สำรวจ
แนะนำ
สอบเข้า
ออนไลน์

ครูสอนพิเศษ คุณภาพอันดับ1

หาครูสอนพิเศษตัวต่อตัว คลิกเลย

หาติวเตอร์บอกให้เราค้นหาให้
คลิก-ปล่อย แล้วลองหาอีกที

» » หลักการคัดเลือกนักบินของสายการบินต่างๆ และการสอบของสายการบิน Lufthansa

20 พฤศจิกายน 2561

หลักการคัดเลือกนักบินของสายการบินต่างๆ และการสอบของสายการบิน Lufthansa

บทบาทของนักบินในปัจจุบันเป็นผู้ควบคุม Technical systems และ บริหาร Human sources ในหลากหลายรูปแบบ เพื่อให้ Flight ดำเนินไปอย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ

หลักการคัดเลือกนักบินของสายการบินต่างๆ และการสอบของสายการบิน Lufthansa

SELECTION OF CIVIL AVIATION PILOTS

บทบาทของนักบินในปัจจุบันเป็นผู้ควบคุม Technical systems และ บริหาร Human sources ในหลากหลายรูปแบบ เพื่อให้ Flight ดำเนินไปอย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ


การบินในยุคต้นๆ หน้าที่หลักของนักบิน คือ Manual control ACFT และประสานงานกับผู้ที่เกี่ยวข้อง แต่ปัจจุบันนักบินทำหน้าที่ Monitor และ cross-check สภาพการบินต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไปตามเวลา และ ACFT system ที่มีผลมาจากสภาพแวดล้อม นักบินจะใช้ข้อมูลเหล่านี้มาเป็นพื้นฐานในการตัดสินใจ ภายใต้เวลาที่กำหนด ทั้งนี้นักบินจะต้องปรึกษาลูกเรือที่เกี่ยวข้อง ก่อนดำเนินการแก้ไข ความปลอดภัยจึงขึ้นอยู่กับ

a. The crew - ACFT interface 
b. The crew - crew interface

ในสมัยก่อนเราเลือกนักบินจากผู้ที่เปิดเผยรับรู้ มีเหตุผล (ใจกว้าง) และ มีความรู้เรื่องเครื่องยนต์กลไก งานก็ยังดำเนินไปด้วยความเรียบร้อยตราบใดที่การตอบสนองระหว่าง crew เป็นไปด้วยดี แต่ถ้า crew ไม่ให้ความร่วมมือ งานใน flight ก็จะเสีย และในที่สุดความปลอดภัยใน flight นั้น ก็จะลดลง

ดังนั้นการเลือกนักบินในปัจจุบันจะคำนึงถึงคุณสมบัติเหล่านี้

a) ความรับรู้และมีเหตุผล
b) รู้เรื่องเครื่องยนต์กลไก
c) ความสามารถในการบริหารจัดการ
d) สังคมให้การตอบสนองในทางที่ดี


มาตรฐานการเลือก AB-INITIO PILOT ในปัจจุบันพิจารณาจากความถนัดในเรื่องต่อไปนี้



  • เข้าใจหลักการทาง Mechanical, technical และ physical เห็นภาพ หรือ วาดภาพแล้วประเมินผลได้
  • มีความสามารถในทางคำนวณ มีระเบียบแบบแผนในการคิดหาคำตอบทางตัวเลขโดยประมาณอย่างมีเหตุผล (Logical reasoning)
  • Short-term memory ดี สามารถจับใจความสำคัญ และ เอาออกมาใช้ได้
  • มีความรวดเร็วในการมองเห็นข้อแตกต่างอย่างลึกซึ้ง
  • มีสมาธิในการทำงานโดยไม่วอกแวกกับสิ่งเร้าอื่นๆ ทั้งภายนอกและทางจิตใจ เมื่อมีงานอื่นมาประกอบหลายอย่าง ก็สามารถแบ่งสมาธิไปทำงานนั้นพร้อมๆกับทำงานหลัก กลับไปกลับมาได้
  • มีมุมมองที่กว้างไกล มองเห็นความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆในหลายมุมมองได้ ทราบว่าผู้เกี่ยวข้องที่มีฐานะต่างกัน มีมุมมอง และ ความสัมพันธ์ต่อเหตุการณ์นั้นๆอย่างไร และ มุมมองเหล่านี้เปลี่ยนแปลงเมื่อฐานะและความสัมพันธ์ของผู้เกี่ยวข้องเปลี่ยนไป
  • ตกลงตัดสินใจ และ แก้ไขทันต่อเหตุการณ์อย่างมีเหตุผล
  • Eye-hand-feet co-ordination : ควบคุมมือเท้าได้ดี ตามข้อมูลที่ได้จากการเห็น การฟังที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
  • ทำงานหลายอย่างที่มีกิจกรรม และ ขบวนการต่างกันอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมๆกัน ทั้งสามารถเลือกจัดลำดับความสำคัญของงานนั้นๆได้


การสอบภาษาอังกฤษขึ้นอยู่กับภาษาประจำวันของผู้สมัคร อุปกรณ์ใช้ทดสอบ Multiple-task capacity และ eye-hand-feet coordination ( Psychomotor ) มีประสิทธิภาพมากเมื่อนำไปทดสอบร่วมกับ Flexible possibilities ในสถานะการณ์ที่กำหนดให้ พร้อมๆกับ Multiple task test จะสามารถพยากรณ์ pilot performance ได้

จาก accident / incident investigation พบว่า การขัดแย้งใน cockpit นำไปสู่การตัดสินใจที่ขาดเหตุผลและไม่ถูกต้องตามกฎ ขณะ training ก็ทำตามกฎระเบียบ ปฏิบัติ แต่พอปล่อยออกไปแล้ว ตอน line operation กลับทำอีกอย่างตามใจตัวเอง Pilot skill ที่ train ขึ้นมานั้น สำคัญกว่า personality characteristics มาก การใช้ Home made procedure ในการบินเป็นอันตรายที่สุด โดยเฉพาะในช่วง

" honeymoon effect " เพราะจะมีการแหกกฎมากในช่วงนั้น เนื่องจากมีความเกรงใจสูง ( Capt. และ Co-pilot ใหม่บินด้วยกัน )
case ที่แก้ไขยากที่สุดคือ pilots ไม่ปฏิบัติตาม Company procedures. " They are always conflict with others. "

ในขณะที่ " Deficts in pure pilot skills can often be compensated by additional

training. " นิสัยถาวรนั้นแก้ยาก ทางป้องกันที่ดี คือ ต้องคัดบุคคลเหล่านี้ออก โดยใช้นักจิตวิทยาเป็นผู้วินิจฉัย





กรรมวิธีในการวินิจฉัยจะประกอบไปด้วย

a. Past behavior โดยศึกษาจากประวัติของบุคคลนั้น 
b. Questionaires เพื่อหามุมมองของบุคคลนั้น 
c. Behavior observation ดูปฏิกริยาโต้ตอบ เมื่อมีความขัดแย้ง 
d. การสัมภาษณ์ เพื่อนำมาเปรียบเทียบกับข้อมูลอื่นๆ 

การสอบ Aptitude test ไม่เหมาะที่จะใช้จิตแพทย์ เพราะผลจะออกมาชัดเจน
และ รุนแรง เรียกว่าเพี้ยนนิด เพี้ยนหน่อย จิตแพทย์ก็จะเอาตกหมด แต่ถ้าใครผ่านได้ก็เจ๋ง


มาตรการที่นักจิตวิทยาใช้พิจารณาลักษณะท่าทาง และ อุปนิสัยของผู้สมัครประกอบไปด้วย


N - Neuroticism มีความรู้สึกอ่อนไหว ขี้สงสาร ใจอ่อน
E - Extraversion เป็นคนเปิดเผย มีความเป็นมิตร
O - Openness to experience ไม่หวงวิชา
C - Conscientiousness ซื่อสัตย์ต่อหน้าที่
A - Agreeableness ตกลงกันได้ง่าย ไม่ยักท่า ไม่ยึกยัก


หลักการคัดเลือกนักบินของสายการบินต่างๆ และการสอบของสายการบิน Lufthansa


โดยทั่วๆไป successful pilot จะมีลักษณะ

a) ความเชื่อมั่นในตัวเองสูง
b) อารมณ์คงที่หนักแน่น
c) เป็นคนเปิดเผย และ มีความเป็นมิตร

ผู้ที่เอาการเอางานจะมีลักษณะ มีความมุ่งมั่นที่จะทำงานให้สำเร็จ มีความ
ทะเยอทะยาน สู้งานหนัก และ ต้องการเอาชนะอุปสรรค มีหลักการในทางความคิด และสามารถดัดแปลงมาสร้างให้เป็นระบบ organise หน่วยงานได้และเมื่อมีปัญหา ต้องแก้ไขได้ พร้อมที่จะรับมือกับสถานะการณ์ที่เปลี่ยนแปลง สุขภาพดี มีชีวิตชีวา สนใจในกีฬา และ มีความสนุกที่จะได้ร่วมประลองฝีมือ
ผู้ที่ทำงานเป็น team ได้ดีจะมีลักษณะ เป็นคนเปิดเผย พูดจารู้เรื่อง เข้าใจ
ง่าย เป็นคนเรียบง่าย ( simple ) ธรรมดา และ ชอบที่จะมีเพื่อน มีความเอื้ออาทร ให้ความร่วมมือ ช่วยเหลือผู้อื่น และจะเสียใจมากถ้าผู้ที่มาขอร้องตนต้องผิดหวัง
( ขอดีๆสิบทีก็ให้ ) แต่ในยามมีปัญหาก็กล้าตัดสินใจ พร้อมที่จะรับผิดชอบนำหน่วยงานเข้าแก้ไข ความคงที่ทางอารมณ์ ต้องไม่ก้าวร้าว ขี้บ่น หงุดหงิดง่าย วิตกจริต หรือ distrustful การเข้าสังคม มีความโอนอ่อนผ่อนตาม ปรับตัวเองเข้ากับกฎระเบียบของสังคมได้ดี

การคัดเลือกนักบินแบบนี้เกณฑ์ผ่านหรือไม่ผ่าน ใช้การตัดสินจากประสบการณ์ที่ได้มาจาก Flight training โดยตรง การวิเคราะห์จะนำผล ความรู้ทางวิชาการ และ Aptitude test มาเปรียบเทียบกับผลการฝึก ปรากฎผลออกมาว่า จะมีนักบิน 2 กลุ่ม คือ Standard career progress และ Marginal progress ทั้งสองกลุ่มนี้มีลักษณะต่างกันที่เห็นได้ชัดบางประการ

a. Standard group คะแนนของ group นี้ที่ได้จากการทดสอบในภาคต่างๆ จะอยู่ใกล้เคียงกัน ( average scores ) ในขณะที่ marginal group คะแนนจะไปสุดโต่งบ่อยกว่า ( ชอบใจก็เรียน ไม่ชอบใจก็ไม่เรียนอะไรประมานนั้น ) 
b. Marginal group อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่ายกว่า ความมีชีวิตชีวาน้อยกว่า ก้าวร้าวกว่า แก้ตัวเก่ง โทษโน่น โทษนี่ บางโอกาสใช้อารมณ์มากกว่าเหตุผล 

ลักษณะเฉพาะตัวนั้นมีผลทั้ง positive และ negative ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ situation
demand บางครั้งอาจต้อง "Higher aggressive " ก็เพียงเพื่อให้งานสำเร็จ ผู้ที่มี " well-balanced personality " จะสามารถเลือกใช้ลักษณะเฉพาะตัวให้เหมาะกับสถานะการณ์ ได้โดยไม่ต้องมีอิทธิพลใดมาครอบงำ ( พี่ไม่ต้อง น้องทำเอง )

Questionaire นั้นมีจุดอ่อน ใคร smart ก็ตอบได้สบายๆ สร้างความประทับใจให้กรรมการ ดังนั้นการสัมภาษณ์ และ เฝ้าสังเกตุอุปนิสัยจึงต้องทำด้วยความปราณีต ปัจจุบันได้มี techniques ที่จะใช้วินิจฉัย "Actual behaviour" ของผู้สมัครแล้ว โดยดูการทำงานในขณะเข้าสถานการณ์ ทั้ง individual และเป็น group ผู้สมัครจะถูกใช้ให้ทำงานต่างๆชนิดกัน โดยทำหน้าที่ในบทบาทต่างๆ ( เป็นนายบ้าง เป็นลูกน้องบ้าง เป็นเพื่อนร่วมงานบ้าง ) และดูพฤติกรรมในขณะทำหน้าที่ต่างๆเหล่านั้น แล้วนำมาประเมินผล การทำงานเป็น group ( กลุ่มละ 3/6 คน ) แล้วให้ทำงานที่ต้องขัดแย้งกัน พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ คือ เมื่อขัดแย้งกันก็ไม่

ควรท้อแท้ ถอดใจไม่สู้ หรือข่มขู่ ก้าวร้าว ผู้ที่มีความเห็นแตกต่างจากตัวเอง ( เอางี้ก็แล้วกัน ) จุดประสงค์ ก็คือ ต้องรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น เมื่อถูกพาดพิง หรือ กล่าวหาก็ชี้แจงเหตุผลให้หายสงสัย โน้มน้าว หาเหตุผลสนับสนุนชักจูงให้ผู้อื่นคล้อยตาม มีทักษะในการเจรจาต่อรอง มีความสามารถในการประณีประนอมตามสภาพเหตุการณ์

จากนั้นก็ให้ทำงานเป็นหมู่เดียวกัน ประชุมร่วมกัน หารือแก้เหตุการณ์ที่สมมุติขึ้นภายใต้เวลาที่กำหนด การตัดสินใจจะทำได้ยาก เพราะเป็น incomplete information และ สภาวะแวดล้อมเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ทั้งนี้เพื่อทดสอบการทำงานภายใต้ความกดดัน ความเครียด ความไม่แน่นอน เพื่อดูความอดทนในการรับความเสี่ยง และ ความสามารถในการวิเคราะห์สถานะการณ์ และ ปรับตัวตามสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

ใน individual exercise ผู้สมัครจะถูกทดสอบให้แก้ปัญหา flight preparation และ in flight problem ซึ่งผู้สมัครจะต้องแสดงถึง skill for planning, organising, decision making and task delegation อาจมีการทดลองให้ทำ public relation ประกาศให้ผู้โดยสารทราบ เรื่อง flight delay หรือ flight มีปัญหาทางด้าน service การประกาศนั้นจะต้องทำให้สมเหตุสมผล มีความเข้าใจ และ เอื้ออาทรต่อความต้องการของผู้โดยสาร ประกาศแล้วให้ผลสะท้อนกลับมาในทาง positive จากนั้นผู้สมัครจะถูกพาเข้าสู่ social conflict situation เพื่อทดสอบ ความอดทนต่อสภาพขัดแย้ง โดยสามารถทำงานในสภาพขัดแย้งได้อย่างมั่นใจ และ มีความอ่อนตัวที่จะรับข้อมูลใหม่ แล้วนำมาปรับแนวคิดของตนเอง การตัดสินว่าผ่านหรือไม่ จะต้องใช้ผู้ตัดสินอย่างน้อย 2 คน จึงจะได้ข้อมูลเพียงพอในการประเมินผล การตัดสินในหัวข้อต่างๆจะใช้วิธีให้ค่าเป็น yes หรือ no เด็ดขาดไปเลย


ปัจจุบัน Lufthansa แบ่งการสอบเป็น 4 วัน

Day 1 - Paper-pencil test ( Questionnaire )
Day 2 - Apparatus test ( eye-hand-feet coordinate, aptitude )
Day 3 - Assessment center ( ประเมินสถานการณ์, social conflict management, ความมั่นคงทางอารมณ์ )
Day 4 - Interview ( ตรวจสอบขั้นสุดท้ายว่ามีความรู้ ความสามารถ เป็นไปตามที่ได้รับจาก Day 1, 2, 3 จริงหรือไม่ )

ได้พบข้อเปรียบเทียบภายหลังว่าคะแนนการสอบเข้า และ rating จาก line-training สอดคล้องกัน ผู้ที่มี social skill ก็จะมี good coordination เป็นต้น

ในขณะนี้ assessment centre techniques เป็นวิธีที่ดีที่สุด สำหรับ pilot selection การแข่งขันทางสังคมสูงมาก ทำให้หาคนใจกว้างได้ยาก จึงต้องหาวิธีพยากรณ์ความประพฤติ " A powerful instrument for the selection of the most suitable candidates for teamwork and cooperation tasks in airliner cockpit. " และวิธีนี้ยุติธรรมที่สุด เพราะว่า "Applicants have a chance to prove themselves" หลักการเหล่านี้มีความสมเหตุสมผล หากจัดการให้สมบูรณ์แบบ จะช่วยลด cost และเวลาได้

Total Rating ✔

9.2 stars – 2,789 reviews

More Reviews

แสดงความคิดเห็น

หลักการคัดเลือกนักบินของสายการบินต่างๆ และการสอบของสายการบิน Lufthansa

สอบทุนนักบิน, News, Student Pilot