สำรวจ
รีวิว
สอบเข้า
ออนไลน์

ครูสอนพิเศษ คุณภาพอันดับ1

หาครูสอนพิเศษตัวต่อตัว คลิกเลย

ค้นหาด้วยเสียง
ค้นหาด้วยเสียงคลิกที่นี่

» » วิธีการทำแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) ยื่นเข้ามหาวิทยาลัย พร้อมตัวอย่างแฟ้มผลงานเก๋ๆ

25 เมษายน 2560

วิธีการทำแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) ยื่นเข้ามหาวิทยาลัย พร้อมตัวอย่างแฟ้มผลงานเก๋ๆ

การนำเสนอผลงาน Portfolio รูปแบบที่น่าสนใจ ไม่ใช่เป็นเอกสารหลายๆ แผ่นไปยื่น แต่ควรเป็นแฟ้มที่สน้างสรรค์สวยงาม น้องๆที่กำลังจะเข้ามหาวิทยาลัย หรือจริงๆแล้วน้องๆตั้งแต่ ม.4 หรือน้องมัธยมต้นควรเตรียมตัวเก็บผลงานและสร้างผลงานดีๆเตรียมเอาไว้ได้เลย พราะเป็นโอกาสของน้องๆที่เตรียมตัวก่อน จะมีโอกาสมากกว่า

เรียนคอมพิวเตอร์ กราฟฟิกดีไซน์ตัวต่อตัวที่บ้าน





ทำแฟ้มผลงาน Portfolio อย่างไร ?

ให้ถูกใจมหาวิทยาลัย

การนำเสนอผลงาน Portfolio รูปแบบที่น่าสนใจ ไม่ใช่เป็นเอกสารหลายๆ แผ่นไปยื่น แต่ควรเป็นแฟ้มที่สร้างสรรค์สวยงามน่าสนใจ น้องๆที่กำลังจะเข้ามหาวิทยาลัย หรือจริงๆแล้วน้องๆตั้งแต่ ม.4 หรือน้องมัธยมต้น หรือให้ดีกว่านั้นเริ่มกันตั้งแต่อยู่ระดับประถมเลยก็ได้นะครับ

น้องๆควรเตรียมตัวเก็บผลงานและสร้างผลงานดีๆเตรียมเอาไว้ได้เลย พราะเป็นโอกาสของน้องๆที่เตรียมตัวก่อน จะมีโอกาสมากกว่า

ทักษะที่ควรมี

ทักษะที่น้องๆควรมีในการจัดทำแฟ้มสะสมผลงาน เพราะนอกจากข้อมูลและผลงานที่น้องๆสะสมไว้แล้วนั้น การนำเสนอในรูปแบบของแฟ้มสิ่งที่จำเป็นยังเป็นเรื่องของรูปแบบการจัดทำแฟ้มให้ดูน่าสนใจด้วย 
ดังนั้นทักษะที่น้องๆต้องมีคือทักษะทางด้านคอมพิวเตอร์ เช่นการใช้ Words Excel Powerpoint รวมถึงการทำกราฟฟิกดีไซน์ด้วย Photoshop และโปรแกรมอื่น ซึ่งทักษะเหล่านี้จะทำให้น้องๆสามารถทำแฟ้มสะสมผลงานได้น่าสนใจ

สิ่งที่ต้องเตรียมก่อนทำแฟ้มสะสมผลงาน

  1. รวบรวมและคัดรูปถ่ายที่เราทำกิจกรรมต่างๆ ภายในโรงเรียน ภายนอกโรงเรียน และสาธารณประโยชน์ รวมทั้งกิจกรรมที่มีเกี่ยวข้องกับสาขาวิชา
  2. รวบรวมเกียรติบัตรที่ได้รับตลอดชั้นมัธยมศึกษามา
  3. รวบรวมชิ้นงาน ผลงานที่เคยทำทั้งงานอดิเรก หรืองานศิลปะ หรืองานที่เราทำและได้ออกเผยแพร่ หรือสามารถสร้างรายได้ให้เราได้ (หากเป็นไฟล์วีดีโออย่าลืมอัปโหลดขึ้น Youtube และ Capture ฉากที่หน้าสนใจไว้)
  4. รูปภาพตัวเองทั้งชุดนักเรียน หรือชุดอื่นๆ ที่อยู่ในท่าทางและสถานที่ที่สุภาพ (ขนาดไฟล์รูปใหญ่ ถ่ายจากกล้อง DSLR ยิ่งดี หากเป็นไฟล์จากกล้องมือถือต้องเช็คว่าขยายเต็มแผ่น A4 แล้วภาพไม่แตกด้วยนะ)

ในแฟ้มผลงาน 1 แฟ้มประกอบไปด้วยอะไรบ้าง

  1.หน้าปก 
          ควรออกแบบให้สะดุดตาไปเลย แบบเห็นปุ๊บแล้วอยากหยิบขึ้นมาอ่านปั๊บ ถ้าหน้าตาดีก็ใส่รูปตัวเองลงไปได้ นำเสนอตัวเองให้เต็มที่..แต่ที่สำคัญต้องเข้าใจง่ายและมีเนื้อหาครบถ้วน คือ เป็นของใคร ชั้นอะไร เรียนที่ไหน เมื่อไร อย่างไร เหตุใด ฯลฯ [แต่ต้องเน้นส่วนที่เป็นตัวของเราที่สุด ทำออกมาให้เป็นตัวของตัวเอง]..ส่วนนี้ถือเป็นหน้าตาด่านแรกของน้องๆ เลยนะครับ..หากใครที่ไม่ค่อยมีไอเดียบรรเจิด ก็อย่าคิดมากก็เน้นทำแบบสะอาดๆ มีระเบียบก็น่าสนใจไม่น้อยครับ..
  2.ประวัติส่วนตัว 
          นำเสนอตัวเองเต็มที่เช่นกันครับ ถ้าจะให้ดีขอแนะนำให้ทำเป็น 2 ชุด คือ ชุดที่เป็นภาษาไทย และชุดที่เป็นภาษาอังกฤษ เพื่อแสดงความสามารถของตนให้แฟ้มดูน่าเชื่อถือมากขึ้น..โดยเนื้อหาที่ใส่ไปก็แนะนำตัวไปเลย ชื่อ นามสกุล วันเกิด สุขภาพ นิสัย ความชอบ รวมถึงแนวคิด และความคาดหวังในอนาคตของเราที่ทำให้เขารู้จักตัวเรามากที่สุด..ซึ่งจากหน้านี้แหละเขาจะรู้ว่าเราเป็นคนอย่างไร..ส่วนฟอนท์ตัวหนังสือ พี่ลาเต้แนะนำให้เป็นรูปแบบเดียวกันทั้งเล่มครับ..โดยฟอนท์ที่ดูเรียบร้อยเป็นมืออาชีพ ก็จะมีพวก Angsana, Cordia เป็นต้นครับ...
  3.ประวัติการศึกษา 
          ให้เขียนเรียงลำดับจากการศึกษาที่น้อยสุดมาจบที่ปัจจุบัน โดยเพื่อความแสดงศักยภาพในการเรียน และอาจจะบอกไปด้วยก็ได้ว่า แต่ละระดับที่เราเรียนมานั้นได้เกรดเฉลี่ยรวมเท่าไหร่ แต่หากใครที่ไม่มั่นใจก็เว้นไว้ก็ไม่เป็นไรครับ..รายชื่อโรงเรียนก็เขียนให้เต็มยศเลยนะครับ..ไม่ควรที่จะย่อ ส่วนระดับก็สามารถแยกเป็น ระดับประถมศึกษา, ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น, ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือระดับอาชีวศึกษา เป็นต้นครับ..
  4.รางวัล และผลงานที่ได้รับ 
          เขียนเป็นลักษณะการเรียงลำดับได้เลยครับ..โดยจะกำหนดเป็นปี พ.ศ. ก็จะน่าดูไม่ใช่น้อย เช่น พ.ศ. 2550 มีกิจกรรมอะไรบ้างที่เราเข้าร่วม หรือได้รับรางวัลเกียรติบัตรอะไรบ้าง..หากกิจกรรมที่เราเข้าร่วม มีรูปประกอบด้วย ก็สามารถลงในส่วนนี้ได้เลยครับ ซึ่งส่วนที่เป็นรายชื่อรางวัลที่ได้รับ กับส่วนที่เป็นประมวลภาพควรจะอยู่คนละส่วนกัน ไม่ควรนำมาปนกันในหน้าเดียวกันครับ ซึ่งในส่วนนี้เขียนเป็นผลงาน พร้อมรูปประกอบเท่านั้นนะครับ..อย่าเพิ่งใส่ประกาศนียบัตรลงไป..ส่วนที่เป็นใบประกาศจะมีอีกส่วนหนึ่งอยู่ด้านท้าย
  5.รางวัลและผลงานที่ประทับใจ 
          ส่วนนี้จะพิเศษมากกว่าผลงานทั่วไปครับ..เพราะเป็นผลงานที่เราภาคภูมิใจ และประทับใจเต็มใจมากๆ ที่จะนำเสนอ..ลักษณะการจัดการเขียนก็คล้ายๆ กับข้อก่อนหน้านี้..แต่สิ่งที่ควรเพิ่มควรจะมีการบรรยายให้ผู้อ่านได้ทราบด้วยว่า ผลงานนี้เราภูมิใจอย่างไร เหนื่อยยากอดทนแค่ไหนกว่าจะได้มา..ที่สำคัญอย่าลืมใส่รูปประกอบไปด้วย..จะช่วยเพิ่มความน่าสนใจได้ไม่น้อยทีเดียวครับ..
  6.กิจกรรมที่ทำระหว่างเรียน 
          น้องๆ คนไหนที่เป็นประธานนักเรียน คณะกรรมการนักเรียน ประธานชมรม หรือเครือข่ายกิจกรรมโรงเรียนต่างๆ ก็สามารถมานำเสนอได้ในส่วนนี้ครับ..ส่วนใหญ่การทำกิจกรรมมักจะไม่มีประกาศนีบบัตร ซึ่งลักษณะการนำเสนอก็บอกไปเลยว่า ระดับ ม.1 ทำกิจกรรมอะไรบ้าง..ม.2 ม.3 ม.4 ถึง ม.6 ทำกิจกรรมอะไรบ้าง..ตรงส่วนนี้จะรวมถึงการทำงานพิเศษ งานพาร์ทไทม์ก็ได้ ก่อนจะทิ้งท้ายด้วยการประมวลภาพกิจกรรมที่เราเคยทำ..ข้อนี้ถือเป็นข้อได้เปรียบ โดยหากใครมีเยอะ ย่อมเป็นที่สนใจของผู้อ่านเยอะเช่นกันครับ
  7.ผลงานตัวอย่าง 
          หลายคนอาจจะบอกว่ามีความสามารถด้านจัดหน้า ออกแบบหนังสือ หรือผลงานด้านหัตถกรรม ก็มาสามารถนำมาใส่ตรงส่วนนี้ได้..รูปแบบการใส่ของให้มาเป็นรูปภาพ ไม่ควรมาเป็นชิ้นงาน เพราะจะดูรกรุงรังไม่เป็นมืออาชีพครับ..ในที่นี่อาจรวมถึงโครงงานวิทยาศาสตร์ที่เราเคยทำไว้สมัยเรียนก็ได้..
  8.ความสามารถพิเศษด้านต่างๆ   
            ในส่วนนี้แนะนำให้น้องๆ โชว์ในความสามารถพิเศษที่คนทั่วไปมีอยู่เป็นส่วนน้อยที่สามารถทำได้ หรือเป็นความสามารถพิเศษที่สามารถสอดคล้องกับคณะที่เราต้องการศึกษาต่อ หรือถ้าไม่มี ก็เป็นความสามารถพิเศษทั่วๆ ไป เช่น ร้องเพลง เล่นดนตรี หรือ กีฬา ฯลฯ การเป็นพิธีกรหรือผู้นำเชียร์ ก็ถือเป็นความสามารถพิเศษนะครับ..
          จากส่วนประกอบต่างๆ ของแฟ้มสะสมผลงาน พี่ลาเต้ ก็ขอต่อกันด้วยอีกเนื้อหาหนึ่งที่น่าสนใจไม่แพ้กัน เป็นเรื่องของคณะกรรมการคนหนึ่งท่านคือ อาจารย์วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์ เราลองมาดูซิว่า ท่านมีหลักเกณฑ์ในการดูแฟ้มสะสมผลงานอย่างไร..ในที่นี้ขอยกตัวอย่างในการพิจารณา เปรียบเทียบ Portfolio ของนักเรียนสองคน..
            - Portfolio คนที่หนึ่ง เป็นนักเรียนที่เข้าร่วมประกวดถ่ายภาพ และได้รับรางวัล จากการประกวด มีหลักฐานรางวัลต่างๆ แสดงไว้มากมาย..
            - Portfolio คนที่สอง ถึงแม้ไม่เคยรับรางวัลแต่ก็ส่งเข้าร่วมประกวดมากมายเหมือนกัน พร้อมมีรูปงานแสดงภาพถ่ายต่างๆที่ตนเองเข้าร่วมประกวด
  ทำแฟ้มผลงาน    อย่างไรให้สอบสัมภาษณ์ผ่าน 
          ทันที่ที่เลือกดูแฟ้ม Portfolio ทั้งสองฉบับ ท่านได้ตัดสินใจว่า.."ผมคงพิจารณาว่า เจ้าของ Portfolio ที่สองน่าจะเป็นผู้ที่เหมาะสมกว่า ถ้าต้องคัดเอาเพียงคนเดียวเพื่อเข้าเรียนสาขาการถ่ายภาพ บางทีแค่การไปร่วมงาน ไปดูงานนิทรรศการที่เราสนใจก็นำมาบันทึกได้ เพราะ Portfolio คือสิ่งที่จะบ่งบอกความสนใจในตัวเรา บางคนสนใจเรื่องวิชาการ ก็เอาเกรด เอารายงานที่ทำระหว่างเรียน เอาเรื่องราวของการทำโครงงานด้านวิชาการต่างๆ ที่เคยทำมาแสดง มาสรุป หรือนำภาพถ่ายของตนเองในงานนั้นๆ มาบันทึกไว้ใน Portfolio ก็ดูน่าสนใจดีครับ"
          "คนที่สนใจด้านสังคมก็เอากิจกรรมที่ทำมาลง บางทีอาจให้เพื่อนเขียนถึงเราก็ได้ว่าเราดีตรงไหน ประทับใจอะไรเรา ให้ครู พ่อแม่ หรือคนที่เรารู้จักเขียนถึงเราก็ได้ทั้งนั้น ไม่ผิดกติกามีนักเรียนถามว่า การบันทึก Portfolio ต้องมีหลักฐานหรือไม่..สำหรับผมคิดว่าถ้ามีก็ดี ถ้าไม่มีก็ไม่เป็นไร เพราะถ้าผู้อ่านสนใจเขาก็มาถามเราต่อได้ เช่นถ้าเราเคยร่วมกิจกรรมปลูกป่า แต่เราไม่มีรูป เราก็อาจเขียนความประทับใจในงานนั้น โดยไม่มีหลักฐาน ไม่มีคนเซ็นรับรอง ก็ไม่น่าจะมีปัญหาใดๆ"
          นักเรียนที่สนใจด้านเทคโนโลยี อาจทำ Portfolio แบบดิจิตอล คือทำเป็นเว็บ หรือโปรแกรมนำเสนอ ก็ดูน่าสนใจ ใส่ภาพ เสียง ผมว่าน่าจะสนุกครับ เป็นการบ่งบอกความสนใจของเราได้อย่างดี คำถามที่ว่าจะใช้กระดาษอย่างไร ความหนาเท่าไร หรือจำนวนกี่หน้า ผมคิดว่าขึ้นอยู่กับตัวเรานะ Portfolio ที่แสดงความเป็นตัวเราได้นั่นคือ Portfolio ที่ดี เคยเห็น Portfolio ของนักเรียนที่สนใจด้านศิลปะ ทำออกมาไม่กี่หน้าแต่ออกแบบน่าสนใจ มีทั้งภาพกราฟฟิก และภาพถ่ายที่ตั้งใจทำอย่างดี อย่างนี้เอาไปสมัครเข้าเรียนต่อด้านศิลปะ การออกแบบสื่อ ก็น่าจะประสบความสำเร็จ"
          "การที่มหาวิทยาลัยหลายแห่งเริ่มมีการกำหนดให้ Portfolio เป็นส่วนหนึ่งของการคัดนักเรียนเข้าเรียนต่อ ผมคิดว่าเป็นเรื่องที่น่าส่งเสริมมากครับ น่าจะมีผลดีกว่าการคัดนักเรียนจากการสอบเพียงอย่างเดียว บางคนไม่เคยคิดเคยทำประโยชน์อะไรให้สังคมส่วนรวมเลย แต่สอบเข้าคณะสังคมสงเคราะห์ อย่างนี้จะหวังให้จบมาทำงานด้านนี้ คงยากครับ การคัดเลือกโดยใช้  Portfolio เป็นส่วนประกอบจึงน่าจะช่วยให้มหาวิทยาลัยได้คัดเอาผู้ที่มีความสนใจ ในสาขาวิชานั้นๆ เข้าไปเรียน ซึ่งจะทำให้นักเรียนเรียนอย่างมีความสุข และประสบความสำเร็จในการเรียน การเรียนต่อ หรือ การทำงานในอนาคตครับ"

Portfolio เข้ามหาลัยสุดเกร๋และมีความน่ารัก ที่ใครเห็นก็ต้องหยิบดู

พอร์ตเล่มนี้เป็น พอร์ตของ นางสาวไปรมินทร์ พูลทรัพย์  นักศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนโพธิสารพิทยากร ซึ่งมีการเรียบเรียงข้อมูล โดย สไตล์การตกแต่งพอร์ต มีความน่ารัก และ สดใส น่าอ่านน่าดู มองแล้วสบายตากันเลยทีเดียวทำให้คณะกรรมการ ที่สอบสัมภาษณ์ไม่หยิบขึ้นมาอ่านคงจะไม่ได้แล้ว







ที่มา https://www.rchewa.com/ขอบคุณข้อมูลดีๆจากพี่ลาเต้ด้วยครับ




1 comments: