สำรวจ
รีวิว
สอบเข้า
ออนไลน์

ครูสอนพิเศษ คุณภาพอันดับ1

หาครูสอนพิเศษตัวต่อตัว คลิกเลย

ค้นหาด้วยเสียง
ค้นหาด้วยเสียงคลิกที่นี่

» » สรุปสังคมศึกษา เรื่องหน่วยธุรกิจ สถาบันการเงิน และหลักการลงทุน

03 มกราคม 2560

สรุปสังคมศึกษา เรื่องหน่วยธุรกิจ สถาบันการเงิน และหลักการลงทุน

วิชาสังคมศึกษา มัธยม เรื่องหน่วยธุรกิจ สถาบันการเงิน และหลักการลงทุน Tutor Ferry สอนพิเศษที่บ้าน

วิชาสังคมศึกษา มัธยม

เรื่องหน่วยธุรกิจ สถาบันการเงิน และหลักการลงทุน

เรียนสังคมศึกษาที่ขอนแก่น นครราชสีมา อุดรธานี มหาสารคาม




หน่วยธุรกิจ

1.  กิจการที่มีเจ้าของคนเดียวและห้างหุ้นส่วน
1.1  กิจการที่มีเจ้าของคนเดียว มีลักษณะสำคัญคือ การตัดสินใจขึ้นที่บุคคลคนเดียวการบริหารอิสระและคล่องตัว ผลกำไรเป็นของคนๆ เดียว

1.2  ห้างหุ้นส่วน คือ กิจการที่ประกอบด้วยหุ้นส่วนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป แบ่งได้ 2 ประเภท คือ
  • ห้างหุ้นส่วนจำกัด มีหุ้นส่วน 2 ประเภท คือ ประเภทที่รับผิดชอบหนี้สินจำกัดและประเภทที่รับผิดชอบหนี้สินไม่จำกัด โดยที่หุ้นส่วนที่รับผิดชอบหนี้สินไม่จำกัดมีอำนาจตัดสินใจมากกว่าหุ้นส่วนที่รับผิดชอบหนี้สินจำกัด
  • ห้างหุ้นส่วนสามัญ หุ้นส่วนทุกคนรับผิดชอบหนี้สินไม่จำกัด

1.3  ข้อเสียของกิจการที่มีเจ้าของคนเดียวและห้างหุ้นส่วน
  • ต้องรับผิดชอบหนี้สินอย่างไม่จำกัดจำนวน
  • การดำเนินงานอาจไม่ต่อเนื่อง
  • การขยายเงินทุนทำได้ยาก


2.  บริษัทจำกัด

2.1  บริษัทจำกัด เป็นหน่วยธุรกิจที่มีบุคคลตั้งแต่ 7 คนขึ้นไปถือหุ้น โดยมีความรับผิดชอบจำกัดตามจำนวนหุ้นที่ตนถือ
2.2  หุ้นของบริษัทจำกัดแบ่งออกเป็น
  • หุ้นบุริมสิทธิ์ เป็นหุ้นที่ผู้ถือหุ้นได้รับเงินปันผลในอัตราที่กำหนดไว้แน่นอน และรับก่อนผู้ถือหุ้นสามัญ แต่ไม่มีสิทธิ์ออกเสียงในการดำเนินงานของบริษัท
  • หุ้นสามัญ เป็นหุ้นที่ไม่ได้กำหนดเงินปันผลในอัตราที่แน่นอน
  • หุ้นกู้ เป็นเงินทุนกู้ยืม จึงเข้าลักษณะของเจ้าหนี้
2.3  ประเภทของบริษัท บริษัทเอกชน และ บริษัทมหาชน
  • สำหรับบริษัทมหาชน การแลกเปลี่ยนหุ้นทำได้โดยผ่านตลาดหลักทรัพย์
  • ปัจจุบันกฎหมายบังคับให้ธนาคารต้องเป็นบริษัทมหาชน
2.4  ข้อดีของบริษัทจำกัด
  • ผู้ถือหุ้นรับผิดชอบหนี้สินจำกัดตามจำนวนหุ้นที่ตนถือ
  • หุ้นบริษัทเปลี่ยนมือได้ การดำเนินงานจึงมีโอกาสต่อเนื่องได้นาน
  • การหาเงินทุนทำได้มาก ทั้งจากการกู้ ออกหุ้นสามัญ หุ้นกู้ ฯลฯ


3.  บรรษัท

  • บรรษัทคล้ายบริษัท แต่จัดตั้งขึ้นโดยกฎหมายพิเศษ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนา
  • ผู้ถือหุ้นของบรรษัทส่วนใหญ่เป็นภาคเอกชน แต่ก็มีกระทรวงการคลังถือหุ้นรวมอยู่ด้วย จึงค่อนข้างมีความมั่นคง
  • ตัวอย่าง บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

4.  สหกรณ์

4.1  สหกรณ์ เป็นหน่วยธุรกิจที่ตั้งโดยบุคคลตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป มีการจดทะเบียนตามกฎหมาย โดย
  • มีวัตถุประสงค์ คือ ช่วยเหลือสมาชิก (ผู้ถือหุ้น)
  • มีนโยบายการลงคะแนนเสียง คือ สมาชิกมีสิทธิออกเสียงคนละ 1 เสียงเท่ากัน (ไม่ว่าจะถือหุ้นจำนวนเท่าใด) และจะลงคะแนนเสียงแทนกันไม่ได้
  • แบ่งผลกำไร (เงินปันผล) ตามมูลค่าสินค้าที่สมาชิกซื้อจากสหกรณ์ในรอบ 1 ปี
4.2  ข้อเสีย การดำเนินงานไม่ค่อยมีประสิทธิภาพ เพราะผู้บริหารได้รับผลตอบแทนต่ำ และไม่มีแรงจูงใจจะแข่งขันกับธุรกิจประเภทอื่น
4.3  สหกรณ์แห่งแรกของไทย คือ สหกรณ์วัดจันทร์ไม่จำกัดสินใช้ จังหวัดพิษณุโลก จัดเป็นสหกรณ์การเกษตร จัดตั้งสมัยรัชกาลที่ 6
4.4  ปัจจุบันประเทศไทยมีสหกรณ์การเกษตรมากที่สุด


5.  รัฐวิสาหกิจ

5.1  รัฐวิสาหกิจ คือ กิจการที่รัฐเป็นเจ้าของ หรือถือหุ้นเกิน 50% ของหุ้นส่วนทั้งหมด
5.2  รัฐวิสาหกิจมักเป็นกิจการที่ต้องลงทุนสูง ให้ผลตอบแทนช้า ทำให้เอกชนไม่อยากลงทุน หรือเอกชนอยากลงทุนแต่จะตั้งราคาสินค้า - บริการนั้นสูงเกินไป
5.3  กิจการรัฐวิสาหกิจมักขาดประสิทธิภาพ เพราะระบบการบริหารเป็นแบบราชการที่มีขั้นตอนการดำเนินงานซ้ำซ้อน การตัดสินใจล่าช้า กำไรของกิจการจึงมาจากการผูกขาดมากกว่ามาจากประสิทธิภาพการดำเนินงาน

กิจการเจ้าของคนเดียว ห้างหุ้นส่วน บริษัท มีจุดมุ่งหมายคือแสวงหากำไรเป็นสำคัญ ซึ่งต่างจากจุดมุ่งหมายของสหกรณ์และรัฐวิสาหกิจ


สถาบันการเงิน

 1.  ธนาคารกลาง

 1.1  ธนาคารกลางของประเทศไทย คือ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มีสำนักงานสาขา
 1.2  หน้าที่สำคัญ
  ** รักษาเสถียรภาพทางการเงินและเศรษฐกิจของประเทศ **
 1.  ด้านการเงิน
      -  ออกธนบัตร
      -  ควบคุมประมาณเงินที่หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ โดยกำหนดนโยบายการเงิน
 2.  ด้านเป็นตัวกลาง
      -  เป็นนายธนาคารของรัฐบาล
      -  เป็นนายธนาคารของธนาคารพาณิชย์
      -  ควบคุมสถาบันการเงิน เช่น ธนาคาร บริษัทเงินทุน - หลักทรัพย์
 3.  ด้านระดับประเทศ
      -  ดูแลการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
      -  รักษาทุนสำรองระหว่างประเทศ
      -  ส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจ


 2.  ธนาคารพาณิชย์

 2.1  ธนาคารพาณิชย์มี 2 ระบบ คือ ระบบธนาคารอิสระ และระบบธนาคารสาขา
 2.2  หน้าที่สำคัญ
  1.  รับฝากเงิน และให้กู้ยืม การฝากเงินอาจฝากแบบกระแสรายวัน ออมทรัพย์ และฝากประจำ
  2.  โอนเงิน
  3.  เรียกเก็บเงินแทนลูกค้า
  4.  ให้เช่าตู้นิรภัย
  5.  ให้บริการสนับสนุนธุรกิจ เช่น ออก L.C.(Letter of Credit) และ Bank Garantee
  6.  บริการพิเศษ เช่น ชำระค่าทะเบียนพาหนะ ชำระค่าไฟฟ้า - ค่าน้ำประปา - โทรศัพท์


 3.  ธนาคารที่มีวัตถุประสงค์พิเศษ

  3.1  ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
  -  จัดตั้งขึ้นเพื่อระดมเงินมาให้เกษตรกรและสหกรณ์การเกษตรกู้ด้วยอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำ
  3.2  ธนาคารออมสิน
  -  จัดตั้งขึ้นเพื่อระดมเงินออมจากประชาชนมาให้รัฐบาลกู้เพื่อพัฒนาประเทศ (โดยลงทุนซื้อพันธบัตรรัฐบาล)
  3.3  ธนาคารอาคารสงเคราะห์
  -  จัดตั้งเพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีอาคารและที่ดินเป็นที่อยู่อาศัยของตัวเอง


 4.  สถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร

      สถาบันการเงินประเภทนี้จะต่างจากธนาคารที่ วิธีการระดมเงินทุนหรือวิธีการให้กู้ยืมและเงื่อนไขของกฎหมาย
 4.1  บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (IFCT)
  -  ระดมเงินทุนมาให้กู้ยืมในสาขาอุตสาหกรรม
  -  เป็นสถาบันฯ ของเอกชน มีสำนักงานสาขา
 4.2  สำนักงานธนกิจอุตสาหกรรมขนาดย่อม (บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม[SIFCT)
  -  จัดตั้งเพื่อให้เงินกู้แก่อุตสาหกรรมขนาดย่อม (กู้รายละไม่เกิน 1 ล้านบาท)
  -  สังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม ไม่มีสำนักงานสาขา
 4.3  บริษัทเงินทุน
  -  รับฝากเงินโดยออกตั๋วสัญญาใช้เงิน ไม่รับฝากเงินโดยเปิดบัญชีกระแสรายวัน
4.4  บริษัทหลักทรัพย์
  -  เป็นนายหน้าที่ซื้อขายหรือแลกเปลี่ยนหลักทรัพย์ เช่น หุ้น พันธบัตร และให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการลงทุน
 4.5  บริษัทเครดิตฟองซิเอร์
  -  รับฝากเงินโดยออกตั๋วสัญญาใช้เงิน
  -  ให้กู้ยืมเพื่อซื้ออสังหาริมทรัพย์ โดยขายบ้านและที่ดินด้วยวิธีการเช่าซื้อ
 4.6  บริษัทประกันภัย
  -  ทำหน้าที่โอนความเสี่ยงเฉลี่ยกระจายไปให้คนจำนวนมาก (และเป็นการออมไปในตัว ในกรณีของการประกันชีวิตแบบออมทรัพย์)
  -  อยู่ในความควบคุมของกระทรวงพาณิชย์
 4.7  สหกรณ์การเกษตร
  -  จัดสรรเงินกู้อัตราดอกเบี้ยต่ำให้แก่สมาชิก (เงินกู้ส่วนใหญ่ได้มาจาก ธ.ก.ส.)
  -  อยู่ในความควบคุมของกระทรวงเกษตรฯ
 4.8  สหกรณ์ออมทรัพย์
  -  แต่ละเดือน สมาชิกจะถูกหักรายได้ส่วนหนึ่งจากเงินเดือนมาเก็บสะสมไว้ที่สหกรณ์
  -  ทางสหกรณ์จะนำเงินทั้งหมดมาจัดสรรเงินกู้อัตราดอกเบี้ยต่ำให้สมาชิกกู้
  -  อยู่ในความควบคุมของกระทรวงเกษตรฯ
 4.9  โรงรับจำนำ
  -  มีทั้งที่เป็นของเอกชน กรมประชาสงเคราะห์ (สถานธนานุเคราะห์) และของเทศบาล (สถานธนานุบาล)
  -  อยู่ในความควบคุมของกระทรวงมหาดไทย ไม่มีสำนักงานสาขา 

ในสถาบันการเงิน จะมี "ภาวะเงินตึงตัว" คือ ภาวะที่ปริมาณเงินที่มีอยู่ไม่เพียงพอแก่การกู้ยืม เป็นภาวะสั้นๆ ที่เกิดเป็นครั้งคราว


หลักการลงทุน

 1.  ประเภทของการลงทุน

  1.1  การลงทุนที่แท้จริง : คือการลงทุนในสินค้าทุนหรือที่ดิน ทองคำ โบราณวัตถุ
  1.2  การลงทุนทางการเงิน : คือการลงทุนทางตรงโดยผ่านสถาบันการเงิน (การฝากเงิน การซื้อขายหุ้น) และการลงทุนทางอ้อมโดยประกันชีวิต

 2.  ข้อคำนึงในการลงทุน

  2.1  ควรมีความปลอดภัยและความเสี่ยงน้อย นอกจากนี้ควรกระจายการลงทุนไว้หลายๆแห่ง
  2.2  มีผลตอบแทนจากการลงทุนพอสมควร
  2.3  ควรมีสภาพคล่องสูง คือ สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ง่ายเมื่อต้องการจะใช้เงิน เช่น เงินฝากประเภทเผื่อเรียกโดยปกติมีสภาพคล่องสูงกว่าที่ดิน

 3.  แหล่งการลงทุนทางการเงิน

  แหล่งลงทุนทางการเงิน คือ แหล่งลงทุนให้เงินเกิดดอกผล เช่น
      1.  ฝากเงินที่ ธนาคารพาณิชย์, บริษัทเงินทุน, บริษัทเครดิตฟองซิเอร์
      2.  ทำประกันชีวิต
      3.  ซื้อพันธบัตรรัฐบาล - ความเสี่ยงต่ำ เพราะมีรัฐบาลค้ำประกัน
      4.  ซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย - โดยจะได้ผลตอบแทน 2 อย่าง คือ เงินปันผล และกำไรจากการที่หุ้นขึ้นราคา




powered by Surfing Waves


Total Rating ✔

9.2 stars – 2,789 reviews

More Reviews

แสดงความคิดเห็น

สรุปสังคมศึกษา เรื่องหน่วยธุรกิจ สถาบันการเงิน และหลักการลงทุน

สรุปสังคมศึกษา ม.ต้น, doc