สำรวจ
รีวิว
สอบเข้า
ออนไลน์

ครูสอนพิเศษ คุณภาพอันดับ1

หาครูสอนพิเศษตัวต่อตัว คลิกเลย

หาติวเตอร์บอกให้เราค้นหาให้
คลิก-ปล่อย แล้วลองหาอีกที

» » วิชาสังคมศึกษา มัธยมต้นเรื่องโครงสร้างของสังคม

14 พฤศจิกายน 2559

วิชาสังคมศึกษา มัธยมต้นเรื่องโครงสร้างของสังคม

ความหมายของโครงสร้างสังคม หมายถึง ลักษณะขั้นมูลฐานหรือขั้นต้นที่ก่อให้เกิดการอยู่ร่วมกันอย่างมีระเบียบ ตามกฎเกณฑ์ และเป้าหมายร่วมกัน หรือหมายถึงสิ่งที่ยึดเหนี่ยวให้สังคมดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคง ประกอบด้วยกลุ่มบุคคลที่มาอยู่รวมกัน มีตำแหน่งและบทบาทที่สอดคล้องกัน ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ที่ยอมรับร่วมกันโครงสร้างสังคมจึงเปลี่ยน

โครงสร้างของสังคม

เรียนวิชาสังคมที่บ้าน ภูเเก็ต สงขลา สมุทรปราการ นนทบุรี ปทุมธานี ชลบุรี ระยอง นครราชสีมา ขอนแก่น อุดรธานี มหาสารคาม เชียงใหม่


ความหมายของโครงสร้างสังคม

หมายถึง   ลักษณะขั้นมูลฐานหรือขั้นต้นที่ก่อให้เกิดการอยู่ร่วมกันอย่างมีระเบียบ   ตามกฎเกณฑ์  และเป้าหมายร่วมกัน    หรือหมายถึงสิ่งที่ยึดเหนี่ยวให้สังคมดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคง ประกอบด้วยกลุ่มบุคคลที่มาอยู่รวมกัน   มีตำแหน่งและบทบาทที่สอดคล้องกัน    ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ที่ยอมรับร่วมกันโครงสร้างสังคมจึงเปลี่ยน

แปลงอยู่ตลอดเวลา  เพราะสภาพสิ่งแวดล้อมเปลี่ยน  เช่น  จำนวนคนเปลี่ยน  โครงสร้างของสังคม   จึงเป็นโครงร่างที่ประกอบเพื่อเชื่อมแบบแผนความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในสังคมใดๆ    ให้อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข


ลักษณะของโครงสร้างสังคม

1.  มีคนจำนวนหนึ่งที่ติดต่อกัน  หรือ  การกระทำระหว่างกันภายใต้รูปแบบที่สังคมวางไว้
2.  มีกฎเกณฑ์ที่ใช้ร่วมกัน
3.  มีวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้เพื่อการบรรลุเป้าหมายที่ต้องการ
4.  มีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงได้

กลุ่มทางสังคม   เป็นองค์ประกอบของโครงสร้างสังคมอย่างหนึ่ง
กลุ่ม นักสังคมวิทยามีเกณฑ์ในการแบ่งกลุ่มไว้  3  ประการคือ
1.  มีความรู้สึกเป็นพวกเดียวกัน
2.  มีการปะทะสังสรรค์ทางสังคม
3.  มีการจัดระเบียบทางสังคม

การแบ่งกลุ่ม   ไม่แน่นอนตายตัว  ขึ้นอยู่กับว่าจะใช้อะไรเป็นเกณฑ์   ดังนี้  คือ
1.  ใช้ความสัมพันธ์เป็นเกณฑ์   แบ่งเป็น
-  กลุ่มปฐมภูมิ  เป็นความสัมพันธ์แบบใกล้ชิดเป็นกลุ่มเล็ก ๆ สนิทสนมและส่วนตัว  ไม่มีพิธีรีตองเพราะมีคนน้อย  เช่น  ครอบครัว  เพื่อนบ้าน ฯลฯ                                                   
-  กลุ่มทุติยภูมิ   คือเป็นความสัมพันธ์กับคนจำนวนมากเป็นกลุ่มใหญ่และเป็นทางการมักติดต่อกันตามสถานภาพ  ยึดประโยชน์เป็นสำคัญ  เช่น บริษัท ร้านค้า ฯลฯ
2.  ใช้ความรู้สึกเป็นเกณฑ์   แบ่งเป็นกลุ่มพวกเรา   และกลุ่มพวกเขา  (In-groups  and  Out  groups)  เช่น นักเรียนโรงเรียนเดียวกัน    ชาวเอเชียและชาวยุโรป
3.  ใช้แบบของความสัมพันธ์  และอำนาจทางการเมือง  แบ่งออกเป็น
-  ชนกลุ่มใหญ่  คือ มีอำนาจทางการเมืองและเศรษฐกิจ
-  ชนกลุ่มน้อย  เป็นกลุ่มขนาดเล็ก   ที่ถูกครอบงำ    โดยกลุ่มใหญ่  เช่น   ชาวเขาในประเทศไทย
4.  ใช้กลุ่มบุคคลยึดถือเป็นแบบ  หรือมาตรฐานความประพฤติ    จึงมีการลอกเลียนการกระทำ  เช่น  บุคคลที่มีชื่อเสียง   ดาราภาพยนตร์   สุภาษิต    เรียกว่า  กลุ่มอ้างอิง


องค์ประกอบของโครงสร้างสังคม   ได้แก่

1.  กลุ่มสังคมและสถาบันทางสังคม
2.  การจัดระเบียบทางสังคม


สถาบันสังคม

สถาบันสังคม   เป็นนามธรรม   หมายถึง  แบบแผนความประพฤติหรือกฎเกณฑ์แบบอย่างพฤติกรรมที่ตั้งขึ้นจนเป็นที่ยอมรับของคนในสังคม   เพื่อตอบสนองความต้องการด้านต่างๆ  ของสมาชิกในสังคม  มักออกมาในรูปของกิจกรรมต่างๆ  แสดงบทบาทเองไม่ได้ต้องอาศัยกลุ่มบุคคลซึ่งเรียกว่า  กลุ่มสังคม  เป็นผู้แสดงบทบาทแทน เช่น   บิดามารดาแสดงบทบาทในนามของสถาบันครอบครัว  เป็นต้น    สถาบันจึงเป็นกระบวนการถ่ายทอดวัฒนธรรม  ทำให้เกิดการเรียนรู้และการรับปฏิบัติตามรูปแบบความคาดหวังของสังคม


องค์ประกอบของสถาบันทางสังคม

สถาบันทางสังคมแต่ละสถาบัน  มีองค์ประกอบ  3  ประการ คือ
1.  ตำแหน่งทางสังคม
2.  หน้าที่
3.  แบบแผนการปฏิบัติ

ประเภทของสถาบันทางสังคม  แบ่งออกเป็น   7  ประเภท  คือ
1.  สถาบันครอบครัว
2.  สถาบันการศึกษา
3.  สถาบันศาสนา
4.  สถาบันเศรษฐกิจ
5.  สถาบันการเมือง  การปกครอง
6.  สถาบันนันทนาการ
7.  สถาบันสื่อสารมวลชน

หน้าที่และความสำคัญของสถาบันทางสังคม
1.  สถาบันครอบครัว   เป็นสถาบันแห่งแรกของมนุษย์   มีขนาดเล็กที่สุด  แต่มีความสำคัญมากที่สุดเพราะเป็นสถาบันที่วางพื้นฐานความประพฤติของบุคคลด้วยการเลี้ยงดูและอบรมสั่งสอน   เพื่อการเติบโตไปเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม
ครอบครัว  (Family)  เกิดขึ้นจากการอยู่ร่วมกันระหว่างชายและหญิงในฐานะสามีและภรรยา   อาจมีบุตรหรือไม่มีก็ได้    แบ่งชนิดของครอบครัวที่ควรศึกษาที่นี้ไว้  2  ชนิด  คือ
ก.  ครอบครัวเดี่ยวหรือครอบครัวขนาดเล็ก  (Nuclear  Family)   เป็นครอบครัวที่ประกอบด้วย   พ่อ  แม่ และลูก
ข.  ครอบครัวขยายหรือครอบครัวขนาดใหญ่  (Extended  Family)  เป็นครอบครัวที่ประกอบด้วย   พ่อ  แม่  ลูก  และญาติ
โดยสรุปครอบครัวจึงทำหน้าที่  ผลิตสมาชิกใหม่และเลี้ยงดู ให้ความรักความอบอุ่น   กำหนดสถานภาพแก่สมาชิกที่เกิดใหม่ บำบัดความต้องการทางเพศอย่างมีรูปแบบ และทำหน้าที่ทางเศรษฐกิจในฐานะผู้ผลิตและผู้บริโภค
2.  สถาบันการศึกษา  ทำหน้าที่ต่อเนื่องจากสถาบันครอบครัวในการถ่ายทอด   ความรู้  ความคิด  โดยมุ่งหมายให้มีคุณธรรม  วัฒนธรรมและสร้างประโยชน์ต่อสังคมนับได้ว่าเป็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่จะมีบทบาทต่อพัฒนาการทางสังคม   การเมือง   และเศรษฐกิจต่อไป
3.  สถาบันศาสนา  เป็นสถาบันที่ทำหน้าที่สร้างศรัทธาและความเชื่อ   อบรมสั่งสอนให้บุคคลประพฤติดีด้วยคำสอนของศาสนา  ส่งเสริมให้บุคคลสงบทางด้านจิตใจ
4.  สถาบันเศรษฐกิจ  ทำหน้าที่ในการจัดสรรทรัพยากร   เพื่อสนองความต้องการของสมาชิกในสังคมในด้านผลิตบริโภค    และแลกเปลี่ยน   รวมทั้งการประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจในรูปแบบต่าง ๆ
5.  สถาบันการเมืองการปกครอง  ทำหน้าที่รับผิดชอบที่จะทำให้เกิดการอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขตามรูปแบบการปกครองที่แต่ละสังคมใช้
6.  สถาบันนันทนาการ  เป็นสถาบันที่ทำหน้าที่ด้านการพักผ่อนหย่อนใจของมนุษย์  ในลักษณะของการกระทำที่ทำให้สุขกายสบายใจ   สนุกสนาน   เช่น  กีฬา  งานอดิเรก   เป็นต้น
7.  สถาบันสื่อสารมวลชน  เป็นสถาบันที่ทำหน้าที่สื่อสาร   ระหว่างบุคคลและสถาบันต่างๆ   ในสังคมเผยแพร่ข่าวสาร   บางครั้งรวมอยู่กับสถาบันการศึกษา
กล่าวโดยสรุป สถาบันทางสังคมได้รวมเอาระบบบรรทัดฐาน ซึ่งสัมพันธ์กันอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์หรือรูปแบบเดียวกัน

การจัดระเบียบทางสังคม
เป็นกระบวนการที่จะทำให้การกระทำระหว่างกันทางสังคมเป็นไปอย่างเรียบร้อย   โดยการวางรูปแบบพฤติกรรมและกระบวนการความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในสังคม  ประกอบด้วย
1.  บรรทัดฐาน
2.  สถานภาพและบทบาท
3.  ค่านิยมและความเชื่อ
4.  การขัดเกลาทางสังคม


ความสำคัญของการจัดระเบียบทางสังคม

การจัดระเบียบทางสังคมมีความสำคัญและจำเป็นต่อสังคมมนุษย์ ทั้งนี้เนื่องจากมนุษย์มีความแตกต่างกันในด้านความต้องการและพื้นฐานทางจิตใจ  จึงจำเป็นต้องมีการกำหนดความสัมพันธ์เพื่อการปะทะสังสรรค์   กับบุคคลอื่นๆ    ในสังคม    นำความเจริญก้าวหน้า   และสงบสุขมาสู่สังคม
1. สถานภาพ  (Status)  หมายถึง  ตำแหน่งซึ่งได้รับจากการเป็นสมาชิกของกลุ่ม  (สังคม)   นับตั้งแต่มนุษย์กำเนิดในสังคม  สถานภาพบอกถึงสิทธิหน้าที่ และความรับผิดชอบของบุคคลทั้งต่อตนเองและต่อผู้อื่นหรือเป็นตัวกำหนดบทบาท (พฤติกรรม)  ของบุคคลให้เป็นไปตาม  กฎเกณฑ์   หรือเงื่อนไขของสังคม   สถานภาพแบ่งเป็น  2  ชนิด คือ
1.1  สถานภาพที่ติดตัวมา  (Ascribed   Status)  เป็นตำแหน่งที่บุคคลได้มาโดยสังคมเป็นผู้กำหนดและธรรมชาติเป็นตัวกำหนด   ได้แก่  เพศ,  อายุ,  วงศาคณาญาติ,  เชื้อชาติ   และถิ่นกำเนิด
1.2  สถานภาพที่ได้มาภายหลัง หรือ  ได้มาตามความสามารถ   หรือ  สถานภาพสัมฤทธิ์  (Achieved  Staug)   เป็นสถานภาพที่ได้เพิ่มเติม   หรือเปลี่ยนในภายหลัง   เพราะอาศัยความสามารถ  หรือ   การเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขในระบบเครือญาติ    แบ่งออกเป็น
ทางการสมรส   คือ  สถานภาพ  สามี  และภรรยา
ทางบิดามารดา  คือ  เมื่อมีบุตรจะเกิดสถานภาพ  บิดา  และมารดา
ทางการศึกษา    คือ  ตามคุณวุติที่บุคคลศึกษา    เช่น  พ.ม.,  กศ.บ.,   ค.บ. เป็นต้น
ทางอาชีพ         คือ  สถานภาพตามอาชีพ   เช่น  แพทย์  ครู  ทนายความ  พ่อค้า เป็นต้น

2.  บทบาท   (Role)   คือ   พฤติกรรมที่เกิดขึ้นตามสถานภาพที่บุคคลดำรงอยู่   สถานภาพ   และบทบาทจึงเป็นของคู่กัน   เพราะสถานภาพเป็นสิ่งกำหนดบทบาทถ้าบทบาทออกนอกขอบเขตของสถานภาพก็สร้างปัญหาต่อสังคม   สถานภาพและบทบาทจึงส่งผลกระทบต่อความเจริญหรือความเสื่อมของสังคมได้  
ในความเป็นจริงบุคคลมิได้ดำรงตำแหน่งหรือมีสถานภาพในสังคมเพียงสถานภาพเดียว  แต่มาหลายสถานภาพในเวลาเดียวกัน เช่น เป็นทนายความ  เป็นลูกน้อง  เป็นบิดา หรือเป็นมารดา สถานภาพเหล่านี้   บางครั้งอาจขัดแย้งกันเรียกว่า   สถานภาพขัดกัน  เช่น  เป็นแพทย์และเป็นผู้รับทำแท้ง   เมื่อมีการแสดงบทบาทก็ก่อให้เกิดบทบาทขัดกัน  (Rosie Conflict) เช่น รักษาคนไข้  ช่วยเหลือชีวิตมนุษย์ขณะเดียวกันกลับทำแท้งซึ่งเป็นการทำลายชีวิตมนุษย์
  ประโยชน์และความสำคัญของสถานภาพและบทบาท
ทำให้บุคคลรู้ฐานะของตนเอง  รู้หน้าที่  สิทธิและความรับผิดชอบ   แบ่งภาระหน้าที่ระหว่างบุคคลในสังคม   และทำให้สังคมมีระเบียบ

3.  บรรทัดฐานหรือปทัสถาน  (Norms)  เป็นกฎเกณฑ์ ระเบียบ  แบบแผน   หรือแบบความประพฤติที่วางไว้ให้บุคคลในสังคมปฏิบัติ     จึงเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลเหนือความนึกคิดของบุคคลในสังคม  แบ่งออกเป็น  3  ประเภท  คือ
3.1  วิถีประชาหรือวิถีชาวบ้าน   (Folkways)   เป็นบรรทัดฐานที่คนทั่วไปในสังคมปฏิบัติทั้งไปไม่มีการบังคับ   ไม่ใช่เรื่องที่เกี่ยวกับศีลธรรม   หรือกฎหมาย   เป็นการปฏิบัติตามที่ผู้อื่นปฏิบัติจนเกิดเป็นความเคยชิน  หรือความคุ้นเคย   จึงไม่ถือเป็นเรื่องร้ายแรงถ้ามีการละเมิดไม่ปฏิบัติ  การโต้ตอบ   ผู้ฝ่าฝืนก็คือการติฉินนินทา  เช่น  มารยาทในสังคม   แฟชั่น  เป็นต้น
3.2  ศีลธรรมจรรยาหรือจารีต   (Mores)  เป็นบรรทัดฐานที่เกี่ยวข้องกับหลักคุณธรรม   คำสอนของศาสนา    จึงมีลักษณะเป็นทั้งข้อห้าม  (Taboo)  มิให้บุคคลประพฤติ  และเป็นข้อบังคับเพื่อสร้างสวัสดิภาพของสังคมหนึ่งๆ  การฝ่าฝืนถือเป็นเรื่องร้ายแรง    อาจได้รับการตอบโต้ด้วยการเลิกคบหาหรือถูกลงโทษตามกฎหมาย  เช่น  การเนรคุณต่อผู้มีคุณ   การพูดโกหก   การคบชู้    การทำร้ายร่างกายผู้อื่น   เป็นต้น
3.3  กฎหมาย  เป็นบรรทัดฐานสูงสุดของสังคม   แตกต่างจากบรรทัดฐานอื่นตรงที่บัญญัติขึ้น โดยรัฐาธิปัตย์   ใช้ควบคุมคนในสังคม  ครอบคลุมชีวิตสังคมของทุกด้าน  และมีบทลงโทษที่แน่นอนนับได้ว่ากฎหมายเป็นบรรทัดฐานที่จำเป็นสำหรับสังคมขนาดใหญ่   หรือสังคมที่ซับซ้อน เพราะวิถีประชาและกฎศีลธรรมจรรยาไม่สามารถควบคุมให้บุคคลประพฤติในกรอบที่สังคมต้องการได้  เนื่องจากกฎหมายมีรากฐานมาจากวิถีประชาและศีลธรรมจรรยา  ในบางครั้งการกระทำผิดกฎหมายจึงผิดศีลธรรมด้วย  เช่น  การฆ่าผู้อื่น  การคดโกง   เป็นต้น


ความสำคัญของบรรทัดฐาน

บรรทัดฐานเป็นแนวทางกำหนดพฤติกรรมของมนุษย์ที่ยอมรับร่วมกัน  การอยู่ร่วมกันย่อมเป็นไปอย่างถูกต้องเพราะทุกคนยอมรับและเข้าใจไปในทิศทางเดียวกัน

4. ค่านิยมและความเชื่อ
ค่านิยม  หมายถึง   สิ่งที่คนส่วนใหญ่ในสังคมเล็งเห็นว่าดีงาม  ถูกต้องในการปฏิบัติน่ายกย่อง   ซึ่งโดยข้อเท็จจริงอาจเป็นสิ่งดีหรือเลว   ถูกหรือผิดก็ได้    ค่านิยมจึงส่งผลกระทบต่อการจัดระเบียบทางสังคมของสังคมหนึ่งๆ  ในแง่เป็นตัวชักนำความประพฤติของบุคคล  เกณฑ์การประเมินสิ่งของเหตุการณ์บุคคลว่าดี  ชั่ว   ถูก  ผิดอย่างไร   และค่านิยมยังเป็นเสมือนแรงจูงใจของบุคคลในการกระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใด
ค่านิยมเกิดจากความต้องการแบบแผนที่ถูกต้องในการดำเนินชีวิต   ดังนั้นเมื่อกาลเวลาเปลี่ยนไปค่านิยมบางอย่างก็อาจล้าสมัยหรือสมควรถูกยกเลิก   เช่น ค่านิยมของไทยเรื่อง  “ชายเป็นช้างเท้าหน้า  หญิงเป็นช้างเท้าหลัง”   เป็นต้น  ค่านิยมจึงเป็นเสมือนหางเสือของเรือที่ใช้บังคับทิศทางให้เรือแล่นไปสู่จุดหมายปลายทางคือ  วัฒนธรรมของสังคมนั่นเอง
ความเชื่อ    หมายถึง   ความคิดและความยึดมั่นในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง   ซึ่งอาจเป็นจริงหรือเท็จ    ก็ได้  จึงมีผลต่อความประพฤติของบุคคล  เช่น  ความเชื่อเรื่องไสยศาสตร์   ความเชื่อเรื่องผีมีจริง   เป็นต้น
ถ้าสมาชิกในสังคมใดมีความเชื่องมงายปราศจากเหตุผล   ย่อมส่งผลกระทบต่อสังคม


การควบคุมทางสังคม แบ่งเป็น 

1.  การจูงใจให้สมาชิกปฏิบัติตามบรรทัดฐานของสังคม เช่น การยกย่อง การชมเชย หรือการให้รางวัล 
2.  ลงโทษสมาชิกที่ละเมิดหรือฝ่าฝืนบรรทัดฐานทางสังคม เช่น ผิดวิถีชาวบ้าน การลงโทษคือตำหนิ ซุบซิบนินทา หัวเราะเยาะ ผิดกฎศีลธรรม ไม่คบหาสมาคม ผิดกฎหมาย ซึ่งการลงโทษจะมากหรือน้อยแล้วแต่การกระทำผิด

การขัดเกลาทางสังคม  (Socialization) กลไกในการเข้ากลุ่มหรือการเข้าสังคม  เมื่อบุคคลเป็นสมาชิกในสังคมใดย่อมต้องปฏิบัติตนอยู่ในกรอบแห่งบรรทัดฐานของกลุ่มหรือสังคม  กลไกขั้นต้นที่จะทำให้บุคคลเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม  ก็คือ  การอบรมสั่งสอนหรือการขัดเกลาทางสังคม  (Socialization)   เป็นการเรียนรู้   กฎเกณฑ์   และแบบแผนของการดำเนินชีวิตตามที่สังคมต้องการส่งผลให้บุคคลเป็นที่ยอมรับของกลุ่มและสังคม  เกิดบุคลิกภาพเฉพาะตัวขึ้น


วิธีขัดเกลาทางสังคม 

1.  การขัดเกลาโดยตรง เป็นการบอกว่าสิ่งใดถูกสิ่งใดผิด แนะแนวทางในการปฏิบัติตัว เพื่อให้สามารถวางตัวให้ถูกต้อง 
2.  การขัดเกลาโดยอ้อม ให้บุคคลนั้นมีประสบการณ์เองจากการสังเกต เรียนรู้จากการระทำของผู้อื่น 

พื้นฐานของกระบวนการขัดเกลาทางสังคม 
1.  มนุษย์ไม่มีสัญชาตญาณ  มนุษย์จะต่างกับสัตว์โดยไม่สามารถใช้สัญชาตญาณในการช่วยตัวเอง 
2.  มนุษย์ต้องพึ่งพาผู้อื่นในวัยเด็ก ยิ่งมนุษย์ต้องเรียนรู้กฎระเบียบมากเท่าไรก็ต้องพึงพาผู้อื่นนานเท่านั้น เช่น ทารกนั้นต้องได้รับการคุ้มครอง เลี้ยงดู การอบรมจากผู้อื่น 
3.  มนุษย์มีความสามารถในการเรียนรู้มาก ยิ่งโตมากก็จะเรียนรู้มาก จึงทำให้การขัดเกลาได้ผลตามที่สังคมคาดหวัง 
4.  มนุษย์ใช้ภาษาสื่อสารในการขัดเกลา เพื่อถ่ายทอดความคิด ความเข้าใจ ความเชื่อ ความรู้ และแบบความประพฤติในกลุ่มมนุษย์


ความมุ่งหมายของกระบวรการขัดเกลาทางสังคม 

1.  เพื่อปลูกฝังความมีระเบียบวินัย เพื่อให้สมาชิกมีแบบแผนความประพฤติตามที่กลุ่มกำหนด เป็นการสละความพอใจในปัจจุบัน เพื่อผลประโยชน์ในวันข้างหน้า เช่น นักเรียนไม่ชอบการสอบ เพราะไม่ต้องการดูหนังสือ อยากเที่ยวเล่นมากกว่า แต่ถ้าไม่ดูหนังสือก็จะสอบตก เป็นต้น 
2.  ปลูกฝังความมุ่งหวัง จะช่วยให้สมาชิกมีกำลังใจที่จะทำตามระเบียบวินัยต่างๆ 
3.  สอนให้รู้จักแสดงบทบาทของตน อย่างเหมาะสมตามกาลเทศะและโอกาสต่างๆ เช่น นักเรียนต้องใฝ่หาความรู้ แพทย์ต้องรักษาคนไข้ ฯลฯ 
4.  สอนให้เกิดความชำนาญหรือทักษะ ที่จะร่วมใช้กับผู้อื่น จะเรียนรู้ด้วยการลอกเลียนแบบสิ่งที่เห็นเป็นประจำ

ตัวแทนที่ทำหน้าที่อบรมสั่งสอนขัดเกลาทางสังคม 
1.  ครอบครัว มีหน้าที่ให้การอบรมสั่งสอนสมาชิกมากที่สุด เนื่องจากสถาบันนี้เป็นสถาบันแห่งแรกที่เด็กได้รับการอบรมสั่งสอน 
2.  กลุ่มเพื่อน บุคคลจะได้รับการขัดเกลาจากกลุ่มเพื่อนอายุไล่เลี่ยกัน และจะมีการสังเกตและเอาแบบอย่าง 
3.  ครูอาจารย์ มีหน้าที่อบรมสั่งสอนด้านวิชาการอย่างเป็นทางการและมีผลต่อการพัฒนาบุคลิกภาพของเด็กด้วย 
4. กลุ่มเพื่อนร่วมอาชีพ ถ้าจะยึดอาชีพนั้นและต้องการให้เป็นที่ยอมรับ จะต้องเรียนรู้แบบแผนต่างๆของกลุ่มใหม่ 
5. สื่อมวลชน มีอิทธิพลมากต่อกระบวนขัดเกลาสังคม 






Total Rating ✔

9.2 stars – 2,789 reviews

More Reviews

แสดงความคิดเห็น

วิชาสังคมศึกษา มัธยมต้นเรื่องโครงสร้างของสังคม

บทความจาก TutorFerry, เอกสารการเรียนฟรี