สำรวจ
รีวิว
สอบเข้า
ออนไลน์

ครูสอนพิเศษ คุณภาพอันดับ1

หาครูสอนพิเศษตัวต่อตัว คลิกเลย

ค้นหาด้วยเสียง
ค้นหาด้วยเสียงคลิกที่นี่

» » ก่อนเปิดเทอม มาดูสรุปวิทย์ ม.1 เรื่องหน่วยของสิ่งมีชีวิตและพืช

02 เมษายน 2563

ก่อนเปิดเทอม มาดูสรุปวิทย์ ม.1 เรื่องหน่วยของสิ่งมีชีวิตและพืช

เซลล์ คือ หน่วยชีวิตเล็กๆ อาจจะมีรูปร่างหน้าที่และส่วนประกอบแตกต่างกันส่วนประกอบเซลล์พืช

ก่อนเปิดเทอม มาดูสรุปวิทย์ ม.1 เรื่องหน่วยของสิ่งมีชีวิตและพืช




บทที่ 1 หน่วยของสิ่งมีชีวิตและพืช

  1. หน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต
  2. ลักษณะโครงสร้างและหน้าที่ของเซลล์
  3. การลำเลียงในพืช การแพร่และออสโมซิส
  4. การสืบพันธุ์และการตอบสนองต่อสิ่งเร้า
  5. การสังเคราะห์ด้วยแสง
  6. เทคโนโลยีชีวภาพเพื่อผลผลิตของพืชในท้องถิ่น

หน่วยสิ่งมีชีวิต

เซลล์ คือ หน่วยชีวิตเล็กๆ อาจจะมีรูปร่างหน้าที่และส่วนประกอบแตกต่างกันส่วนประกอบเซลล์พืช

1. ผนังเซลล์  ทำหน้าที่เพิ่มความแข็งแรงและป้องกันอันตรายให้แก่เนื้อเยื่อพืช เป็นสารพวกเซลลูโลส ซึ่งเป็นคาร์โบไฮเดรตที่มีโมเลกุลใหญ่ ผนังเซลล์มีเฉพาะในเซลล์พืช
2. เยื่อหุ้มเซลล์  เป็นเยื่อบางๆ ซึ่งเป็นสารประเภทโปรตีนและไขมัน ทำหน้าที่ห่อหุ้มไซโทพลาสซึม ใหรวมกันอยู่ได้และทำหน้าที่ควบคุมปริมาณและชนิดของสารที่ผ่านเข้าออกจากเซลล์ เช่น น้ำ  อากาศ  ของเสีย เกลือแร่ และอื่นๆ
3.ไซโทพลาสซึม  เป็นของเหลวซึ่งอยู่รอบๆ นิวเคลียส เป็นสารประกอบหลายชนิด เช่น น้ำตาล โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรตและเกลือแร่ต่างๆ ในไซโทพลาสซึมมีเม็ดสีเขียวซึ่ง เรียกว่า คลอโรพลาสต์  และถุงใส (vacuole,แวคิวโอล) ซึ่งภายในมีน้ำและสารอื่นๆ
4. นิวเคลียส  มีลักษณะค่อนข้างกลม ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของเซลล์ การเจริญเติบโต และการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมจากพ่อแม่ไปสู่ลูกหลาน

เปรียบเทียบโครงสร้างและหน้าที่ในเซลล์แบคทีเรีย สัตว์ พืช


สรุปวิทย์ ม.1 เรื่องหน่วยของสิ่งมีชีวิตและพืช

ขนาดของเซลล์

เซลล์มีขนาดต่าง ๆ  กันตั้งแต่ขนาดเล็ก  เช่น  เซลล์แบคทีเรียซึ่งมีขนาดประมาณ  1  ไมโครเมตร  ไปจนถึงเซลล์ขนาดใหญ่  

รูปร่างของเซลล์

มีลักษณะเฉพาะและถูกควบคุมทางพันธุกรรม  จึงทำให้รูปร่างของเซลล์มีความแตกต่างกันออกไป  แม้แต่เซลล์ของสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกันแต่ทำหน้าที่แตกต่างกันก็จะมีรูปร่างต่างกัน  เช่น  เซลล์เม็ดเลือดแดงจะมีรูปร่างกลม  เพื่อให้เคลื่อนที่ไปได้สะดวกในเส้นเลือด  เซลล์ประสาทมีส่วนที่ยื่นยาวและแตกแขนงออกไป  เพื่อทำหน้าที่ส่งกระแสประสาทไปยังส่วนต่าง 

การใช้กล้องจุลทรรศน์

สรุปวิทย์ ม.1 เรื่องหน่วยของสิ่งมีชีวิตและพืช

วิธีใช้กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง (Light microscope) ให้ดำเนินตามลำดับดังนี้
1.  วางกล้องให้ฐานอบู่บนพื้นรองรับที่เรียบสม่ำเสมอเพื่อให้ลำกล้องตั้งตรง
2.  หมุนเลนส์ใกล้วัตถุ (objective lence) อันที่มีกำลังขยายต่ำสุดมาอยู่ตรงกลางลำกล้อง
3.  ปรับกระจกเงาใแท่นวางวัตถุให้แสงสะท้องเข้าลำกล้องเต็มที่
4.  นำสไลด์ที่จะศึกษาวางบนแท่นวางวัตถุ ให้วัตถุอยู่กลางบริเวณที่แสงผ่าน แล้วค่อยๆ หมุนปุ่มปรับภาพหยาบ (coarse adjustment knob) ให้ลำกล้องเลื่อนลงมาอยู่ใกล้วัตถุที่จะศึกษามากที่สุด โดยระวังอย่าให้เลนส์ใกล้วัตถุสัมผัสกับกระจกปิดสไลด์
5.  มองผ่านเลนส์ใกล้ตา (eyeiece) ลงตามลำกล้อง พร้อมกับหมุนปุ่มปรับภาพหยาบขึ้นช้าๆ จนเห็นวัตถุที่จะศึกษา แล้วจึงเปลี่ยนมาหมุนปรับปุ่มภาพละเอียด (fine adjustment knob) เพื่อปรับภาพให้ชัด อาจเลื่อนสไลด์ไปมาช้า เพื่อให้สิ่งที่ต้องการศึกษามาอยู่กลางแนวลำกล้องขณะปรับภาพ ถ้าเป็นกล้องสมัยก่อนลำกล้องจะเคลื่อนที่ขึ้นและลงเข้าหาวัตถุ แต่ถ้าเป็นกล้องสมัยใหม่ แท่นวางวัตถุจะทำหน้าที่เลื่อนขึ้นลงเข้าหาเลนส์วัตถุ
6. ถ้าต้องการขยายภาพให้ใหญ่ขึ้น ให้หมุนเลนส์ใกล้วัตถุอันที่มีกำลังขยายสูงขึ้นเข้ามาในแนวลำกล้อง และไม่ควรขยับสไลด์อีก แล้วหมุนปุ่มปรับภาพละเอียดเพื่อให้เห็นภาพชัดเจนขึ้น 
7.  การปรับแสงที่เข้าในลำกล้องให้มากหรือน้อย ให้หมุนแผ่นไดอะแฟรม ปรับแสงตามต้องการ
กล้องโทรทัศน์ที่ใช้กันในโรงเรียนมีจำนวนเลนส์ใกล้วัตถุต่างๆ กันไป เช่น 1 อัน 2 อัน หรือ 3 อัน และมีกำลังขยายต่างๆ กันไป อาจเป็นกำลังขยายต่ำสุด x 4  กำลังขยายขนาดกลาง  X 10  กำลังขยายสูง X 40 , X 80  หรือที่กำลังขยายสูงมากๆ   ถึง X 100  ส่วนกำลังขยายของเลนส์ใกล้ตานั้นโดยทั่วไปจะเป็น  X10  แต่บางกล้องที่เป็น  X 5  หรือ  X 15  กำลังขยายของกล้องจุลทรรศน์คำนวณได้จากผลคูณของกำลังขยาย ของเลนส์ใกล้วัตถุกับกำลังขยายของเลนส์ใกล้ตา ซึ่งมีกำกับไว้ที่เลนส์
กำลังขยายของกล้องจุลทรรศน์ =  กำลังขยายของเลนส์ใกล้วัตถุ X กำลังขยายของเลนส์ใกล้ตา
เนื่องจากกล้องจุลทรรศน์ เป็นอุปกรณ์ที่มีราคาแพง ส่วนประกอบที่สำคัญและราคาแพงที่สุดของกล้องจุลทรรศน์ คือ เลนส์  

การใช้และการระวังรักษากล้องต้องปฏิบัติอย่างถูกวิธี ซึ่งมีวิธีปฏิบัติดังนี้
1.  การยกกล้อง  ควรใช้มือหนึ่งจับที่แขนกล้อง  และอีกมือหนึ่งรองที่ฐาน และต้องให้ลำกล้องตั้งตรงเสมอ เพื่อป้องกันการเลื่อนหลุดของเลนส์ใกล้ตา ซึ่งสามารถถอดออกได้ง่าย
2.  สไลด์และกระจกปิดสไลด์ต้องไม่เปียก เพราะอาจทำให้แท่นวางเกิดสนิม และทำให้เลนส์ใกล้วัตถุชื้น อาจเกิดราที่เลนส์ได้
3.  ขณะที่ตามองผ่านเลนส์ใกล้ตา หมุนปุ่มปรับภาพหยาบ ต้องหมุนให้ลำกล้องเลื่อนขึ้นเท่านั้น ห้ามหมุนให้ลำกล้องเลื่อนลง เพราะเลนส์ใกล้วัตถุอาจกระทบกระจกสไลด์ ทำให้กระจกสไลด์และเลนส์แตกได้
4.การหาภาพต้องเริ่มต้นด้วยเลนส์วัตถุกำลังขยายต่ำสุดก่อนเสมอ เพราะปรับหาภาพสะดวกที่สุด
5. เมื่อใช้เลนส์ใกล้วัตถุที่มีกำลังขยายสูง ถ้าจะปรับภาพให้ชัดให้หมุนเฉพาะปุ่มปรับภาพละเอียดเท่านั้น
6.  ห้ามใช้มือแตะเลนส์  ในการทำความสะอาดให้ใช้กระดาษสำหรับเช็ดเลนส์เช็ดเท่านั้น
7.  เมื่อใช้เสร็จแล้วต้องเอาวัตถุที่ศึกษาออก เช็ดแท่นวางวัตถุและเลนส์ให้สะอาด หมุนเลนส์ใกล้วัตถุกำลังขยายต่ำสุดให้อยู่ตรงกลางกับลำกล้อง และเลื่อนลำกล้องลงต่ำสุด ปรับกระจกให้อยู่ในแนวตั้งได้ฉากกับแท่นวางวัตถุ เพื่อไม่ให้ฝุ่นลง แล้วเก็บใส่กล่องหรือใสตู้ให้เรียบร้อย
การเตรียมสไลด์สด หัวหอม
1.  ตัดหัวหอมออกเป็นเสี้ยว
2.  ดึงแผ่นหัวหอมออกมา
3.  หักแผ่นหัวหอมนี้ออกเป็นแผ่นสั้นๆ
4.   แยกชั้นผิวนอกของกลีบหัวหอมออกเพียงแผ่นเล็กๆ
5.  วางเซลล์เยื่อหัวหอมบนสไลด์และหยดน้ำ
6.  ค่อยๆ  วางแผ่นกระจกปิดลงไปช้าๆ  ไม่ให้มีฟองอากาศภายใน


สรุปวิทย์ ม.1 เรื่องหน่วยของสิ่งมีชีวิตและพืช

การลำเลียงในพืช การแพร่และออสโมซิส

ราก พืชใช้รากดูดน้ำและธาตุอาหารในดิน  

ส่วนประกอบของราก

- หมวกราก  อยู่ปลายสุดของราก  ทำหน้าที่ป้องกันอันตรายของราก จากการไชชอนดิน
- ขนราก  ลักษณะเป็นเส้นขนเล็กๆ อยู่รอบปลายราก  ทำหน้าที่ดูดซึมน้ำและธาตุอาหารจากดิน
ไซเล็ม คือ ท่อลำเลียงน้ำของพืช (สามารถลำเลียงอาหารได้ด้วย)
โฟเอ็ม คือ ท่อลำเลียงอาหาร
วิธีการลำเลียงในพืช  
- การแพร่ ( diffusion ) การเคลื่อนที่ของโมเลกุล หรืออิออน โดยอาศัยพลังงานจลน์ในตัวเอง ทิศทางการเคลื่อนที่ของสารจากบริเวณที่มีความเข้มข้นสูงไปสู่บริเวณที่มีความเข้มข้นต่ำ จนในที่สุดบริเวณทั้งสองจะมีความเข้มข้นเท่ากัน ซึ่งเรียกว่า สมดุลของการแพร ่ ซึ่งอนุภาค ของสารยังมีการเคลื่อนที่อยู่ แต่ความเข้มข้น หรือ หนาแน่น โดยเฉลี่ยจะเท่ากันทุกบริเวณ  การเคลื่อนที่ของโมเลกุล หรือไอออนของสารจะมีการกระทบกัน เป็นผลให้โมเลกุลกระจายออกไปทุกทิศทางในตัวกลาง เรียกว่า การเคลื่อนที่แบบบราวเนียน (Brownian movement ) 
- ออสมซิส (osmosis)  การแพร่ของ ของเหลว หรือการแพร่ของน้ำผ่านเยื่อเลือกผ่าน ( differentially permeablemembrane) หลักการแพร่ทั่วๆ ไป คือ “ น้ำจะแพร่จากบริเวณที่มีความหนาแน่นของน้ำมาก ( สารละลายเจือจาง ไปยังบริเวณที่มีความหนาแน่นของน้ำน้อย ( สารละลายเข้มข้น ) จนกระทั่งถึงจุดสมดุล เมื่ออัตราการแพร่ผ่านเยื่อเลือกผ่านไปและกลับ มีค่าเท่าๆ
ออสโมมิเตอร์ ( osmometer ) เป็นเครื่องมือที่ใช้แสดงการเกิดออสโมซิส และสามารถใช้วัดแรงดันที่เกิดจากขบวนการออสโมซิส
 แรงดันออสโมติก ( osmotic pressure ) คือ ความดันที่ทำให้เกิดออสโมซิสของน้ำ




ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับออสโมซิส

1. น้ำบริสุทธิ์มีแรงดันออสโมติกต่ำสุด เนื่องจากไม่มีตัวถูกละลายใดๆ เจือปน
2. อนุภาคสารขนาดเล็กเท่านั้นที่แพร่ได้
3. สมบัติของสารเยื่อเลือกผ่าน สารบางชนิดเท่านั้นที่ผ่านได้
4. สารละลายที่มีความเข้มข้นสูง ( ตัวถูกละลายมีจำนวนมาก ) จะมีแรงดันออสโมติกสูง ส่วนสารละลายที่มีความเข้มข้นต่ำ ( ตัวถูกละลายมีจำนวนน้อย ) จะมีแรงดันออสโมติกต่ำ
5. น้ำจะแพร่จากบริเวณที่มีแรงดันออสโมติกต่ำ ไปยังบริเวณที่มีแรงดันออสโมติกสูงต่ำ สูง การลำเลียงสารโดยผ่านเยื่อหุ้มเซลล์

ปัจจัยที่ควบคุมอัตราการแพร่ของสาร 

1. ความเข้มข้นของสารที่แพร่ สารที่มีความเข้มข้นสูง จะแพร่ไปสู่ที่มีความเข้มข้นต่ำ
2. อุณหภูมิการเพิ่มอุณหภูมิ จะให้การแพร่เป็นไปได้อย่างรวดเร็ว
3. ความดันการเพิ่มความดัน จะทำให้โมเลกุล หรือไอออนของสารเคลื่อนที่
4. ขนาดและน้ำหนักของอนุภาคที่แพร่  ถ้าอนุภาคขนาดเล็กและเบา จะมีอัตราการแพร่เร็วกว่าสารที่มีอนุภาคขนาดใหญ่และหนัก
5. ความหนาแน่นของตัวกลาง สารที่มีคุณสมบัติเหมือนกัน แต่แพร่ผ่านตัวกลางต่างชนิดกัน อัตราการแพร่จะไม่เท่ากัน เช่น การแพร่ในอากาศจะมีอัตราการแพร่สูงกว่าในน้ำ เพราะน้ำมีความหนาแน่นสูงกว่าอากาศ
6. ความสามารถในการละลายของสารที่แพร่ สารที่ละลายได้ดี จะมีอัตราการแพร่สูงกว่าสารที่ละลายได้น้อย

การคายน้ำคือ น้ำระเหยออกจากปากใบในรูปไอน้ำ

การคายน้ำ ที่ใบคือกระบวนการลำเนียงน้ำไปยังส่วนต่างๆๆของพืช ( สืบเนื่องจากการลำเลียงน้ำของไซเล็ม) 
เซลล์เอพิเดอร์มิสเป็นเซลล์ที่พบบริเวณผิวใบ มีผนังเซลล์บาง เรียงต่อกันเป็นแผ่น 
เซลล์คุมคือเซลล์ที่มีรูปร่างคล้ายเมล็ดถั่ว มี2 เซลล์ประกบกัน เกิดช่องว่างเรียกว่าปากใบ ภายในเซลล์คุมมีคลอโลพลาส  เซลล์พบมากบริเวณ ด้านล่างของใบ

ปัจจัยการคายน้ำ

- แสงสว่าง แสงมากการคายน้ำสูง เนืองจากสังเคราะห์แสงได้มาก มีผลให้น้ำจาก เชลล์คุมแพร่ไปยังปากใบเกิดการคายน้ำ
-อุณหภูมิ สูงเกิดการระเหยน้ำเพิ่มขึ้น  ส่งผลให้การคายน้ำเพิ่มขึ้น  ปากใบเปิดดีที่ อุณหภูมิ 25-30 องศา  เกิน 30 องศา ปากใบปิด
- ความชื้นสูง การคายน้ำเกิดช้า กลางวันคายน้ำได้มาก  กลางคืนคายน้ำได้น้อย 
    กัตเตชั่น (guttation)คือ การคายน้ำเป็นหยดน้ำ สาเหตุ ความชื้นในอากาศสูง
-  ลม หากมีการถ่ายเทอากาศดี การคายน้ำเพิ่มขึ้นเนื่องจากลมช่วยพัดพาไอน้ำ

สรุป  พืชมีการแลกเปลี่ยนก๊าซเกิดขึ้นหลายแห่ง ดังนี้ คือ

-    ราก ออกซิเจนที่แทรกอยู่ในดินจะแพร่เข้าไปทางขนราก(ROOT HAIR)
-    ลำต้น การแลกเปลี่ยนก๊าซจะเกิดขึ้นที่เลนติเซล(LENTICEL)
-    ใบ การแลกเปลี่ยนก๊าซเหล่านี้ส่วนใหญ่จะเกิดที่ปากใบ(STOMATA)
-    ตามปกติ พืชจะคายน้ำในรูปของไอน้ำทางปากใบ

-    ถ้าความชื้นในอากาศสูง ลมสงบ และอุณหภูมิต่ำ พืชจะคายน้ำออกมาในรูปของหยดน้ำทางรูเปิดปลาย(HYDATHODE)เรียกกระบวนการนี้ว่า GUTTATION

การลำเลียงน้ำของพืช     

การลำเลียงน้ำของพืช จากรากขึ้นไปสู่ยอดเกิดขึ้นโดยอาศัยกระบวนการต่างๆคือ
1. แรงดึงจากการคายน้ำ (TRANSPIRATION PULL) เมื่อพืชมีการคายน้ำทางปากใบ
2. แรงดันราก(ROOT PRESSURE) เมื่อ รากดูดน้ำเข้าสู่รากมากๆ จะเกิดแรงดันดันให้น้ำเคลื่อนที่เข้าไปสู่เซลล์ถัดไปตามท่อลำเลียงน้ำขึ้นสู่ยอด

3. CAPILLARY ACTION เกิดขึ้นได้เนื่องจาก แรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลของน้ำกับผนังด้านข้างหลอดในท่อลำเลียงของไซเลม (ADHESION)

- การลำเลียงอาหาร เกิดขึ้นทั้ง2ทิศทาง จากใบสู่ยอด และจากใบสู่ราก
- การลำเลียงน้ำเกิดขึ้นทิศทางเดียวคือ จากรากสู่ยอด
- แรงดันเต่งมีค่าสูงสุด = แรงดันออสโมติก 
- แรงดันเต่ง ( Turgor pressure ) เป็นแรงดันที่เกิดขึ้นภายในอันเนื่องมาจากน้ำแพร่เข้าไป 
- แรงดันเต่งสูงสุดจะมีค่าเท่ากับแรงดันออสโมติกของสารละลาย 
- แรงดันเต่งมีความสำคัญมากในเซลล์ของสิ่งมีชีวิต เพราะทำให้เซลล์สามารถรักษารูปร่างได้ เช่น การรักษารูปร่าง ลักษณะของเซลล์สัตว์ หรือในพืช การที่ใบกางเต็มที่ ยอดตั้งตรงดี ใบฝักกรอบ เนื่องจากภายในเซลล์มีแรงดันเต่งมากนั่นเอง 


การลำเลียงแร่ธาตุ

1. การแพร่ธรรมดาจากบริเวณที่มีแร่ธาตุมากเข้าสู่บริเวณที่มีแร่ธาตุน้อย
2. ACTIVE TRANSPORT เป็นการนำแร่ธาตุจากบริเวณที่มีความเข้มข้นน้อย ไปยังบริเวณที่มีแร่ธาตุมากกว่า โดยต้องใช้พลังงานจากการหายใจช่วย

การลำเลียงสารเข้าและออกจากเซลล์  แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ

1. การลำเลียงสารโดยผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ แบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ 
1.1 การลำเลียงสารผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ โดยไม่ใช้พลังงานจากเซลล์ ( passive transport )ได้แก่
การแพร่ ( diffusion ) การแพร่ธรรมดา ( simple diffusion )  การแพร่โดยอาศัยตัวพา ( facilitated diffusion  ออสโมซิส ( osmosis )อิมบิบิชั่น ( Imbibition ) การแลกเปลี่ยนอิออน ( Ion exchange )
1.2 การลำเลียงสารผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ โดยใช้พลังงานจากเซลล์ ( active transport )
2. การลำเลียงสารโดยไม่ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ มี 3 ลักษณะ คือ
2.1 การนำสารเข้าสู่ภายในเซลล์ ( Endocytosis ) มี 2 วิธี คือ 1.Pinocytosis  2.Phagocytosis 
3. การนำสารออกนอกเซลล์ ( Exocytosis ) 
4. การนำสารผ่านเซลล์ ( Cytopempsis ) 

การสืบพันธ์และการเจริญเติบโต

ดอกคืออวัยวะในการสืบพันธ์ของพืช มีสีสวยงามและกลิ่นหอม ช่วยล่อแมลงให้ผสมเกสร 

ส่วนประกอบของดอก

1.ชั้นกลีบเลี้ยง (sepal) อยู่นอกสุด  หน้าที่ป้องกันดอกตูม
2.ชั้นกลีบดอก(petal) อยู่ถัดจากกลีบเลี้ยง มีสีสวบและกลิ่นหอม 
3.ชั้นเกสรตัวผู้(stamen)  ทำหน้าที่สร้างละอองเรณูเกสรตัวผู้ประกอบด้วย อับละอองเรณุ อับละอองเรณุอยู่ติดปลายก้านชูอับละอองเรณุ
4.ชั้นเกสรตัวเมีย (pistill) ทำหน้าที่ สร้างไข่ 
ยอดเกสรตัวเมีย มีน้ำเหนี่ยว ทำหน้าที่ ดักจับละองเรณู
คอเกสรตัวเมีย ทำหน้าที ชูยอดเกสรตัวเมีย เป็นทางผ่านละอองเรณุที่ออกลงไปเพื่อให้เสปริมนิวเคลียสผสมกับไข่
รังไข่ มีออวุลเพื่อแบ่งตัวให้เกิดไข่และโพลาร์นิวเคลียส


สรุปวิทย์ ม.1 เรื่องหน่วยของสิ่งมีชีวิตและพืช

ประเภทของดอก 

จำแนกตามส่วนประกอบของดอก
• ดอกสมบูรณ์ (Complete flower) คือดอกที่มีส่วนประกอบของดอกครบทั้ง 4 ส่วนในดอกเดียวกัน เช่น ชบา พู่ระหง กุหลาบ มะเขือ
• ดอกไม่สมบูรณ์ (Incomplete flower) คือดอกที่มีส่วนประกอบของดอกไม่ครบทั้ง 4 ส่วน เช่น ดอกหน้าวัว (ขาดกลีบเลี้ยงและกลีบดอก) ดอกบานเย็น (ขาดกลีบดอก)
จำแนกตามลักษณะของเพศ
• ดอกสมบูรณ์เพศ คือดอกที่มีทั้งเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียในดอกเดียวกัน เช่น ดอกตำลึง พู่ระหง และกุหลาบ
• ดอกไม่สมบูรณ์เพศ คือในดอกจะมีเพียงเกสรตัวผู้หรือเกสรตัวเมียเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ดอกที่ 
o ดอกตัวผู้  มีแต่เกสรตัวผู้ 
o ดอกตัวเมีย ดอกที่มีแต่เกสรตัวเมีย
o ดอกหมัน  ดอกที่ไม่มีทั้งเกสรตัวผู้และตัวเมีย
o ดอกระเทย  มีดอกสมบูรณ์เพศหรือมีทั้งดอกตัวผู้และดอกตัวเมียในต้นเดียวกัน แม้จะคนละดอกหรือต่างช่อดอก เช่น ข้าวโพด ตำลึง ฟักทอง ดอก

สรุปประเภทดอก

• ดอกครบส่วนเป็นดอกสมบูรณ์เพศเสมอ
• ดอกไม่ครบส่วนอาจเป็นดอกสมบูรณ์เพศหรือไม่สมบูรณ์เพศก็ได้
• ดอกสมบูรณ์เพศอาจจะเป็นดอกครบส่วนหรือไม่ครบส่วนก็ได้
• ดอกไม่สมบูรณ์เพศเป็นดอกไม่ครบส่วนเสมอ

ประเภทการสืบพันธุ์ 

1.สืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ คือ การผสมระหว่างละอองเกสรตัวผู้กับไข่ในรังไข่ของเกสรตัวเมีย  เมื่อผสมกัน แล้วก็เจริญเติบโตเป็นเมล็ด   กระบวนการในการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศของพืชดอก  คือ  การถ่ายละอองเกสร การงอกของละอองเกสร  การปฏิสนธิ
- การถ่ายละอองเกสร ( pollination ) คือ การที่ละอองเรณูจากอับละอองเรณูมาตกที่ยอดเกสรตัวเมีย ( stigma ) ของเกสรตัวเมีย เกิดจากการผสมกันเอง หรือมาพาหะ ตัวช่วยเช่นแมลง คน ลม  การถ่ายละอองอาจจะเกิดระหว่างดอกเดียวกัน  ต่างดอก  หรือต่างต้น
- การงอกของละอองเกสร  
- การปฏิสนธิ คือกระบวนการที่เซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ผสมกับเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย และโพลาร์นิวคลีโอในออวุล
ภายในออวุลประกอบด้วย –แอนติโพแดลเวลล์ (antipodal) 3 เซลล์    - ซินเนอร์จิด(synergid)    2 เซลล์
- เซลล์ไข่(eeg  cell )    1 เซลล์
- โพลาร์นิวคลีโอ(polar nuclei) 2 นิวเคลียส รวมเป็นเอนเสปิร์มมาเทอร์ เซลล์(endrosperm mother  cell ) 1 เซลล์
- การปฏิสนธิซ้อน (double  fertilization ) เกิดจาการปฏิสนธิ 2 ครั้ง คือ 1 .กระบวนการที่ sperm ผสมกับ nuclease  ได้embryo   2. กระบวนการที่ sperm ผสมกับ(polar nuclei)ได้ endrosperm

ข้อดีสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ 
- ต้นที่ได้จากเมล็ดมีอายุยืน
- มีรากแก้ว ทำให้ลำต้นแข็งแรง
ข้อเสียสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ
- ใช้เวลานานในการให้ผลผลิต
-  ผลผลิตที่ได้ไม่ค่อยตรงกับพันธุ์เดิม

2. สืบพันธุ์เเบบไม่อาศัยเพศ เป็นการขยายพันธุ์ของพืชให้มีจำนวนมากโดยอาศัยส่วนต่าง ๆของพืช เช่น  รากและลำต้น เช่น ขิง ข่า กล้วย ตะไคร้ อ้อย
ใบ เช่น ใบคว่ำตายหงายเป็น  ต้นเศรษฐีพันล้าน โคมญี่ปุ่น  
วิธีสืบพันธุ์ของพืชเเบบไม่อาศัยเพศ เช่น การปักชำ การทาบกิ่ง การตอน การโน้มกิ่ง  การต่อกิ่ง การติดตา   

การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ คือ การกระตุ้นเซลล์หรือชิ้นส่วนพืชให้เกิดการเจริญเติบโต หรือเกิดการเปลี่ยนแปลงตามความต้องการบนอาหารสังเคราะห์ ภายใต้สภาพแวดล้อม เช่น อุณหภูมิ ความชื้น แสงสว่าง ที่สามารถควบคุมได้ในสภาพที่ปลอดเชื้อ โดยใช้สมดุลของสารควบคุมการเจริญเติบโต พืช เป็นตัวกระตุ้นการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาของเนื้อเยื่อที่นำมาทำการเพาะเลี้ยง

ข้อดีของการขยายพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ 
 1. ให้ผลตรงตามพันธุ์ที่ต้องการ 
 2. ให้ผลเร็วกว่าการปลูกด้วยเมล็ด 
3. ใช้ขยายพันธุ์ที่ปลูกด้วยเมล็ดแล้วไม่ขึ้น 

ข้อเสียของการขยายพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ 
1. ต้นไม่แข็งแรงเพราะไม่มีรากแก้ว   (ยกเว้นการต่อกิ่ง ติดตา และทาบกิ่ง) 
 2. วิธีการเก็บรักษาและย้ายพันธุ์ทำยากกว่า 
 3.สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการปลูกมากกว่า 

การสังเคราะห์แสงคือ กระบวนการสร้างอาหารของพืชโดยใช้น้ำและแก๊สคาร์บอนไดออกไซค์เป็นวัตถุดิบ ใช้คลอโรฟิลล์ดูดพลังงานแสงอาทิตย์ อาหารที่ได้ คื่อน้ำตาล แป้ง และแก๊สออกซิเจน

          H2O + CO2     กลูโคลส  + O2 +H2O

ปัจจัยการสังเคราะห์แสง

- คลอโรฟิลล์
- แก๊สคาร์บอนไดออกไซค์
- แสงสว่าง
- เซลล์ที่มีชีวิต
- น้ำ
- อุณหภูมิที่เหมาะสม

การตอบสนองของพืชคือการที่พืชตอบนสองต่อสิ่งเร้า เช่น การหันของดอกทานตะวันไปตามลำแสงดวงอาทิตย์  การหุบของไมยราบเมื่อโดนสัมผัส  การหุบการบานของดอกคุณนายตื่นสาย ตามความเข้มของแสงอาทิย์

ปัจจัยที่พืชตอบสนอง

-แสง
-อุณหภูมิ
-ความชื้น
-การสัมผัส
-แรงโน้มถ่วง


Total Rating ✔

9.2 stars – 2,789 reviews

More Reviews

แสดงความคิดเห็น

ก่อนเปิดเทอม มาดูสรุปวิทย์ ม.1 เรื่องหน่วยของสิ่งมีชีวิตและพืช

สรุปวิทยาศาสตร์มัธยมต้น, หน่วยของสิ่งมีชีวิตและพืช, doc