สำรวจ
รีวิว
สอบเข้า
ออนไลน์

ครูสอนพิเศษ คุณภาพอันดับ1

หาครูสอนพิเศษตัวต่อตัว คลิกเลย

ค้นหาด้วยเสียง
ค้นหาด้วยเสียงคลิกที่นี่

» » ตัวอย่างแผนการจัดการศึกษาบ้านเรียนของครอบครัวเนาว์ธีรนนท์

02 กรกฎาคม 2558

ตัวอย่างแผนการจัดการศึกษาบ้านเรียนของครอบครัวเนาว์ธีรนนท์

เรียนพิเศษที่บ้าน หลักสูตรบ้านเรียนกับทีมติวเตอร์คุณภาพ รับประกันผลและความพอใจ ติวตัวต่อตัวที่บ้าน หรือสถานที่ ที่ผู้เรียนสะดวก เรียนก่อน จ่ายทีหลัง สะดวก ปลอดภัย

ตัวอย่างแผนการจัดการศึกษาบ้านเรียนของครอบครัวเนาว์ธีรนนท์




Home School ครอบครัวเนาว์ธีรนนท์

1.  ข้อมูลพื้นฐานของครอบครัว

บิดา   นายชาตรี  เนาว์ธีรนนท์  ปริญญาตรี นิติศาสตร์ อายุ 50 ปี อาชีพ สำนักงานกฎหมายและบัญชี
มารดา   นางธนาธิป  เนาว์ธีรนนท์  ปริญญาตรี การบัญชี อายุ 44 ปี อาชีพ สำนักงานกฎหมายและบัญชี
ที่อยู่  7/107 หมู่บ้านยิ่งรวย ซอย 2/2 ถนนนางแว่นแก้ว ต.ท่าพี่เลี้ยง อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี 72000


เหตุผลในการจัดการศึกษาของครอบครัว

ครอบครัวมีความเชื่ออย่างเต็มเปี่ยมว่า เด็กในช่วงอายุระหว่าง 1-10 ปี ควรมีชีวิตประจำวันอยู่ภายใต้ความรัก การดูแล เลี้ยงดูเอาใจใส่ และปลูกฝังให้การเรียนรู้ของพ่อแม่มากกว่าที่จะให้ไปอยู่ในความดูแลจัดการของสถานรับเลี้ยงเด็กเล็กหรือโรงเรียน เพราะเด็กในช่วงอายุดังกล่าวมีภาวะจิตใจที่บอบบาง ต่อเรื่องราวและสิ่งต่าง ๆ ที่จะเข้ามากระทบ  ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อระบบสมองและสภาพจิตใจของเด็กในระยะยาว   ดังนั้น   อ้อมอกอันอบอุ่นของพ่อแม่จึงเป็นเกราะกำบังที่สำคัญและจำเป็นต่อภาวการณ์อันไม่พึงประสงค์ทั้งปวง
ความเชื่อที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ ความเชื่อที่ว่าการศึกษาในระบบปัจจุบันไม่สามารถตอบสนองต่อพัฒนาการด้านการเรียนรู้ของเด็กได้อย่างเต็มตามศักยภาพที่แท้จริงของแต่ละคน ครอบครัวมีความเชื่อว่าการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยครอบครัว น่าจะเป็นแนวทางที่รองรับการเรียนรู้ของลูกได้  เพราะการจัดการศึกษาโดยครอบครัว (ตามความเห็นของข้าพเจ้า) เป็นการศึกษาที่เป็นไปตามธรรมชาติของมนุษย์  เกิดขึ้นได้ทุกเวลา ทุกโอกาส ทุกสถานที่ และเกิดได้กับทุก ๆ คนตามสภาพความเป็นจริง   เป็นการศึกษาที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิต   เพิ่มศักยภาพในการเรียนรู้ที่หลากหลายได้ด้วยตัวเองโดยพ่อแม่ทำหน้าที่เพียงเป็น “ผู้จัดการศึกษา” ที่มุ่งเน้นให้ “ลูกเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้” ตามความสนใจและตามความถนัด และมีหน้าที่ส่งเสริมให้ลูกสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข  ด้วยความเป็นผู้มีความอ่อนน้อมถ่อมตน มีความกตัญญูกตเวที มีเมตตาธรรมต่อ   เพื่อนมนุษย์ และที่สำคัญคือ ไม่ยึดติดในค่านิยมแห่งปริญญาบัตรใด ๆ 


2.  ข้อมูลพื้นฐานของผู้เรียน

ด.ช.ธีรวีร์  เนาว์ธีรนนท์  อายุ 6 ปี 10 เดือน (เกิดวันที่ 1 เมษายน 2541) สูง 130 เซนติเมตร น้ำหนัก  38 กิโลกรัม  มีความรู้ ความเข้าใจพื้นฐานด้านต่าง ๆ พอสรุปได้ดังนี้ 


ระดับการศึกษาที่จัด  ระดับประถมศึกษา ช่วงชั้นที่ 1 

พัฒนาการด้านต่าง ๆ

ความรู้ด้านภาษาอังกฤษ
  • การเขียน สามารถเขียนตัวอักษรได้ครบทุกตัว  โดยเฉพาะแบบตัวพิมพ์ใหญ่และตัวเขียนเล็ก
  • การอ่าน สามารถอ่านหนังสือภาษาอังกฤษได้ทุกประเภท (ยกเว้นคำศัพท์ที่มีหลายพยางค์ หรือคำศัพท์ทางวิทยาศาสตร์ยาก ๆ ยังสะกดไม่ค่อยถูกต้องนัก)
  • การพูด สามารถสนทนา โต้ตอบ ด้วยประโยคและคำศัพท์ง่าย ๆ ได้

หมายเหตุ สำเนียงในการอ่านและพูด จัดอยู่ในเกณฑ์ดี


ความรู้ด้านภาษาไทย

  • การเขียน อยู่ระหว่างการหัดเขียนตามแบบ แต่ยังเขียนไม่ได้
  • การอ่าน ยังสะกดคำอ่านไม่ได้ แต่ชอบให้พ่อแม่อ่านให้ฟัง โดยเฉพาะหนังสือประเภทนิทาน
  • การพูด พูดภาษาไทยได้ฉะฉาน ชัดเจน (ยกเว้นตัว “ง” ยังออกเสียงไม่ค่อยชัด)

หมายเหตุ เนื่องจากเจ้าตัวไม่ค่อยชอบภาษาไทยเท่าภาษาอังกฤษ


ความรู้ / ความสามารถด้านอื่น ๆ

  • คอมพิวเตอร์ มีความรู้เกี่ยวกับการใช้เครื่องค่อนข้างดี สามารถใช้เครื่อง P.C. ได้คล่องแคล่วหลายโปรแกรม และใช้ Internet ได้เป็นอย่างดี
  • คณิตศาสตร์ สามารถเขียนตัวเลขได้ครบทุกตัว นับจำนวนถึงหลักร้อยได้คล่อง บวก ลบเลข 2 หลักได้ ท่องและจำสูตรคูณได้บางแม่ เช่น แม่ 2  แม่ 3  แม่ 5 เป็นต้น
  • วิทยาศาสตร์ มีความรู้เกี่ยวกับโลก คน สัตว์ สิ่งของ และธรรมชาติพอสมควร สามารถแยกแยะและบอกลักษณะความแตกต่างได้
  • ศิลปะ มีความรู้เรื่องสีเป็นอย่างดี สามารถวาดรูปตามจินตนาการของตนเองได้
  • กีฬา  มีความรู้เกี่ยวกับวิธีการเล่นกีฬาหลายประเภท เพราะมีความชอบและสนใจข่าวกีฬาทุกชนิด  โดยเฉพาะการแข่งขัน Formula. 1  สามารถจำชื่อและหน้าตาของนักแข่งได้แทบทุกคนแต่ตัวเองไม่ค่อยชอบเล่นกีฬา (ชอบเล่นเป็นบางอย่าง เช่น ไดรฟ์กอล์ฟ  ฟุตบอล  เป็นต้น)
  • ดนตรี/บันเทิง ไม่ค่อยให้ความสนใจด้านนี้  ร้องเพลงได้บ้างตามความชอบที่ได้ฟังจากโทรศัพท์ไม่สนใจเครื่องดนตรีทุกประเภท

3.  จุดมุ่งหมายในการจัดการศึกษา

ครอบครัวมีความมุ่งหวังให้ลูก (ผู้เรียน) มีความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์  เป็นคนดีมีคุณธรรม   มีความรู้  มีจิตใจที่สงบเยือกเย็นเป็นสุข  มีความเมตตากรุณาต่อผู้อื่น   มีความรักในความเป็นไทย   และที่สำคัญคือมีศักยภาพในการศึกษาต่อ  และหรือสามารถประกอบอาชีพพอเลี้ยงตัวได้  จึงกำหนดจุดหมายซึ่งถือเป็นมาตรฐานการเรียนรู้ให้ผู้เรียนเกิดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ดังต่อไปนี้

1.  เห็นคุณค่าของตนเอง  มีวินัยในตนเอง ปฏิบัติตนตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนาหรือ ที่ตนนับถือ   มีคุณธรรม  จริยธรรมและค่านิยมอันพึงประสงค์
2.  มีความคิดสร้างสรรค์  ใฝ่รู้  ใฝ่เรียน  รักการอ่าน  รักการเขียน  และรักการค้นคว้า
3.  มีความรู้อันเป็นสากล  รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการ  มีทักษะในการจัดการ  ปรับวิธีการคิด การทำงานให้เหมาะสมกับสถานการณ์
4.  มีทักษะและกระบวนการ  โดยเฉพาะทางคณิตศาสตร์   วิทยาศาสตร์   ทักษะการคิดการสร้างปัญญาและทักษะในการดำเนินชีวิต   และเน้นเป็นพิเศษทางด้านภาษาอังกฤษ  คือ นอกจากสามารถสนทนาโต้ตอบได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้านคอมพิวเตอร์ให้สามารถมีความรู้ ความชำนาญ ถึงระดับเป็นโปรแกรมเมอร์
5.  รักการออกกำลังกาย  ดูแลตนเองให้มีสุขภาพและบุคลิกภาพที่ดี  และให้มีทักษะด้านกีฬากอล์ฟ  สามารถเป็นนักกอล์ฟสมัครเล่นในระดับเยาวชนได้
6.  เข้าใจในประวัติศาสตร์ของชาติไทย  ภูมิใจในความเป็นไทย  เป็นพลเมืองดี  ยึดมั่นในวิถีชีวิตและการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
7.  มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ภาษาไทย  ศิลปะ  วัฒนธรรม  ประเพณี  กีฬา  ภูมิปัญญาไทย  ทรัพยากรธรรมชาติ และพัฒนาสิ่งแวดล้อม
8.  รักท้องถิ่น ชุมชน และประเทศชาติ มุ่งทำประโยชน์และสร้างสิ่งที่ดีงามให้กับสังคมส่วนรวมเป็นสำคัญ

พร้อมกันนี้ ครอบครัวมุ่งเน้นคุณลักษณะทางด้านคุณธรรมจริยธรรมสำคัญที่เหมาะสมกับช่วงวัย  4  ประการ  ดังนี้


หาครูสอนพิเศษที่บ้าน ต้องการเรียนพิเศษที่บ้าน Tutor Ferryรับสอนพิเศษที่บ้าน





การจัดสาระ / ความรู้

จัดเนื้อหาความรู้  8 กลุ่มสาระ  ตามหลักสูตรการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ  โดยครอบครัวกำหนดจุดเน้นในแต่ละกลุ่มสาระ  ดังนี้


  1. ภาษาไทย ใช้กระบวนการอ่านสร้างความรู้  ความคิดไปใช้ตัดสินใจแก้ปัญหาในการดำเนินชีวิต  และสร้างนิสัยรักการอ่าน  ใช้กระบวนการเขียน  เขียนสื่อสาร  รายงานข้อมูล  เรื่องราว  ความรู้  ความคิด  อย่างมีประสิทธิภาพ  ให้เข้าใจธรรมชาติของภาษาและหลักภาษาไทย  เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับวัฒนธรรม  สังคม ชีวิตประจำวัน  นำมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตจริงได้
  2. คณิตศาสตร์ ให้เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวน  และการใช้จำนวนในชีวิตจริง  เข้าใจถึงผลที่เกิดจากการดำเนินการของจำนวน  และความสัมพันธ์ระหว่างการดำเนินการต่างๆ  และสามารถใช้การดำเนินการในการแก้ปัญหาได้   ให้มีความสามารถในการแก้ปัญหา  การให้เหตุผล  การสื่อสาร  การสื่อความหมาย  การเชื่อมโยงความรู้ต่าง  ๆ  ทางคณิตศาสตร์  การเชื่อมโยงกับศาสตร์อื่น  ๆ  และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
  3. วิทยาศาสตร์ ให้เข้าใจหน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต  ความสัมพันธ์ของโครงสร้างและหน้าที่ของระบบต่าง  ๆ  ของสิ่งมีชีวิตที่ทำงานสัมพันธ์กัน  ให้เกิดกระบวนการสืบเสาะหาความรู้  สื่อสารถึงสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ในการดำรงชีวิตของตนเองได้  เข้าใจสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น  ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมกับสิ่งมีชีวิต  ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ  ในระบบนิเวศ  เข้าใจความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติ  นำความรู้ไปใช้ในการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นอย่างยั่งยืน  เข้าใจคุณสมบัติของสาร  คุณสมบัติของพลังงาน  ความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานกับการดำรงชีวิต  มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์  สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้  และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้
  4. ศาสนา  ศีลธรรม  จริยธรรม ให้เข้าใจถึงความสำคัญของหลักธรรม  คำสอนในทุกศาสนา  สามารถนำหลักธรรมมาใช้เป็นหลักปฏิบัติในการอยู่ร่วมกัน  ให้ยึดมั่นในคุณธรรม  จริยธรรม  การกระทำความดี  และปฏิบัติตนตามสิทธิ  หน้าที่ของการเป็นพลเมืองดี  ตามกฎหมาย   ประเพณี  วัฒนธรรมไทย  ดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคมไทยและสังคมโลกอย่างสันติสุข
  5. สุขศึกษาและพลศึกษา ให้เข้าใจธรรมชาติของการเจริญเติบและพัฒนาการของมนุษย์   เข้าใจและมีทักษะในการเคลื่อนไหว  กิจกรรมทางกาย  รักการออกกำลังกาย  มีน้ำใจนักกีฬา  มีทักษะในการป้องกันและหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง  พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ  อุบัติเหตุ  สารเสพติด  และความรุนแรง  เข้าใจและเห็นคุณค่าของตนเอง  ครอบครัว  สังคม  เพศศึกษา  มีทักษะชีวิตเพื่อการสื่อสารและสัมพันธภาพที่ดีระหว่างบุคคล
  6. ศิลปะ ให้เข้าใจ  สร้างสรรค์และถ่ายทอดงานทัศนศิลป์ตามจินตนาการได้  เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างทัศนศิลป์  ดนตรี นาฎศิลป์กับประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม เห็นคุณค่าในฐานะที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น  ภูมิปัญญาไทยและสากล
  7. การงานอาชีพและเทคโนโลยี ให้เข้าใจในการทำงาน  มีความคิดสร้างสรรค์  มีทักษะกระบวนการทำงาน  การจัดการ การแก้ปัญหา  การทำงานร่วมกัน  และการแสวงหาความรู้  มีคุณธรรมและลักษณะนิสัยในการทำงาน  มีจิตสำนึกในการใช้พลังงาน  ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม  การใช้เทคโนโลยี ฯ  เพื่อการดำรงชีวิตของตนเองและครอบครัว
  8. ภาษาต่างประเทศ  (ภาษาอังกฤษ) ให้เข้าใจและใช้ภาษาฯ  ตามบริบท  วัฒนธรรมของเจ้าของภาษาได้อย่างเหมาะสม   ตีความเรื่องที่อ่านจากสื่อประเภทต่าง ๆ  ได้  เข้าใจและใช้ทักษะทางภาษาฯ  ในการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนอื่น  ๆ  ได้อย่างมีประสิทธิภาพ  และใช้ภาษาเป็นพื้นฐาน การเตรียมการเข้าสู่อาชีพ  การพัฒนาตนเอง  พัฒนาชุมชนและสังคม


การจัดกระบวนการเรียนรู้ จัดให้มีการเรียนรู้โดยยึดหลักและวิธีการที่สำคัญ  ดังนี้

1.  มุ่งเน้นให้พ่อ – แม่ - ลูก  เรียนรู้ร่วมกัน  จากแหล่งความรู้ทุกประเภท  จากการทดลอง  จากประสบการณ์ตรงตามแหล่งเรียนรู้ต่างๆ  ซึ่งจะทำให้ลูกเกิดแรงจูงใจ อยากเรียนรู้ต่อเนื่องตลอดชีวิต
2.  มุ่งเน้นตามความต้องการและความสนใจของลูกเป็นหลัก การเรียนรู้เรื่องใด อย่างไร จะไม่มีการกำหนดเวลาและวิธีการที่ตายตัว แต่จะปรับเปลี่ยนยืดหยุ่นตามความพร้อมของลูกและตามสถานการณ์
3.  เน้นการเรียนรู้เชิงวิเคราะห์  เพื่อให้ผู้เรียนสามารถคิดค้นหาต้นเหตุของปัญหา และวิธีการแก้ปัญหานั้นๆ  ได้ด้วยตัวเอง  ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาความสามารถในการคิดได้อย่างเป็นระบบ
4.  พ่อแม่อยู่ในฐานะ  “ผู้จัดการศึกษา”  ให้ลูก  มีหน้าที่จัดหาอุปกรณ์  สื่อการเรียนรู้ต่างๆ  และพาลูกไปยังแหล่งเรียนรู้  เพื่อให้ลูกแสวงหาความรู้ด้วยวิธีการของตัวเอง




หาครูสอนพิเศษที่บ้าน ต้องการเรียนพิเศษที่บ้าน Tutor Ferryรับสอนพิเศษที่บ้าน
แผนการเรียนรู้  เดือนพฤษภาคม – ธันวาคม  2549



แนวทางการประเมินผล

หลักการที่ใช้คือ  “การประเมินผลตามสภาพจริง”  เน้นพัฒนาการจริงที่เกิดขึ้นกับตัวผู้เรียน 
จากผลงาน  จากพฤติกรรม  จากสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน  ซึ่งได้มาจากการสังเกตโดยละเอียดของ
พ่อแม่  ไม่ใช้ข้อทดสอบหรือการสอบที่ไม่สามารถประเมินความเป็นจริงอย่างรอบด้านของตัวผู้เรียนได้
แนวทางการประเมินผล มุ่งให้เห็นถึงพัฒนาการของลูกอย่างแท้จริง  เพื่อให้ลูกได้ค้นพบวิถีทางของการพัฒนาตนเองเปิดโอกาสให้เด็กมีส่วนร่วมในการประเมินผลตัวเองด้วย มีความต่อเนื่องเห็นตลอดทั้งกระบวนการ  มากกว่าดูเพียงชิ้นงานที่เป็นผลลัพธ์ในขั้นสุดท้าย มีความหลากหลายในวิธีการทั้งอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ  ทุกสิ่งล้วนเป็นการเรียนรู้และสามารถใช้เป็นประจักษ์พยานแสดงผลของการเรียนรู้ได้ทั้งสิ้น
หลักฐานที่ใช้ประกอบการประเมินผล สมุดบันทึกของพ่อ-แม่  แสดงปัญหา  การแก้ปัญหา  พัฒนาการในการจัดกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาการของลูก แฟ้มสะสมงาน สมุดภาพของลูก แสดงประสบการณ์และเนื้อหาความรู้ ผลงานในลักษณะโครงงาน ทั้งโดยบุคคลและโดยกลุ่ม


โครงสร้างหลักสูตรครอบครัวเนาว์ธีรนนท์  ช่วงชั้นที่  1

การจัดทำโครงสร้างหลักสูตรของครอบครัวเนาว์ธีรนนท์  วิเคราะห์จากข้อมูลในแผนที่จัด การศึกษาที่ครอบครัวนำเสนอซึ่งพบว่า  ครอบครัวเน้นมากที่กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โดยบูรณาการ ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้   ส่วนกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่เน้นรองลงไป  ได้แก่  คณิตศาสตร์  วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ  จึงให้เวลาเรียนที่กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยมากที่สุด  คณิตศาสตร์  วิทยาศาสตร์ และภาษาอังกฤษ  ให้เวลาเรียนอันดับรองลงไป


หาครูสอนพิเศษที่บ้าน ต้องการเรียนพิเศษที่บ้าน Tutor Ferryรับสอนพิเศษที่บ้าน
โครงสร้างหลักสูตรครอบครัวเนาว์ธีรนนท์  ช่วงชั้นที่  1

ขอขอบคุณข้อมูลจาก ครอบครัวเนาว์ธีรนนท์







Total Rating ✔

9.2 stars – 2,789 reviews

More Reviews

แสดงความคิดเห็น

ตัวอย่างแผนการจัดการศึกษาบ้านเรียนของครอบครัวเนาว์ธีรนนท์

การศึกษาทางเลือก, Home School, News