น  ร  ล  ฬ  เป็นตัวสะกด และออกเสียงเหมือน  น สะกด  เช่น คน เพ็ญ  คุณ  ลูกศร   การ   กาล  กาฬ  ฯลฯ 
-  แม่  กม  คือ  คำที่มี  ม  เป็นตัวสะกด เช่น โสม   งาม   ยาม  แรม  ฯลฯ     
-  แม่  เกย   คือ  คำที่มี  ย  เป็นตัวสะกด  เช่น ปุ๋ย  คุย  สวย  ตาย  ฯลฯ
-  แม่  เกอว   คือ  คำที่มี  ว  เป็นตัวสะกด  เช่น  กาว   สิว  ขาว  ฯลฯ

๒.๒  เป็นพยัญชนะตามหลังตัวสะกดเรียกว่า  
พยัญชนะตัวตาม  ทำหน้าที่เช่นเดียวกับตัวสะกด  (เป็นตัวสะกด ๒  ตัว)  เช่น  มาตร  มิตร  พุทธ    จักร   และ บางครั้งจะเติมไม้ทัณฑฆาตบนพยัญชนะตัวหลังเพื่อไม่ให้ออกเสียง  เรียกว่า  ตัวการันต์  เช่น      ศัลย์  ศิลป์  สัมพันธ์  ตัวสะกด ประเภทนี้  เป็นคำที่มาจากภาษาบาลี สันสกฤตและภาษาอื่นที่มีใช้อยู่ในภาษาไทย