สำรวจ
รีวิว
สอบเข้า
ออนไลน์

ครูสอนพิเศษ คุณภาพอันดับ1

หาครูสอนพิเศษตัวต่อตัว คลิกเลย

ค้นหาด้วยเสียง
ค้นหาด้วยเสียงคลิกที่นี่

» » เปิดเทอม 1 ก.ค. 2563 การเรียนการสอนในโรงเรียนเป็นอย่างไร? จะมีปัญหาเรื่องการเรียนหรือไม่?

26 มิถุนายน 2563

เปิดเทอม 1 ก.ค. 2563 การเรียนการสอนในโรงเรียนเป็นอย่างไร? จะมีปัญหาเรื่องการเรียนหรือไม่?

เปิดเทอมครั้งนี้ นักเรียนและคุณครูผู้สอนล้วนมีปัญหาในการเรียนการสอน ทั้งเรื่องเวลาที่มีน้อยเมื่อเทียบกับเนื้อหาที่นักเรียนจะต้องเรียน รวมถึงการต้องคอยระมัดระวังเรื่องสุขภาพของนักเรียนและคุณครูอันเนื่องจากการระบาดของไวรัส โควิต-19


เปิดเทอม 1 ก.ค. 2563 การเรียนการสอนในโรงเรียนเป็นอย่างไร? จะมีปัญหาเรื่องการเรียนหรือไม่?

การเปิด – ปิด เทอม 2563

เทอมที่ 1/2563

เปิดเรียน 1 กรกฏาคม -13 พฤศจิกายน 2563
ปิดภาคเรียนที่ 1 จำนวน 17 วัน นับตั้งแต่ 14-30 พฤศจิกายน 2563

เทอมที่ 2/2563

เปิดเรียน 1 ธันวาคม 2563-9 เมษายน 2564 
ปิดภาคเรียนที่ 2 จำนวน 37 วัน นับตั้งแต่ 10 เมษายน-16 พฤษภาคม 2564

และวันเรียนที่ขาดหายไปให้สถานศึกษาสอนชดเชย

โดยมีแนวทางปฏิบัติสำหรับสถานศึกษาระหว่างเปิดภาคเรียน คือ 

1. คัดกรองสุขภาพ ตรวจอุณหภูมิ 
2. ตรวจสอบการสวมหน้ากาก หากไม่เตรียมมาโรงเรียนก็จัดให้ 
3. จัดสถานที่ล้างมือ จัดเตรียมสบู่ แอลกอฮอล์ 
4. ทำความสะอาดโต๊ะ ที่นั่ง ถ้าเป็นอาชีวศึกษาที่มีเครื่องมือก็ต้องทำความสะอาดก่อนคนเข้าไปมาใช้ 
5. เว้นระยะห่าง 1.5 เมตรของห้องเรียน และ 6. ลดความแออัด

การเว้นระยะห่างและลดความแออัด 

น่าจะทำยากที่สุด โดยเราแบ่งการดำเนินงานเป็นโรงเรียนที่เว้นระยะห่างได้ตามข้อกำหนด และสามารถเรียนได้ครบทุกคนพร้อมกัน มีทั้งหมด 3.1 หมื่นโรง ครอบคลุมทั้งโรงเรียนรัฐ เอกชน อาชีวศึกษา และโรงเรียนนานาชาติ ส่วนโรงเรียนที่มาเรียนพร้อมกันไม่ได้ มีขนาดใหญ่จริงๆ ต้องสลับกันมาเรียน มีจำนวน 4.5 พันโรง แบ่งเป็นเป็นโรงเรียนที่มีระดับชั้นอนุบาล-ม.6 ประมาณ 200 โรง ที่เหลือเป็นโรงเรียนประถมครึ่งหนึ่ง และโรงเรียนมัธยมอีกครึ่งหนึ่ง ส่วนคนที่ไม่ได้มาเรียนทำอย่างไร ศธ.ได้จัดออนแอร์และออนไลน์ ดูแลนักเรียนที่ไม่ได้มาเรียน โดยเรียนผ่านทีวีหรืออินเทอร์เน็ต และหากเกิดปัญหามีผู้ติดเชื้อขึ้นมา นักเรียนก็ต้องเรียนที่บ้านเช่นกัน นายวราวิชกล่าว

นายวราวิชกล่าวว่า สำหรับแนวทางการสลับกันมาเรียน หรือแนวทางการจัดการเรียนแบบผสมผสานนั้น มีประมาณ 4-5 แบบ ซึ่งเกิดจากการประชุมร่วมกันระหว่างครูและผู้ปกครองที่เป็นกรรมการสถานศึกษา คือ 
1. เรียน 5 วันหยุด 9 วัน หรือเรียนอาทิตย์เว้นอาทิตย์ คือ กลุ่มหนึ่งมาเรียนอาทิตย์นี้แล้วอยู่บ้านอาทิตย์หนึ่ง อีกกลุ่มก็มาเรียนอีกอาทิตย์หนึ่ง 
2. เรียนสลับเช้าบ่าย ตรงนี้มีน้อย โดยเฉพาะโรงเรียนประถม เพราะการส่งมาเรียนเช้าและมารับกลับบ่ายเลยเป็นไปได้ยาก โรงเรียนประถมก็จะไม่ใช้แบบนี้ 
นอกจากนี้ ยังมีรูปแบบของการสลับวันคู่วันคี่ เรียนผสมผสาน เป็นต้น

ข้อห่วงใยมี 6 ประเด็น คือ 

1. รถโรงเรียน ที่ ศธ.ดูแล หรือรถเหมาของโรงเรียน ต้องนั่งตามมาตรการ คือ เว้นระยะห่าง สวมหน้ากาก ซึ่งเดิมนั่งได้ 30 คนก็เหลือ 15 คน ต้องมีรถ 2 คัน ศธ.มอบงบประมาณให้โรงเรียนแล้ว แต่โรงเรียนที่มีเด็กเยอะก็สลับกันมาเรียน โอกาสใช้รถอาจไม่ถึง 2 คันหรือไม่ถึง 3 เที่ยว 
2. เด็กเล็ก ปฐมวัยหรือ ป.1-2 ที่ดูแลยาก ก็ต้องให้ครูดู ส่วนปัญหาครูน้อย โรงเรียนขนาดเล็กนอจากครูแล้วยังมีครูผู้ช่วยในการดูแล และดูแลจนถึงการนอน ซึ่งให้นอนห่างกัน 1.5 เมตร โดยนอนเอาเท้าชนกัน เพื่อไม่ให้เอาศีรษะชนกัน ตอนนอนไม่สวมหน้ากาก เพระาไม่น่าจะดี แต่ก่อนเข้ามาโรงเรียนก็ผ่านการคัดกรองก่อน
3. อาหารกลางวัน จะแออัดหรือไม่ โรงอาหารพอหรือไม่ ก็จะผลัดกันทาน เช่น 3-4 ผลัด แล้วแต่จำนวนนักเรียน 
4. ตัวชี้วัดผลหรือการสอบ ศธ.จะประกาศภายใน 1-2 สัปดาห์ว่าต้องสอบหรือไม่ แต่ ม.6 อย่างไรต้องสอบ ส่วนชั้นอื่นถ้าสอบจะปรับตัวชี้วัดให้ได้เกณฑ์ที่สามารถสอนได้ในปีโควิดนี้ เพื่อให้ถูกวัดผลได้ยุติธรรม 
5. กรณีปิดโรงเรียน หากพบผู้ต้องสงสัยอยู่ในเกณฑ์เป็น เราจะคัดแยกและให้หยุด 14 วัน ระหว่างนั้นแจ้งผู้ปกครอง และแจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเพื่อตรวจ ระหว่างตรวจยังเรียนหนังสืออยู่ ถ้าตรวจไม่พบก็จบยังเรียนได้ ถ้าพบต้องหยุด 14 วัน โรงเรียนหยุด 3 วันเพื่อทำความสะอาด และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขจะมาดูว่าใครสัมผัสใกล้ชิด และให้หยุดดูอาการ 14 วัน ส่วนใครอยู่ใกล้ใคร ศบค.ประสานกับ ศธ.ให้เราใช้ไทยชนะด้วย ซึ่งมีที่ทำได้และทำไม่ได้ เด็กโตอาจทำได้ ส่วนเด็กเล็กก็จะจดว่า เด็กคนนี้มาเรียนนั่งอยู่กับใคร ซึ่ง ศธ.จะสอบย้อนหลังได้
6. โรงเรียนชายขอบ เช่น จากประเทศเพื่อนบ้านที่จะมาเรียนไปกลับ หรือพ่อแม่ไปทำงานประเทศเพื่อนบ้าน เรายังไม่ให้เข้า เด็กเหล่านี้จะข้ามมาเรียนไม่ได้ จนกว่าประกาศผ่อนปรน หรือต้องข้ามมากักตัว 14 วัน และไม่กลับไปแล้ว อย่างไรก็ตาม เพื่อไม่ให้มีปัญหามาก ให้การเรียนการสอนเป็นไปได้เต็มรูป โรงเรียนชายขอบได้ประสาน ตม.ทั้งหมดแล้ว โดยมีกล่องและครูเอาใบงานไปใส่ เด็กมาเอาใบงานและเอาการบ้านมาส่ง ไม่ต้องเจอกัน เรียนผ่านทีวี

เมื่อถามถึงโรงเรียนที่เริ่มเปิดเทอมไปวันที่ 15 มิ.ย.แล้วต้องนมาปรับปรุงอย่างไรบ้าง นายวราวิชกล่าวว่า ที่เปิดไปแล้วมีโรงเรียนนานาชาติและโรงเรียนกวดวิชาประมาณเกือบ 600 แห่ง ก็ได้ศึกษาอุปสรรคในการจัดการรียน ที่เราห่วงคือการเว้นระยะห่าง เท่าที่ดูก็ไม่มีแห่งใดมีปัญหา ตอนนี้ก็ยังไม่มีผู้ติดเชื้อ ก็ยังดูแลสถานการณ์ได้ดี


เปิดเทอมครั้งนี้ นักเรียนและคุณครูผู้สอนล้วนมีปัญหาในการเรียนการสอน ทั้งเรื่องเวลาที่มีน้อยเมื่อเทียบกับเนื้อหาที่นักเรียนจะต้องเรียน รวมถึงการต้องคอยระมัดระวังเรื่องสุขภาพของนักเรียนและคุณครูอันเนื่องจากการระบาดของไวรัส โควิต-19 ทำให้การจัดการเรียนการสอนของห้องเรียนที่มีนักเรียนมากเกินจำนวนที่กำหนด อาจต้องแบ่งเวลาเรียนตามคำแนะนำของกระทรวงศึกษาฯ นั่นทำให้เวลาเรียนของนักเรียนน้อยลงไปอีก และการเรียนๆ หยุดๆ สำหรับนักเรียนประถม และมัธยมต้น ไม่ใช่เรื่องดีซักท่าไหร่

นักเรียนในระดับชั้นประถมและมัธยมต้น การจะให้เรียนออนไลน์เองเป็นเรื่องที่ยากพอสมควร ถึงเรียนเองได้ก็ยากที่จะทำความเข้าใจบทเรียนนั้นๆ และสำหรับบางวิชาการไม่เข้าใจเรื่องหนึ่งอาจมีผลถึงการเรียนเนื้อหาต่อไปได้ ถ้าบ้านไหนคุณพ่อคุณแม่มีเวลาอยู่กับลูกในช่วงที่เรียนออนไลน์ก็อาจแนะนำและพูดคุยเรื่องการเรียนกับลูกๆได้ แต่ผู้ปกครองบางท่านก็ไม่มีเวลาแบบนั้น

ปัญหานี้คิดว่าหลายๆบ้าน และหลายๆโรงเรียนต้องเจอแน่นอน การแก้ปัญหานี้มีหลายแบบ อาจจะให้น้องๆไปเรียนพิเศษ แต่จะมีโรงเรียนกวดวิชาไหนที่จะเปิดสอนตามเวลาที่คุณพ่อคุณแม่ต้องการได้ เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ยากจริงๆ

หวังว่าคุณพ่อคุณแม่ทุกท่านคงหาทางออกนี้ได้อย่างเหมาะสมทุกท่าน


-->

-->
powered by Surfing Waves


Total Rating ✔

9.2 stars – 2,789 reviews

More Reviews

แสดงความคิดเห็น

เปิดเทอม 1 ก.ค. 2563 การเรียนการสอนในโรงเรียนเป็นอย่างไร? จะมีปัญหาเรื่องการเรียนหรือไม่?

โควิด-19, บทความจาก TutorFerry, เปิดเทอม2563, News