สำรวจ
รีวิว
สอบเข้า
ออนไลน์

ครูสอนพิเศษ คุณภาพอันดับ1

หาครูสอนพิเศษตัวต่อตัว คลิกเลย

ค้นหาด้วยเสียง
ค้นหาด้วยเสียงคลิกที่นี่

» » TGAT3 93 สมรรถนะการทำงาน โครงสร้างข้อสอบและตัวอย่างข้อสอบ #TCAS66

17 กรกฎาคม 2565

TGAT3 93 สมรรถนะการทำงาน โครงสร้างข้อสอบและตัวอย่างข้อสอบ #TCAS66

โครงสร้างข้อสอบ TGAT3 ประเภทข้อสอบ ปรนัย (4 ตัวเลือก) เพื่อวัดทัศนคติ 4 ระดับ ทุกคำตอบจะมีคะแนนอยู่ในช่วงระหว่าง 0-1 คะแนน การตอบคำถาม มี 2 แบบ คือ

TGAT3 93 สมรรถนะการทำงาน โครงสร้างข้อสอบและตัวอย่างข้อสอบ #TCAS66



โครงสร้างข้อสอบ TGAT3

ประเภทข้อสอบ ปรนัย (4 ตัวเลือก)

เพื่อวัดทัศนคติ 4 ระดับ ทุกคำตอบจะมีคะแนนอยู่ในช่วงระหว่าง 0-1 คะแนน

การตอบคำถาม มี 2 แบบ คือ

1) เลือกตอบตัวเลือกเดียว

2) เลือกตอบหลายตัวเลือก

ระยะเวลาที่ใช้สอบ 60 นาที

จำนวนข้อ

  • การสร้างคุณค่าและนวัตกรรม 15 ข้อ
  • การแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อน 15 ข้อ
  • การบริหารจัดการอารมณ์ 15 ข้อ
  • การเป็นพลเมืองที่มีส่วนร่วมของสังคม 15 ข้อ

รวม 60 ข้อ

คะแนนเต็ม 100 คะแนน

1) การสร้างคุณค่าและนวัตกรรม 15 ข้อ

1.1 การคิดเชิงวิเคราะห์ (Analytical thinking) ความเข้าใจในการกำหนดวิธีการรวบรวมประเด็น เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น รวมทั้งมีหลักการในการสรุปผลการวิเคราะห์และแยกแยะข้อมูลที่ได้รับออกเป็นปัจจัยย่อย ๆ เช่น สาเหตุ ผลลัพธ์ ผลกระทบ ข้อเสนอแนะ และผู้ที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น

1.2 การแก้ไขปัญหาอย่างมืออาชีพ (Professional problem solving) ความสามารถในการวิเคราะห์ปัญหาหรือเล็งปัญหา พร้อมทั้งลงมือจัดการกับปัญหานั้น ๆ อย่างมี ข้อมูล มีหลักการ และสามารถนำความเชี่ยวชาญ หรือแนวคิดในสายวิชาชีพมาประยุกต์ใช้ในการ แก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

1.3 ความคิดเชิงนวัตกรรม (Innovative thinking) การนำเสนอความคิดสร้างสรรค์ทางเลือก สินค้าและบริการรูปแบบใหม่ พร้อมทั้งการปรับเปลี่ยน กลยุทธ์ นโยบาย และรูปแบบการดำเนินงานให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม รวมถึงการพูดจูงใจผู้อื่น นำเสนอความคิดและรูปแบบของสินค้า บริการ และวิธีการดำเนินงานรูปแบบใหม่

2) การแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อน 15 ข้อ

2.1 การระบุปัญหา (Identifying problems) ประกอบด้วย ทำความเข้าใจบริบทแวดล้อม การระบุและทำความเข้าใจปัญหา การมีส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวข้องในการระบุปัญหา

2.2 การแสวงหาทางออก (Generating and selecting solutions) ประกอบด้วย การสร้างและหาทางเลือก และการประเมินทางเลือกที่เหมาะสม

2.3 การนำทางออกไปแก้ปัญหา (Implementation) ประกอบด้วย การปฏิบัติตามแผน และการปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสม

2.4 การประเมินทางออกเพื่อการพัฒนาปรับปรุง (Evaluation) ประกอบด้วย เก็บข้อมูลจากการนำทางออกไปลองใช้ และสรุปผลจากการนำทางออกไปลองใช้

3) การบริหารจัดการอารมณ์ 15 ข้อ

3.1 ความตระหนักรู้ตนเอง (Self awareness) การรับรู้ ควบคุมสภาพอารมณ์ และทัศนคติ เพื่อรักษาอารมณ์ และประสิทธิภาพของตนเอง แม้ในสถานการณ์ที่ตึงเครียดหรือมีภาระสูง มีความตระหนักถึงจุดแข็งของตนเอง รวมถึงจุดที่ต้องพัฒนา โดยมีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

3.2 การควบคุมอารมณ์และบุคลิกภาพ (Personality and emotional control) ความสามารถในการแสดงออก ทางสีหน้า ท่าทาง และอารมณ์ได้อย่างเหมาะสม เมื่อต้องเผชิญกับบุคคล ลักษณะงาน และสถานการณ์ที่ตึงเครียด รวมถึงการให้คำปรึกษา แนะนำและสอนผู้อื่น ให้ควบคุมอารมณ์และบุคคลิภาพได้อย่างเหมาะสม

3.3 ความเข้าใจผู้อื่น (Interpersonal understanding) ความเข้าใจความต้องการ ความกังวล และความรู้สึกของผู้อื่น ทั้งสิ่งที่แสดงออกและไม่แสดงออก และความสามารถในการตอบสนอง และให้ความช่วยเหลือได้อย่างเหมาะสม และเท่าเทียมกัน

4) การเป็นพลเมืองที่มีส่วนร่วมของสังคม 15 ข้อ

4.1 การมุ่งเน้นการบริการสังคม (Service orientation) การคิด และทำสิ่งต่าง ๆ โดยมีความต้องการของสังคมและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอยู่ในใจเสมอ โดยมุ่งเน้นการศึกษา และทำความเข้าใจความต้องการต่าง ๆ แสดงถึงความมุ่งมั่นต้องการช่วยเหลือผู้อื่นอย่างแท้จริง พร้อมพัฒนาและ รักษาความสัมพันธ์ที่ดีอย่างยั่งยืน

4.2 จิตสำนึกและรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม (Environmental responsibility) การมีจิตสำนึก ตระหนักให้ความสำคัญ มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งมีความมุ่งมั่นและทุ่มเทที่จะอนุรักษ์ และรักษาสิ่งแวดล้อม สังคม และชุมชนให้น่าอยู่ ตลอดจนเข้าไปมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงาน หรือร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสังคม และสิ่งแวดล้อมขององค์กรอย่างเต็มที่ เพื่อเกิดประโยชน์ต่อชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อมโดยรวม

4.3 การสร้างสรรค์เพื่อประโยชน์ของท้องถิ่น (Creating local benefits) ความสามารถในการคิดค้น ออกแบบ และสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ที่แปลกและแตกต่างไปจากเดิม โดยการมุ่งเน้นพัฒนาและสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ที่เป็นประโยชน์ในระยะยาว และยั่งยืนให้แก่ประชาชน พื้นที่ หรือท้องถิ่นที่รับผิดชอบอย่างเป็นรูปธรรม

ตัวอย่างข้อสอบ

1. การสร้างคุณค่าและนวัตกรรม

แนวทางการออกข้อสอบ
  • การวิเคราะห์ชั้นเดียวจากข้อมูลที่ได้รับจากโจทย์
  • Critical thinking + Data sufficiency + Logical reasoning เช่น การคิดต้นทุนของสินค้า การกำหนดประเด็นสนับสนุน หรือประเด็นโต้แย้งกับข้อความที่ให้มา ความเพียงพอของข้อมูลในการแก้โจทย์ปัญหา
  • Design thinking: 5 stages of design thinking process
  • ให้นักเรียนเลือกตอบตัวเลือกเดียว เกณฑ์การให้คะแนน คือ คะแนนจะลดหลั่นตามความถูกต้องของคำตอบ ตั้งแต่ 0.25-1 คะแนน
 

ข้อ 1. บิวกิ้นเป็นลูกชาวสวนมะม่วง เมื่อมีโควิด 19 เขาจึงกลับไปเรียนออนไลน์ที่บ้านเกิด และได้ช่วยครอบครัวทำงาน ปีนี้ฝนฟ้าดี ชาวสวนมะม่วงได้ผลผลิตจำนวนมาก ส่งผลให้ราคารับซื้อมะม่วงหน้าสวนลดลง จากที่เคยขายได้กิโลกรัมละ 20 บาท เหลือเพียงกิโลกรัมละ 10 บาท ชาวสวนข้างเคียงได้นำมะม่วงบางส่วนมาแปรรูปเป็นมะม่วงกวน ถ้านักเรียนเป็นบิวกิ้น นักเรียนจะทำอย่างไร

คำตอบ
1.ขายมะม่วงกิโลกรัมละ 20 บาทตามเดิม
2.ขายมะม่วงกิโลกรัมละ 8 บาท เพื่อตัดราคา
3.นำมะม่วงบางส่วนมาแปรรูปเป็นมะม่วงกวน เหมือนชาวสวนข้างเคียง
4.นำมะม่วงบางส่วนมาแปรรูป โดยให้แตกต่างจากชาวสวนข้างเคียง

คำตอบที่ได้คะแนนสูงสุดคือ ข้อ 4
เฉลย/เหตุผลและแนวคิดในการตอบคำถาม
1.ขายมะม่วงกิโลกรัมละ 20 บาทตามเดิม    (0.25)
2.ขายมะม่วงกิโลกรัมละ 8 บาท เพื่อตัดราคา    (0.50)
3.นำมะม่วงบางส่วนมาแปรรูปเป็นมะม่วงกวน เหมือนชาวสวนข้างเคียง    (0.75)
4.นำมะม่วงบางส่วนมาแปรรูป โดยให้แตกต่างจากชาวสวนข้างเคียง    (1.00)

ข้อ 2. ลิซ่าเป็นผู้หญิงที่มีรูปร่างสูงและมีน้ำหนักตัวที่น้อย มักจะพบความลำบากในการหาเดรสที่มีขนาดพอดีตัวมาสวมใส่ เธอจึงมองเห็นโอกาสในการทำธุรกิจ ด้วยความมุ่งมั่นที่จะทำแบรนด์เสื้อผ้าสำหรับคนที่มีหุ่นรูปร่างแบบเธอได้สวมใส่โดยเฉพาะ เธอได้ลองผิดลองถูกด้วยตนเองอยู่ 3 เดือน จนในที่สุดก็ได้เดรสต้นแบบขึ้นมา 1 ชุด ถ้านักเรียนเป็นลิซ่า นักเรียนจะทำอย่างไรในลำดับถัดไป

คำตอบ
1.นำเดรสต้นแบบ มาให้ญาติทุกคนลองสวมใส่
2.จ้างผลิตจำนวน 1,000 ตัว เพื่อเตรียมวางขาย
3.นำเดรสต้นแบบ ไปขอความเห็นจากเพื่อน ๆ ที่มีรูปร่างแบบเธอ
4.หาช่องทางส่งออกเดรส ไปยังต่างประเทศ

คำตอบที่ได้คะแนนสูงสุดคือ ข้อ 3
เฉลย/เหตุผลและแนวคิดในการตอบคำถาม
1.นำเดรสต้นแบบ มาให้ญาติทุกคนลองสวมใส่    (0.75)
2.จ้างผลิตจำนวน 1,000 ตัว เพื่อเตรียมวางขาย   (0.50)
3.นำเดรสต้นแบบ ไปขอความเห็นจากเพื่อน ๆ ที่มีรูปร่างแบบเธอ    (1.00)
4.หาช่องทางส่งออกเดรส ไปยังต่างประเทศ    (0.25)


ข้อ 3. ลูกคิดกับลูกน้ำเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ทั้งสองคนรู้จักกันที่งานเปิดบ้านของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ต่อมาได้คบกันทำให้กลายมาเป็นเพื่อนกันตั้งแต่นั้นมา หลังจากลูกน้ำรู้ว่าลูกคิดเป็นคนที่มีความรู้เกี่ยวกับสมาร์ตโฟนเป็นอย่างมาก จึงได้สอบถามเพื่อขอความช่วยเหลือจากลูกคิด ให้ช่วยแนะนำสมาร์ตโฟนเครื่องใหม่ให้ที ถ้านักเรียนเป็นลูกคิด นักเรียนจะทำอย่างไรในลำดับถัดไป

คำตอบ
1.สอบถามเพื่อหาสาเหตุว่า ทำไมลูกน้ำถึงอยากซื้อสมาร์ตโฟนใหม่
2.แนะนำรุ่นที่สเปกดีที่สุด ในตลาดตอนนี้ให้
3.ปฏิเสธการช่วยเหลือ เพราะว่าลูกน้ำทำตัวอวดรวย
4.หาข้อมูลสมาร์ตโฟนที่ราคาเหมาะสมกับนักเรียน จำนวน 3 รุ่น แล้วส่งให้ลูกน้ำเลือกเอง

คำตอบที่ได้คะแนนสูงสุดคือ ข้อ 1
เฉลย/เหตุผลและแนวคิดในการตอบคำถาม
1.สอบถามเพื่อหาสาเหตุว่า ทำไมลูกน้ำถึงอยากซื้อสมาร์ตโฟนใหม่    (1.00)
2.แนะนำรุ่นที่สเปกดีที่สุด ในตลาดตอนนี้ให้    (0.50)
3.ปฏิเสธการช่วยเหลือ เพราะว่าลูกน้ำทำตัวอวดรวย    (0.25)
4.หาข้อมูลสมาร์ตโฟนที่ราคาเหมาะสมกับนักเรียน จำนวน 3 รุ่น แล้วส่งให้ลูกน้ำเลือกเอง    (0.75)

Total Rating ✔

9.2 stars – 2,789 reviews

More Reviews

แสดงความคิดเห็น

TGAT3 93 สมรรถนะการทำงาน โครงสร้างข้อสอบและตัวอย่างข้อสอบ #TCAS66

ข่าวการศึกษา, DEK66, News, Tcas, TGAT3