สำรวจ
รีวิว
สอบเข้า
ออนไลน์

ครูสอนพิเศษ คุณภาพอันดับ1

หาครูสอนพิเศษตัวต่อตัว คลิกเลย

ค้นหาด้วยเสียง
ค้นหาด้วยเสียงคลิกที่นี่

» » เศรษฐกิจพอเพียง วิชาสังคม มัธยมต้น

05 พฤศจิกายน 2559

เศรษฐกิจพอเพียง วิชาสังคม มัธยมต้น

เศรษฐกิจแบบพอเพียง หรือระบบที่พึ่งตนเองได้ เพราะพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มองได้ 2 ลักษณะใหญ่ ๆ คือ เศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง ความสามารถของชุมชนเมือง รัฐ ประเทศ หรือภูมิภาคหนึ่ง ๆ ในการผลิตสินค้าและบริการทุกชนิดเพื่อเลี้ยงสังคมนั้น ๆ ได้โดยไม่ต้องพึ่งพาปัจจัยต่าง ๆ ที่เราไม่ได้เป็นเจ้าของ

เศรษฐกิจพอเพียง

เศรษฐกิจพอเพียง วิชาสังคม มัธยมต้น



ความหมายของระบบเศรษฐกิจแบบพอเพียง

เศรษฐกิจแบบพอเพียง หรือระบบที่พึ่งตนเองได้ เพราะพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มองได้ 2 ลักษณะใหญ่ ๆ คือ
เศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง ความสามารถของชุมชนเมือง รัฐ ประเทศ หรือภูมิภาคหนึ่ง ๆ ในการผลิตสินค้าและบริการทุกชนิดเพื่อเลี้ยงสังคมนั้น ๆ ได้โดยไม่ต้องพึ่งพาปัจจัยต่าง ๆ ที่เราไม่ได้เป็นเจ้าของ


เศรษฐกิจพอเพียงในระดับบุคคล

เศรษฐกิจพอเพียงในระดับบุคคล คือ ความสามารถในการดำรงชีวิตได้อย่างไม่เดือดร้อน มีความเป็นอยู่อย่างประมาณตนตามฐานะ ตามอัตภาพ ที่สำคัญไม่หลงใหลไปตามกระแสของวัตถุนิยม มีอิสรภาพ เสรีภาพไม่พันธนาการอยู่กับสิ่งใด

หลักการพึ่งตนเอง มีหลักสำคัญอยู่ 5 ประการ คือ
1.  ด้านจิตใจ ทำตนให้เป็นที่พึ่งแห่งตน มีจิตสำนึกที่ดี สร้างสรรค์ให้ตนเองและชาติโดยรวม มีจิตใจเอื้ออาทร ประนีประนอม เห็นประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง
2.  ด้านสังคม แต่ละชุมชนต้องช่วยเหลือเกื้อกูลกัน เชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายชุมชนที่แข็งแรงเป็นอิสระ
3.  ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้ใช้และจัดการอย่างฉลาด พร้อมทั้งหาทางเพิ่มมูลค่าโดยให้ยึดอยู่บนหลักการของความยั่งยืน
4. ด้านเทคโนโลยี จากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เทคโนโลยีที่เข้ามาใหม่มีทั้งดีและไม่ดี จึงต้องแยกแยะบนพื้นฐานของภูมิปัญญาชาวบ้านและเลือกใช้เฉพาะที่สอดคล้องกับความต้องการตามสภาพแวดล้อมและควรพัฒนาเทคโนโลยีจากภูมิปัญญาของเราเอง
5. ด้านเศรษฐกิจ แต่เดิมนักพัฒนามักมุ่งเน้นแต่การเพิ่มรายได้ และไม่มีการมุ่งลกรายจ่ายในภาวะที่เศรษฐกิจวิกฤตเช่นเวลานี้ จึงต้องปรับทิศทางการพัฒนาใหม่ คือ ต้องมุ่งลดรายจ่ายก่อนเป็นสำคัญโดยยึดหลัก “พออยู่ พอกิน พอใช้”

ทุกข์ของคนไทยในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ ในช่วงปี พ.ศ.2539 – 2540 ที่เศรษฐกิจผันผวน การลงทุนหยุดชะงัก เกิดภาวการณ์ว่างงาน สถาบันทางการเงินล้มเป็นจำนวนมาก กระแสเงินไหลออกจนทุนสำรองระหว่างประเทศกระทบกระเทือนอย่างหนัก กิจการขนาดใหญ่ต้องล้มเลิกกิจการ ล้วนแต่เป็นทุกข์ที่รุนแรงที่ทั้งภาครัฐบาลและเอกชนไม่สามารถตั้งรับได้ทัน
เหตุวิกฤติครั้งนี้มาจาก การวางแผนพัฒนาประเทศในอดีตมุ่งความเจริญทางด้านเศรษฐกิจเป็นหลักสำคัญ ทุ่มเทขยายการผลิตไปในด้านอุตสาหกรรมมากกว่าด้านเกษตรกรรมซึ่งเป็นการผลิตที่เน้นปัจจัยที่เหมาะสมของไทยเป็นสำคัญ
แนวทางพ้นทุกข์ ที่จะทำให้หลุดพ้นจากระบบเศรษฐกิจที่พังพินาศ คือ การประคองตนเองให้ลุกขึ้นมายืนหยัดด้วยลำแข้งของตนเองต่อไป ด้วยวิธีการแบบที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเรียกว่า “เศรษฐกิจพอเพียงกับตนเอง” (Relative Self – Sufficient Economy) เพื่อให้รอดพ้นจากวิกฤตและลุกขึ้นต่อสู่ต่อไปได้อย่างช้า ๆ แต่ยั่งยืน

การดำรงชีพแบบ “เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นการเข้าสู่มาตรฐาน “พออยู่ พอกิน” ตามพระราชดำริอาจปฏิบัติได้ดังนี้
1.  ยึดความประหยัด ตัดทอนค่าใช้จ่ายทุกด้าน ลดละความฟุ่มเฟือยในการดำรงชีพ
2.  ยึดการประกอบอาชีพสุจริต แม้จะอยู่ในภาวะเลวร้ายเพียงใดก็ตาม
3.  ละเลิกการแก่งแย่งผลประโยชน์และการแข่งขันในการประกอบอาชีพ การค้าขายในอดีต
4.  ไม่หยุดนิ่งที่จะหาทางให้ชีวิตหลุดพ้นจากความทุกข์ยาก โดยใฝ่หาความรู้ ให้เกิดรายได้เพิ่มพูนขึ้นจนถึงขั้นพอเพียง
5.  ปฏิบัติตนในแนวทางที่ดี ลดละสิ่งชั่วให้หมดสิ้นไป ทั้งนี้ด้วยสังคมไทยล่มสลายจากบุคคลบางส่วนที่มีส่วนทำลายทั้งตนเองและผู้อื่นโดยปราศจากความละอายต่อบาป


แนวคิดระบบเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับเกษตรกร

ตามแนวพระราชดำริตั้งอยู่บนพื้นฐานของ “ทฤษฏีใหม่ 3 ขั้น” คือ


  1. ขั้นที่หนึ่ง มีความพอเพียง เลี้ยงตัวเองได้บนพื้นฐานของความประหยัด ขจัดการใช้จ่าย
  2. ขั้นที่สอง รวมพลังกันในรูปของกลุ่ม เพื่อทำการผลิต การตลาด การจัดการ รวมทั้งด้านสวัสดิการการศึกษา การพัฒนาสังคม การปกครองตนเอง ฯ
  3. ขั้นที่สาม สร้างเครือข่ายกลุ่มอาชีพและขยายกิจกรรมทางเศรษฐกิจให้หลากหลายโดยประสานความร่วมมือกับภาคธุรกิจ ภาคองค์กรพัฒนาเอกชน และภาคราชการในด้านการเงินทุน ตลาด การผลิต การจัดการ และข่าวสารข้อมูล



แนวคิดระบบเศรษฐกิจแบบพอเพียงมีองค์ประกอบหลัก 3 ประการ คือ

ประการแรก เป็นระบบเศรษฐกิจที่ยึดหลัก “ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน” คือ
-  มุ่งเน้นผลิตพืชผลเพียงพอกับความต้องการบริโภคในครัวเรือน
-  เมื่อเหลือจากการบริโภคแล้วจึงคำนึงถึงการผลิตเพื่อการค้าอันถือเป็นกำไร ผลคือ เกษตรกรจะเป็นผู้กำหนดตลาด และได้ลดค่าใช้จ่ายโดยการสร้างสิ่งอุปโภคบริโภคในที่ดินของตนเอง

ประการที่สอง ให้ความสำคัญกับการรวมกลุ่มชาวบ้าน หรือองค์กรในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่าง ๆ หลากหลายแบบผสมผสาน ทำให้ชุมชนมีรายได้

ประการที่สาม อยู่บนพื้นฐานของความเมตตา ความเอื้ออาทร ความสามัคคีของสมาชิกในชุมชน การสร้างความมั่นคงให้กับสถาบันครอบครัว ชุมชน การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น


ผู้ที่อยู่นอกภาคเกษตรกรรม

สามารถนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้เป็นแนวปฏิบัติตนไม่ว่าจะอยู่ในกิจกรรมใด อาชีพใด ก็ต้องยึดวิถีชีวิตไทย อยู่แต่พอดี อย่าฟุ่มเฟือยอย่างไร้ประโยชน์ อย่ายึดวัตถุเป็นที่ตั้ง ยึดเส้นทางสายกลาง อยู่กินตามฐานะ ใช้สติปัญญาในการดำรงชีวิต จำเริญเติบโตอย่างค่อยเป็นค่อยไป อย่าใช้หลักการลงทุนเชิงการพนันซึ่งตั้งอยู่ในความเสี่ยง กู้เงินมาลงทุนโดยหวังรวยอย่างรวดเร็ว ตั้งมั่นในการใช้สติปัญญาปกป้องตนเองจากกระแสโลกาภิวัฒน์ ให้มีความรัก ความเมตตาที่จะช่วยเหลือสังคมให้รอดพ้นจากภัยพิบัติ และรวมพลังกันด้วยความสามัคคีเป็นหมู่เหล่า ประนีประนอมรักษาผลประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก
ทฤษฎีใหม่ (New theory)


เศรษฐกิจพอเพียง วิชาสังคม มัธยมต้น


จากพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเกี่ยวกับทฤษฎีใหม่ที่ได้ทรงประทานไว้ในวโรกาสต่าง ๆ น่าจะพอสรุปได้ คือ

ทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 1 แนวทางปฏิบัติเพื่อให้เกษตรกรที่มีที่ดินถือครองประมาณ 10 – 15 ไร่ สามารถมีน้ำใช้เพื่อการเกษตรอย่างพอเพียงตลอดปี และการใช้น้ำกับที่ดินที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยแบ่งที่ดินถือครองออกเป็นสัดส่วนดังนี้
ส่วนที่ 1 ร้อยละ 30 ของพื้นที่ใช้ขุดสระ เพื่อมีน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง
ส่วนที่ 2 ร้อยละ 60 ของพื้นที่ใช้สำหรับทำนาปลูกข้าวและปลูกพืชไร่ทำสวน
ส่วนที่ 3 ร้อยละ 10 ของพื้นที่ใช้สำหรับเป็นที่บริการ เช่น ถนน ที่อยู่อาศัย อื่น ๆ 
ทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 2 การรวมพลังกันในรูปของกลุ่มหรือสหกรณ์ร่วมแรงในการการผลิต การตลาด การเป็นอยู่ สวัสดิการ การศึกษา และสังคมและศาสนา ด้วยความร่วมมือของหน่วยราชการมูลนิธิและเอกชน
ทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 3 ติดต่อร่วมมือกับแหล่งเงิน (ธนาคาร) แหล่งพลังงาน (บริษัทน้ำมัน) ตั้งและบริการโรงสี ตั้งและบริหารร้านสหกรณ์


ประโยชน์ของทฤษฎีใหม่ (พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานสรุป)

1.  ทำให้ประชาชนมีกินตามอัตภาพ
2.  ถ้าน้ำพอดีปีไหนก็สามารถทำการเกษตรหรือปลูกข้าวนาปีได้ ถ้าต่อไปในหน้าแล้งน้ำมีน้อยก็สามารถนำน้ำจากสระมาใช้ได้
3.  ถ้าในภาวะปกติก็สามารถทำให้มีรายได้มากขึ้น
4.  ถ้าในภาวะที่มีอุทกภัยก็สามารถจะฟื้นตัวได้ โดยไม่ต้องให้ทางราชการไปช่วยมากเกินไปทำให้พึ่งตนเองได้เป็นอย่างดี


ปัจจุบันมีผู้ศึกษาเกี่ยวกับ “การวิเคราะห์อุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง” ค้นพบว่า ถ้านำหลักการแนวคิดของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ก็จะทำให้กิจกรรมเหล่านี้สามารถดำเนินกิจกรรมไปได้โดยตลอด จึงถือได้ว่าอาจใช้ประยุกต์แทนหลักธรรมมาภิบาลได้ สรุปได้ 9 ข้อ คือ
1. ใช้เทคโนโลยีให้ถกหลักวิชาแต่มีราคาถูก
2. ใช้ทรัพยากรทุกชนิดอย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพสูงสุด
3. เน้นการจ้างงานเป็นหลักโดยไม่นำเทคโนโลยีมาทดแทนแรงงาน
4. มีขนาดการผลิตที่สอดคล้องกับความสามารถบริหารจัดการ
5. ไม่โลภจนเกินไป
6. ซื่อสัตย์สุจริตในการประกอบการ
7. กระจายความเสี่ยงจากการมีผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายและมีความสามารถในการเปลี่ยนผลผลิตได้ง่าย
8. เน้นการบริหารความเสี่ยวต่ำ ไม่ก่อหนี้เกินขีดความสามารถบริหารจัดการ
9. เน้นการใช้วัตถุดิบในท้องถิ่น ตลาดในท้องถิ่น ถูมิภาค ตลาดในและต่างประเทศตามลำดับ








Total Rating ✔

9.2 stars – 2,789 reviews

More Reviews

แสดงความคิดเห็น

เศรษฐกิจพอเพียง วิชาสังคม มัธยมต้น

บทความจาก TutorFerry