สำรวจ
รีวิว
สอบเข้า
ออนไลน์

15 สิงหาคม 2558

เรียนภาษาญี่ปุ่น : รู้จักตัวอักษรคันจิ

อันดับ1 ครูสอนพิเศษ เรียนพิเศษที่บ้าน กับทีมติวเตอร์คุณภาพ

พัฒนาการในญี่ปุ่น

แม้ว่าในอดีต ภาษาญี่ปุ่นจำเป็นต้องเขียนด้วยอักษรจีน แต่ในปัจจุบันก็มีความแตกต่างระหว่างอักษรคันจิของญี่ปุ่นและอักษรจีนอย่างมาก ตัวอย่างเช่น ตัวอักษรที่ญี่ปุ่นประดิษฐ์ขึ้นเอง ตัวอักษรเดียวกันแต่มีความหมายภาษาจีนและภาษาญี่ปุ่นต่างกัน และการย่ออักษรคันจิที่เรียกว่า ชินจิไท (新字体, 新字體 Shinjitai) หลังสงครามโลกครั้งที่สอง

โคะคุจิ

โคะคุจิ (ญี่ปุ่น: 国字 Kokuji ?) อันแปลว่า ตัวอักษรแห่งชาตินั้น หมายถึง ตัวอักษรคันจิที่ประดิษฐ์ขึ้นในญี่ปุ่น หรือ "วะเซคันจิ" (ญี่ปุ่น: 和製漢字 Wasei kanji ?) อักษรโคะคุจิมีอยู่หลายร้อยตัว แต่ใช้กันบ่อยๆเพียงไม่กี่ตัว ตัวอย่างของอักษรโคะคุจิที่ใช้กันทั่วไปมีดังต่อไปนี้
  • 峠 (とうげ tōge) แปลว่า สันเขา
  • 榊 (さかき sakaki) แปลว่า ต้นซะคะคิ
  • 畑 (はたけ hatake) แปลว่า ทุ่ง, ไร่
  • 辻 (つじ tsuji) แปลว่า ถนน, ทางแยก
  • 働 (どう dō, はたら(く) hatara(ku)) แปลว่า งาน, ทำงาน
  • 腺 (せん sen) แปลว่า ต่อม (ตัวอักษรตัวนี้ได้นำไปเผยแพร่ในประเทศจีนด้วย)

คกคุน

คกคุน (ญี่ปุ่น: 国訓 Kokkun ?) หมายถึง ตัวอักษรจีน ที่ชาวญี่ปุ่นให้ความหมายภาษาญี่ปุ่นต่างไปจากความหมายดั้งเดิมในภาษาจีน ตัวอย่างเช่น
  • 藤 ภาษาญี่ปุ่น: fuji, ฟุจิ แปลว่า ต้นวิสเทอเรีย แต่ ภาษาจีนกลาง: téng, เติ๋ง แปลว่า หวาย, อ้อย
  • 沖 ภาษาญี่ปุ่น: oki, โอะคิ แปลว่า ห่างจากชายฝั่ง แต่ ภาษาจีนกลาง: chōng, ชง แปลว่า ชำระล้าง
  • 椿 ภาษาญี่ปุ่น: tsubaki, สึบะกิ แปลว่า ดอกคาเมลเลีย แต่ ภาษาจีนกลาง: chūn, ชุน แปลว่า ต้นไม้แห่งสวรรค์ (Ailanthus, ต้นไม้วงศ์มะยมป่า)

เสียงของคันจิ

เนื่องจากอักษรคันจิคืออักษรจีนที่นำมาใช้ในภาษาญี่ปุ่น อักษรคันจิหนึ่งจึงตัวอาจอ่านได้หลายแบบ อาจถึงสิบแบบหรือมากกว่านั้น ขึ้นอยู่กับรูปประโยค เป็นคำประสม หรือตำแหน่งคำในประโยคนั้นๆ การอ่านออกเสียงตัวอักษรคันจินั้นแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
  1. เสียงอง (ญี่ปุ่น: 音読み on'yomi ?) แปลว่า อ่านเอาเสียง เป็นการออกเสียงคันจิของคำนั้นตามเสียงภาษาจีน
  2. เสียงคุน (ญี่ปุ่น: 訓読み kun'yomi ?) แปลว่า อ่านเอาความหมาย เป็นการออกเสียงคันจิของคำนั้นในภาษาญี่ปุ่น
ตัวอย่างเช่น 泉 จากคำว่า 温泉 (onsen) มีเสียงองคือ せん (sen) ส่วนเสียงคุนคือ いずみ (izumi) มีความหมายว่าน้ำพุ อย่างไรก็ตามมีหลายคำในภาษาญี่ปุ่นที่อ่านออกเสียงไม่ตรงกับคันจิที่เขียน ซึ่งเป็นการอ่านแบบพิเศษ โดยผู้ที่เรียนภาษาญี่ปุ่นจำเป็นต้องจดจำข้อยกเว้นเหล่านี้เอง เนื่องจากการใช้คันจิสื่อความหมายมากกว่าเสียง ตัวอย่างเช่น 上手 อ่านว่า じょうず (jouzu) แปลว่า เก่ง, เชี่ยวชาญ โดยประกอบจากคันจิ 2 ตัวคือ 上 หมายความว่า "ข้างบน, เหนือ" และ 手 หมายความว่า "มือ" ทั้งที่ปกติแล้ว 手 จะไม่อ่านออกเสียงว่า ず (zu)

เสียงอง (การอ่านแบบจีน)

องโยะมิ (ญี่ปุ่น: 音読み on'yomi ?) หรือ เสียงอง เป็นการอ่านคันจิในเสียงภาษาจีนแต่สำเนียงญี่ปุ่น ใช้สำหรับคำภาษาญี่ปุ่นที่ยืมจากภาษาจีน หรือ "คังโกะ" (漢語 Kango) ซึ่งคำเหล่านี้นำเข้ามาใช้ในญี่ปุ่นตั้งแต่สมัยโบราณ จากหลากหลายภูมิภาคและยุคสมัยของจีน คำเดียวกันจึงออกเสียงต่างกันไป อย่างไรก็ตาม สำหรับอักษรคันจิที่ประดิษฐ์ขึ้นในญี่ปุ่นเอง จะไม่มีเสียงอง ยกเว้นคันจิบางตัว เช่น 働 ซึ่งแปลว่า ทำงาน นั้นมีทั้งเสียงองและเสียงคุน เสียงอง คือ dō และเสียงคุน คือ hatara(ku) ส่วน 腺 ที่แปลว่า ต่อม เป็นคันจิที่ญี่ปุ่นประดิษฐ์เอง แต่มีแต่เสียงอง คือ sen ไม่มีเสียงคุน
องโยะมิ สามารถแบ่งได้ 4 กลุ่มดังนี้
  1. โกะอง (ญี่ปุ่น: 呉音 go-on ?) หรือ เสียงอู๋ เป็นการออกเสียงที่รับเข้ามาในยุคราชวงศ์เหนือใต้ของจีน หรืออาณาจักรแพกเจของเกาหลี ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 5 และคริสต์ศตวรรษที่ 6 "โกะ" หมายถึง แคว้นอู๋ หรือง่อก๊ก (บริเวณใกล้เคียงเมืองเซี่ยงไฮ้ในปัจจุบัน) แต่ไม่ได้มีความสัมพันธ์กับภาษาจีนอู๋แต่อย่างใด
  2. คันอง (ญี่ปุ่น: 漢音 kan-on ?) หรือ เสียงฮั่น เป็นการออกเสียงที่รับเข้ามาในยุคราชวงศ์ถัง ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 7 ถึง คริสต์ศตวรรษที่ 9 ส่วนใหญ่มาจากสำเนียงของเมืองหลวงในเวลานั้น คือ ฉางอาน (長安) ซึ่งปัจจุบันคือเมือง ซีอาน (西安) คำว่า "คัน" หมายถึง ชนชาติฮั่น (漢) อันเป็นชนส่วนใหญ่ของประเทศจีน
  3. โทอง (ญี่ปุ่น: 唐音 tō-on ?) หรือ เสียงถัง เป็นการออกเสียงที่รับเข้ามาในช่วงราชวงศ์หลังๆ ของจีน เช่น ราชวงศ์ซ่ง (宋) และ ราชวงศ์หมิง (明) การอ่านคันจิในยุคเฮอัง และยุคเอะโดะ จะอ่านตามสำเนียงนี้ หรือเรียกกันว่า "โทโซอง" (唐宋音, tōsō-on).
  4. คันโยอง (ญี่ปุ่น: 慣用音 kan'yō-on ?) แปลตามศัพท์ได้ว่า เสียงอ่านที่เป็นที่ยอมรับ เป็นการอ่านที่ออกเสียงผิดมาตั้งแต่เริ่มใช้คำคำนั้น แต่ได้ใช้กันต่อมาจนเป็นที่ยอมรับในที่สุด
ตัวอย่าง
(คำอ่านในวงเล็บเป็นคำอ่านที่ไม่ค่อยพบ)



การอ่านคันจิ ตามเสียงองส่วนมาก จะเป็นเสียงคันอง สำหรับโกะอง จะอยู่ในศัพท์ทางพุทธศาสนา เช่น 極楽 (gokuraku, สวรรค์) และอยู่ในคำภาษาญี่ปุ่นที่ยืมจากภาษาจีน (คังโกะ) ยุคแรก เช่น ตัวเลข เป็นต้น ส่วนโทองนั้น อยู่ในคันจิยุคหลังๆบางคำ เช่น 椅子 (isu, เก้าอี้) 布団 (futon, ฟูกปูนอน) และ 行灯 (andon, โคมกระดาษ) เป็นต้น

ในภาษาจีน อักษรจีนหนึ่งตัวส่วนมากจะอ่านได้เพียงเสียงเดียว ยกเว้น อักษรบางตัวอ่านได้หลายเสียงและให้ความหมายต่างกัน หรือเป็นคำพ้องรูป (ภาษาจีนกลาง: 多音字, duōyīnzì) เช่น 行 (พินอิน: háng แปลว่า แถว, มืออาชีพ หรือ xíng แปลว่า เดินทาง, ปฏิบัติ) (ภาษาญี่ปุ่น: gō, gyō) ซึ่งคุณลักษณะนี้ ได้ถ่ายทอดสู่ภาษาญี่ปุ่นเช่นกัน

นอกจากนี้ คำภาษาจีนยุคกลาง (ภาษาจีนกลาง:中古漢語, Zhōnggǔ Hànyǔ, Middle Chinese) บางคำจะมี Entering tone (入聲, rùshēng) คือเสียงของคำที่สะกดด้วย ป, ต, ก คล้ายกับคำตายในภาษาไทย คุณลักษณะนี้ไม่มีในภาษาญี่ปุ่น ซึ่งมีระบบเสียงพยางค์เป็นแบบพยัญชนะ-สระ (Consonant-Vowel, CV) หรือกล่าวง่ายๆว่าภาษาญี่ปุ่นไม่มีตัวสะกดนั่นเอง ดังนั้น เสียงองของคำเหล่านี้ จึงต้องประกอบด้วย 2 ช่วงเสียง (Mora) ในพยางค์เดียว แต่ช่วงเสียงหลังเป็นเสียงที่เบากว่าช่วงเสียงแรก ช่วงเสียงหลังนี้ มักจะใช้เสียง i, ku, ki, tsu, chi หรือ n เสียงใดเสียงหนึ่ง แทนเสียงตัวสะกดของคำยืมจากภาษาจีนยุคกลางดังกล่าว อาจเป็นไปได้ว่า เสียงควบ หรือโยอง (拗音, Yōon) ในภาษาญี่ปุ่น มีที่มาจากการยืมคำภาษาจีน เนื่องจากคำภาษาญี่ปุ่นดั้งเดิมไม่มีคุณลักษณะนี้

เสียงองมักจะอยู่ในคำประสมที่เขียนด้วยคันจิสองตัว (熟語, Jukugo) โดยชาวญี่ปุ่นได้ยืมคำภาษาจีนเหล่านี้มาใช้ ซึ่งเหมือนกับการที่ภาษาไทย ยืมคำภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต และภาษาเขมรมาใช้ การยืมภาษาอยู่บนพื้นฐานที่ว่า ภาษาดั้งเดิมยังไม่มีคำให้เรียกสิ่งนั้น ยืดยาวไม่กระชับ ไม่เฉพาะเจาะจง หรือไม่ไพเราะ คำยืมจะให้ความรู้สึกไพเราะ เป็นทางการ และหรูหรามากหว่า แต่หลักการอ่านคำประสมนี้ไม่ครอบคลุมถึงการอ่านชื่อของชาวญี่ปุ่นทั่วไป ที่นามสกุล หรือชื่อ หรือทั้งนามสกุลและชื่อ ประกอบด้วยอักษรคันจิสองตัว แต่จะอ่านด้วยเสียงคุน (อย่างไรก็ตาม เสียงองก็ยังพบได้ในชื่อตัว โดยเฉพาะชื่อตัวของผู้ชาย)

เสียงคุน (การอ่านแบบญี่ปุ่น)

คุนโยะมิ (ญี่ปุ่น: 訓読み Kun'yomi ?) หรือ เสียงคุน แปลตามตัวอักษรได้ว่า อ่านเอาความหมาย เป็นการอ่านคันจิโดยใช้คำภาษาญี่ปุ่นดั้งเดิม หรือยะมะโตะโคะโตะบะ (大和言葉 Yamato kotoba) ที่มีความหมายใกล้เคียงกับตัวอักษรจีนนั้น คันจิหนึ่งตัวสามารถมีเสียงคุนได้หลายเสียงเช่นเดียวกับเสียงอง แต่คันจิบางตัวไม่มีเสียงคุนเลยก็ได้

ตัวอย่างเช่น 東 ที่แปลว่า ทิศตะวันออก มีเสียงองคือ tō แต่ภาษาญี่ปุ่นก็มีคำที่แปลว่าทิศตะวันออกอยู่แล้ว คือ higashi และ azuma ดังนั้นเสียงคุนของ 東 คือ higashi และ azuma ในทางตรงกันข้าม 寸 (ภาษาจีนกลาง: cùn) ซึ่งหมายถึง หน่วยวัดความยาวหน่วยหนึ่งของจีน (ประมาณ 30 มิลลิเมตร หรือ 1.2 นิ้ว) ญี่ปุ่นไม่มีหน่วยที่สามารถเทียบได้ คันจิตัวนี้จึงมีแต่เสียงอง คือ sun และไม่มีเสียงคุน อักษรโคะคุจิ (อักษรคันจิที่ประดิษฐ์ขึ้นในญี่ปุ่น) จะมีแค่เสียงคุน ไม่มีเสียงอง
เสียงคุน มีโครงสร้างพยางค์แบบ(พยัญชนะ)สระ หรือ (C)V ซึ่งเป็นโครงสร้างพยางค์ของคำญี่ปุ่นแท้ (ยะมะโตะโคะโตะบะ) เสียงคุนของคำนามและคำคุณศัพท์ปกติจะยาว 2-3 พยางค์ ในขณะที่ เสียงคุนของคำกริยายาว 1-2 พยางค์ โดยจะไม่นับอักษรฮิระงะนะเรียกว่า โอะกุริงะนะ ซึ่งอยู่ท้ายคันจิ เนื่องจากโอะกุริงะนะเป็นเพียงตัวเสริมคำ ไม่ได้เป็นเสียงหนึ่งของคันจิตัวนั้น ผู้ที่เพิ่งเริ่มศึกษาคันจิมักจะจดจำการอ่านคันจิที่มีเสียงคุนหลายพยางค์ได้ยาก อย่างไรก็ตาม คันจิที่มีเสียงคุน 3-4 พยางค์หรือมากกว่านั้นก็มีอยู่น้อย ตัวอย่างเช่น 承る (uketamawaru ได้ยิน รับรู้) และ 志 (kokorozashi ความตั้งใจ ) มีเสียงคุน 5 พยางค์ในคันจิตัวเดียว ถือเป็นคันจิที่มีเสียงคุนยาวที่สุดในคันจิชุดโจโยคันจิ

ในหลายกรณี คำภาษาญี่ปุ่นคำเดียวอาจเขียนได้ด้วยคันจิหลายตัว โดยเมื่อเขียนต่างกัน ก็จะให้ความรู้สึกของคำต่างกัน แต่ความหมายใกล้เคียงกัน ตัวอย่างเช่น คำว่า なおす(naosu) เมื่อเขียนด้วย 治す จะแปลว่า "รักษาอาการป่วย" แต่เมื่อเขียนด้วย 直す จะแปลว่า "ซ่อมแซม หรือแก้ไข" บางครั้ง เมื่อเขียนต่างกัน ความหมายก็ต่างกันอย่างชัดเจน แต่ก็ไม่เสมอไป นักวิชาการผู้เขียนหนังสืออ้างอิงต่างๆ เช่น พจนานุกรม ก็อาจมีความเห็นต่อคันจิประเภทนี้ต่างกัน พจนานุกรมเล่มหนึ่งบอกว่าความหมายคล้ายกัน อีกเล่มอาจบอกว่าต่างกันก็ได้ ดังนั้น ชาวญี่ปุ่นเองก็อาจสับสนได้ว่าควรจะใช้คันจิตัวไหนในการเขียนคำประเภทนี้ จนสุดท้าย เพื่อหลีกเลี่ยงความผิดพลาดในการใช้คันจิ ก็ต้องเขียนเป็นฮิระงะนะในที่สุด ตัวอย่างของคำที่เขียนได้ด้วยคันจิอีกคำ คือ もと (moto) เขียนได้ด้วยคันจิอย่างน้อย 5 ตัว ได้แก่ 元, 基, 本, 下, และ 素 ซึ่งมีคันจิ 3 ตัวที่มีความหมายแทบไม่ต่างกัน

การอ่านคันจิด้วยภาษาท้องถิ่นของญี่ปุ่น ก็จัดอยู่ในเสียงคุนเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภาษาริวกันอัน ในแถบหมู่เกาะทางใต้ของญี่ปุ่น

เสียงอ่านแบบอื่นๆ

จูบะโกะ (ญี่ปุ่น: 重箱  jūbako) หรือ ยุโต ญี่ปุ่น: 湯桶  yutō ?) คือ คำประสมคันจิหลายตัวที่อ่านด้วยเสียงองและเสียงคุนผสมกัน ซึ่งชื่อทั้งสองเองก็เป็นคำประสมประเภทนี้ด้วยเช่นกัน โดยคำประเภทจูบะโกะ คันจิตัวแรกจะอ่านด้วยเสียงอง และตัวหลังอ่านด้วยเสียงคุน แต่คำแบบยุโต จะอ่านผสมทั้งเสียงองและเสียงคุน ตัวอย่างเช่น 場所 (basho, คุน-อง สถานที่) 金色 (kin'iro, อง-คุน สีทอง) และ 合気道 (aikidō, คุน-อง-อง ไอคิโด) เป็นต้น
นะโนะริ (ญี่ปุ่น: 名乗り nanori ?) คือ คันจิบางตัวที่ไม่ค่อยมีผู้รู้วิธีอ่าน มักจะใช้กับชื่อบุคคล และมันจะอ่านด้วยเสียงคุน บางครั้งก็ใช้กับชื่อสถานที่ ซึ่งอ่านแบบพิเศษ และไม่ใช้กับสิ่งอื่น

กิคุน (ญี่ปุ่น: 義訓 gikun ?) หรืออีกชื่อคือ จุคุจิคุน (ญี่ปุ่น: 熟字訓 jukujikun ?) คือ การอ่านคำประสมคันจิที่ไม่ได้ไม่ได้แยกตามคันจิแต่ละตัว และไม่คำนึงว่าคันจิตัวนั้นจะออกเสียงองหรือเสียงคุน แต่จะอ่านด้วยคำภาษาญี่ปุ่นดั้งเดิมตามความหมายของคำประสมนั้น ตัวอย่างเช่น 今朝 (เช้านี้) ไม่ได้อ่านว่า ima'asa (เสียงคุน) หรือ konchō (เสียงอง) แต่จะอ่านด้วยภาษาญี่ปุ่นดั้งเดิม 2 พยางค์ว่า kesa (เช้านี้)
อะเตะจิ (ญี่ปุ่น: 当て字, 宛字 ateji ?) คือ คันจิที่ใช้เขียนคำยืมจากภาษาต่างประเทศ โดยใช้แทนเสียงมากกว่าความหมาย ซึ่งมีลักษณะคล้ายมันโยงะนะ ตัวอย่างเช่น 亜細亜 (ajia) ในสมัยก่อนใช้เขียนคำว่า เอเชีย จนในปัจจุบัน ใช้ 亜 เขียนในคำประสม เพื่อแทนความหมายถึงทวีปเอเชีย เช่น 東亜 (tōa เอเชียตะวันออก) อีกคำหนึ่งคือ 亜米利加 (amerika อเมริกา) ตัวอักษร 米 ถูกหยิบมาใช้ เพื่อประสมกับ 国 (koku ประเทศ) กลายเป็น 米国 (beikoku สหรัฐอเมริกา) เป็นคำระดับพิธีการ
 หาครูสอนภาษาญี่ปุ่น

ควรอ่านด้วยเสียงใด?

แม้ว่าจะมีหลักการการอ่านคันจิว่าเมื่อใดควรอ่านเป็นเสียงองหรือเสียงคุน แต่ก็ยังคงมีข้อยกเว้น แม้แต่ชาวญี่ปุ่นผู้เป็นเจ้าของภาษาเองก็ยังยากที่จะอ่านคันจิโดยไม่มีความรู้มาก่อน โดยเฉพาะชื่อบุคคลและสถานที่

กฎข้อแรกคือ ถ้ามีอักษรคันจิตัวเดียว หรือมีอักษรโอะกุริงะนะตามหลังเพื่อการผันคำเป็นคำกริยาหรือคำคุณศัพท์ คันจิตัวนั้นมักจะอ่านด้วยเสียงคุน ตัวอย่างเช่น 月 (tsuki พระจันทร์) 情け (nasake ความเห็นใจ) 赤い (akai แดง) 新しい (atarashii ใหม่) 見る (miru ดู) 必ず (kanarazu แน่นอน) เป็นต้น อย่างไรก็ตาม อาจมีข้อยกเว้นสำหรับบางคำ
ถ้ามีอักษรคันจิสองตัว ประกอบกันเป็นคำประสม (熟語 jukugo) มักจะอ่านด้วยเสียงอง ตัวอย่างเช่น 情報 (jōhō ข้อมูล) 学校 (gakkō โรงเรียน) และ 新幹線 (shinkansen รถไฟชินคันเซ็น) เป็นต้น คำประสมคันจิหลายตัวบางคำ ออกเสียงต่างไปจากเมื่อคันจิตัวนั้นอยู่ตัวเดียวโดยสิ้นเชิง แต่ความหมายของคันจิตัวนั้นยังคงเดิม

ตัวอย่างเช่น 北 (ทิศเหนือ) และ 東 (ทิศตะวันออก) เมื่ออยู่ตัวเดียวจะอ่านด้วยเสียงคุนว่า kita และ higashi ตามลำดับ แต่เมื่อประกอบกันเป็นคำประสม 北東 (ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ) จะอ่านเป็นเสียงองว่า hokutō อย่างไรก็ตาม คันจิหนึ่งตัวอาจมีเสียงองหลายเสียง เมื่อคันจิตัวนั้นไปประสมในคำต่างกัน ก็อาจออกเสียงต่างกันด้วยก็ได้ เช่น 生 เมื่อไปประกอบเป็นคำว่า 先生 (sensei ครู) จะอ่านว่า sei แต่ถ้าไปประกอบเป็นคำว่า 一生 (isshō ทั้งชีวิต) จะอ่านว่า shō

บางครั้ง ความหมายของคำจะเป็นตัวกำหนดเสียงอ่านด้วย เช่น 易 เมื่อแปลว่า ง่าย จะอ่านว่า i แต่ถ้าแปลว่า การพยากรณ์ จะอ่านว่า eki ทั้งคู่เป็นเสียงอง
อย่างไรก็ตาม มีคำประสมจำนวนหนึ่งที่อ่านด้วยเสียงคุน แต่มีจำนวนไม่มากนัก ตัวอย่างเช่น 手紙 (tegami จดหมาย) และ 神風 (kamikaze กามิกาเซ่) เป็นต้น คำประสมบางคำอาจมีอักษรโอะกุริงะนะผสมอยู่ด้วย เช่น 空揚げ (karaage ไก่ทอดแบบจีน) และ 折り紙 (origami โอะริงะมิ) โดยอาจตัดโอะกุริงะนะ แต่ก็ได้ความหมายคงเดิม (นั่นคือ 空揚 และ 折紙)

คันจิบางตัว แม้อยู่ตัวเดียวก็อ่านด้วยเสียงอง เช่น 愛 (ai รัก) 禅 (zen นิกายเซน) 点 (ten คะแนน, จุด) ส่วนมาก คันจิเหล่านี้มักไม่มีเสียงคุน อย่างไรก็ตาม ยังคงมีข้อยกเว้นเช่นกัน ตัวอย่างเช่น 金 เมื่อหมายถึง เงินตรา, โลหะ จะอ่านด้วยเสียงคุนว่า kane แต่ถ้าหมายถึง ทอง จะอ่านว่า kin ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับบริบทของประโยค ว่าจะหมายถึงอะไร

เมื่ออักษรคันจิหนึ่งตัว อ่านได้หลายแบบ ทำให้เกิดคำพ้องรูปขึ้นมา ในบางครั้ง เมื่ออ่านต่างกัน อาจให้ความหมายต่างกันด้วย เช่น 上手 ซึ่งสามารถอ่านได้ 3 แบบ ได้แก่ jōzu (ชำนาญ) uwate (ส่วนบน) kamite (ส่วนบน) และ 上手い อ่านว่า umai (ชำนาญ) ในกรณีหลัง เป็นการเติมฟุริงะนะเพื่อลดความกำกวมชองคำนั้น
คำประสมแบบจูบะโกะ (重箱 jūbako) หรือ ยุโต (湯桶 yutō) คือ คำประสมคันจิหลายตัวที่อ่านด้วยเสียงองและเสียงคุนผสมกัน ซึ่งกล่าวไปแล้วในหัวข้อข้างบนนั้น ไปค่อยพบมากนัก โดยความเป็นจริงแล้ว เสียงของคำประสมที่เป็นไปได้ มี 4 ชนิด ได้แก่ อง-อง คุน-คุน คุน-อง และ อง-คุน

ชื่อสถานที่ที่มีชื่อเสียง เช่น กรุงโตเกียว (東京 Tōkyō) และประเทศญี่ปุ่น (日本 Nihon หรือ Nippon) นั้นอ่านด้วยเสียงอง อย่างไรก็ตาม ชื่อสถานที่ส่วนใหญ่ในญี่ปุ่นมักอ่านด้วยเสียงคุน เช่น 大阪 (Ōsaka โอซะกะ) 青森 (Aomori อะโอะโมะริ) และ 箱根 (Hakone ฮาโกเนะ) เป็นต้น นอกจากนี้ เมื่อคันจิของชื่อเมืองถูกหยิบไปใช้ในลักษณะชื่อย่อ อาจจะอ่านไม่เหมือนเดิม เช่น ชื่อมหาวิทยาลัยบางแห่ง อย่าง มหาวิทยาลัยโอซะกะ (大阪大学 Ōsaka daigaku) มีชื่อย่อคือ 阪大 (Handai) มหาวิทยาลัยวาเซดะ (早稲田大学 Waseda Daigaku) มีชื่อย่อคือ 早大 (Sōdai) จะเห็นได้ว่าเมื่อเป็นชื่อเต็ม จะอ่านด้วยเสียงคุน แต่เมื่อย่อเหลือคันจิสองตัว จะอ่านด้วยเสียงอง ยกเว้น มหาวิทยาลัยโตเกียว (東京大学 Tōkyō Daigaku) มีชื่อย่อคือ 東大 (Tōdai) เนื่องจาก Tō เป็นเสียงองของ 東 อยู่แล้ว
นามสกุลของชาวญี่ปุ่น ปกติมักจะอ่านด้วยเสียงคุน เช่น 山田 (Yamada) 田中 (Tanaka) 鈴木 (Suzuki) เป็นต้น ส่วนชื่อตัวนั้น แม้จะไม่ถูกจัดเป็นคำแบบจูบะโกะ (重箱 jūbako) หรือ ยุโต (湯桶 yutō) ก็ตาม แต่ก็มักมีทั้งเสียงคุน เสียงอง และนะโนะริ (名乗り nanori) รวมกัน เช่น 大助 (Daisuke อง-คุน) 夏美 (Natsumi คุน-อง) เป็นต้น ทั้งนี้ มักขึ้นอยู่กับพ่อแม่ผู้ตั้งชื่อลูกของตนเองว่าต้องการให้อ่านแบบใด โดยไม่ขึ้นกับกฎเกณฑ์ และยากที่จะอ่านโดยไม่มีคำอ่านกำกับ พ่อแม่บางคนอาจตั้งชื่อให้ลูกด้วยคำวิลิศมาหรา เช่น 地球 (Āsu) และ 天使 (Enjeru) ซึ่งตามปกติควรอ่านว่า chikyū (แปลว่า โลก) และ tenshi (แปลว่า เทวดา) ตามลำดับ แต่ชื่อทั้งคู่ก็ไม่พบเห็นกันเท่าไหร่ อย่างไรก็ตาม ชื่อชาวญี่ปุ่นส่วนมากมักอยู่ในรูปแบบเรียบง่ายและตั้งซ้ำๆกันใน แต่ผู้อ่านก็ควรศึกษาการอ่านชื่อมาก่อน เพิ่มให้ง่ายต่อการเดาวิธีอ่าน


ตัวช่วยในการอ่าน

เนื่องจากการอ่านคันจิมีความกำกวม บางครั้ง จึงมีการเขียนอักษรประกอบคำ (Ruby character) ขึ้นซึ่งเรียกว่า ฟุริงะนะ (振り仮名 furigana) เป็นอักษรคะนะ เขียนไว้ด้านบนหรือด้านขวาของตัวอักษรเพื่อบอกเสียงอ่านของคันจิตัวนั้น โดยเฉพาะในหนังสือสำหรับเด็ก หนังสือเรียนสำหรับชาวต่างชาติ และมังงะ มักจะมีฟุริงะนะกำกับอักษรคันจิอยู่เสมอ นอกจากนี้ ยังใช้ในหนังสือพิมพ์ สำหรับอักษรคันจิตัวที่ไม่ค่อยพบ หรืออ่านแปลกๆ หรือไม่รวมอยู่ในชุดอักษรคันจิที่ใช้ในชีวิตประจำวันที่เรียกว่า โจโยคันจิ (常用漢字 Jōyō kanji ?

จำนวนอักษรคันจิ

ยังเป็นที่โต้เถียงว่า จำนวนอักษรจีนหรืออักษรคันจิมีทั้งหมดกี่ตัว พจนานุกรมไดคันวะ จิเตน (大漢和辞典 Dai Kan-Wa jiten แปลว่า มหาพจนานุกรมจีนญี่ปุ่น) ได้รวบรวมอักษรคันจิไว้ประมาณ 50,000 ตัว ซึ่งถือว่าครอบคลุมมาก ส่วนในประเทศจีน มีพจนานุกรมภาษาจีนเล่มหนึ่งรวมรวมไว้ถึง 100,000 ตัว ซึ่งรวมถึงอักษรที่มีรูปแบบครุนเครือด้วย แต่อักษรคันจิที่ใช้กันจริงในประเทศญี่ปุ่นมีอยู่เพียงประมาณ 2,000-3,000 ตัวเท่านั้น


การปฏิรูปและชุดอักษรคันจิ

ใน พ.ศ. 2489 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 รัฐบาลญี่ปุ่นได้ปฏิรูปอักขรวิธีของภาษาญี่ปุ่น เพื่อให้เยาวชนสามารถศึกษาภาษาญี่ปุ่นได้ง่ายขึ้น การปฏิรูปครั้งนี้รวมถึงปฏิรูปอักษรคันจิที่ใช้ในงานเขียนต่าง ๆ ด้วย จำนวนอักษรคันจิที่จะใช้ถูกกำหนดให้น้อยลง มีการประกาศชุดอักษรคันจิอย่างเป็นทางการ โดยกำหนดว่านักเรียนระดับชั้นต่าง ๆ ต้องเรียนรู้คันจิตัวไหนบ้าง อักษรคันจิบางตัวถูกย่อให้มีขีดน้อยลงและเขียนง่ายขึ้น คันจิแบบย่อนี้เรียกว่า "ชินจิไต" (新字体 shinjitai) หรือ รูปแบบอักษรใหม่ ซึ่งคันจิแบบย่อบางตัวจะมีลักษณะเหมือนกับ อักษรจีนตัวย่อ ในการปฏิรูปครั้งนี้ อักษรคันจิถูกกำหนดให้มีรูปแบบเป็นมาตรฐานแน่นอน คันจิที่มีรูปแบบครุมเครือก็ถูกประกาศเลิกใช้อย่างเป็นทางการ อย่างไรก็ตาม อักษรคันจิที่ไม่ได้อยู่ในชุดมาตรฐาน ที่เรียกว่า "เฮียวไงจิ" (表外字 hyōgaiji) ก็ยังคงใช้กันอยู่โดยทั่วไป
ชุดอักษรคันจิ มีดังต่อไปนี้


เคียวอิคุคันจิ (教育漢字 Kyōiku kanji)

เคียวอิคุคันจิ (ญี่ปุ่น: 教育漢字 Kyōiku kanji ?) หรือ "คันจิเพื่อการศึกษา" ประกอบด้วย อักษรคันจิ 1,006 ตัว สำหรับสอนในโรงเรียนประถมศึกษา โดยเริ่มแรก มีอักษรคันจิ 881 ตัว จนเมื่อ พ.ศ. 2524 ได้เพิ่มเป็น 1,006 ตัวดังปัจจุบัน อักษรคันจิชุดนี้ถูกแบ่งชุดอักษรย่อย เรียกกันว่า ชุดอักษรคันจิแบ่งตามระดับชั้นเรียน (学年別漢字配当表 Gakunen-betsu kanji haitōhyō หรือ gakushū kanji) โดยแบ่งว่า นักเรียนระดับชั้นไหน ต้องเรียนรู้คันจิตัวใดบ้าง

โจโยคันจิ (常用漢字 Jōyō kanji)

โจโยคันจิ (ญี่ปุ่น: 常用漢字 Jōyō kanji ?) หรือ "คันจิในชีวิตประจำวัน" ประกอบด้วย อักษรคันจิ 1,945 ตัว ซึ่งรวมเคียวอิคุคันจิอยู่ด้วย และเพิ่มคันจิอีก 939 ตัวที่สอนในโรงเรียนมัธยม ในงานพิมพ์ต่างๆ อักษรคันจิที่อยู่นอกโจโยคันจิ มักจะมีฟุริงะนะกำกับอยู่ โจโยคันจิประกาศใช้ใน พ.ศ. 2524 เพื่อแทนที่ชุดอักษรคันจิเก่าที่เรียกว่า โทโยคันจิ (当用漢字 Tōyō kanji) หรือ "คันจิที่ใช้ทั่วไป" ซึ่งใช้มาตั้งแต่ พ.ศ. 2489 กระทรวงการศึกษา วัฒนธรรม กีฬา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศญี่ปุ่น ได้ปรับปรุงจำนวนอักษรคันจิในโจโยคันจิมาโดยตลอด โดยอยู่บนหลักการที่ว่า "อักษรคันจิตัวนั้น จำเป็นต้องรู้ และใช้ในการสื่อสารในชีวิตประจำวัน"

จินเมโยคันจิ (人名用漢字 Jinmeiyō kanji)

จินเมโยคันจิ (ญี่ปุ่น: 人名用漢字 Jinmeiyō kanji ?) หรือ "คันจิสำหรับชื่อบุคคล" ประกอบด้วย อักษรคันจิ 2,928 ตัว โดยมีโจโยคันจิและอักษรคันจิเพิ่มอีก 983 ตัวที่พบในชื่อบุคคล อักษรคันจิชุดนี้ ประกาศใช้เมื่อ พ.ศ. 2495 เมื่อแรกเริ่ม มีอักษรคันจิเพียง 92 ตัว แต่ได้มีการประกาศเพิ่มตัวอักษรบ่อยครั้ง จนมีจำนวนเท่ากับปัจจุบัน เมื่อเอ่ยถึงตัวอักษรชุดจินเมโยคันจิ อาจหมายถึงตัวอักษรทั้ง 2,928 ตัว หรือหมายถึงแค่ 983 ตัวที่ใช้สำหรับชื่อบุคคลเท่านั้นก็ได้

เฮียวไกจิ (表外字 Hyōgaiji)

เฮียวไกจิ (ญี่ปุ่น: 表外字 Hyōgaiji ?) หรือ "ตัวอักษรนอกรายชื่อ" หมายถึง อักษรคันจิที่ไม่ได้อยู่ในชุดโจโยคันจิและจินเมโยคันจิ อักษรคันจิประเภทนี้ มักเป็นอักษรจีนตัวเต็ม แต่บางครั้ง อาจเป็นอักษรชินจิไตแบบขยาย (拡張新字体 kakuchō shinjitai) ก็ได้

ประเภทของคันจิ

ประเภทของคันจิ แบ่งได้ 6 ประเภท คือ

โชเกโมจิ (象形文字)

เป็นคันจิที่กำเนิดขึ้นแรกสุดแสดงรูปลักษณะของสิ่งต่างๆส่วนใหญ่เป็นชื่อสิ่งของ คันจิประเภทนี้มีประมาณ 600 ตัว ตัวอย่างเช่น 目 แปลว่า ตา, 木 แปลว่า ต้นไม้

ชิจิโมจิ (指事文字)

เป็นคันจิที่ใช้ในรูปลักษณะต่างๆแสดงความหมายสิ่งที่เป็นนามธรรมหรือสิ่งที่ไม่มีรูปโดยใช้ขีดหรือเส้น และในบางครั้งจะนำ โชเกโมจิ (象形文字) มาประสมด้วย คันจิประเภทนี้มี ประมาณ 135 ตัว ตัวอย่างเช่น 上 แปลว่า บน, 下 แปลว่า ล่าง

ไคอิโมจิ (会意文字)

เป็นคันจิที่นำคันจิที่สำเร็จรูปแล้วมาประกอบกันเป็นคันจิใหม่ที่มีความหมายใหม่ ตัวอย่างเช่น 峠 (ช่องเขา) เกิดจากการนำคันจิ 山 (ภูเขา), 上 (บน) และ 下 (ล่าง) มารวมกัน 休 (หยุดพัก) เกิดจากการนำคันจิ 人 (คน) และ 木 (ต้นไม้) มารวมกัน

เคเซโมจิ (形声文字)

เป็นคันจิที่นำคันจิที่แสดงความหมายกับส่วนที่แสดงเสียงมาประกอบกันเป็นคันจิใหม่ที่มีความหมายใหม่ คันจิประเภทนี้มีประมาณร้อยละ 90 ของคันจิทั้งหมด
ตัวอย่างเช่น คันจิที่ประกอบด้วยรูปร่าง 言 เช่น 語, 記, 訳, 説, ฯลฯ จะมีความหมายเกี่ยวข้องกับ"คำ/ภาษา/ความหมาย"เสมอ คันจิที่ประกอบด้วยรูปร่าง 雨 (ฝน) เช่น 雲, 電, 雷, 雪, 霜, ฯลฯ มักจะมีความหมายเกี่ยวข้องกับ"สภาพอากาศ" คันจิที่ประกอบด้วยรูปร่าง 寺 อยู่ทางขวา มักจะมีเสียงองว่า "shi" หรือ "ji" บางครั้งเราสามารถเดาความหมายหรือการอ่านจากรูปร่างของคันจิได้ อย่างไรก็ตามก็ยังมีข้อยกเว้น เช่น 需 และ 霊 ล้วนไม่มีความหมายเกี่ยวข้องกับสภาพอากาศ และ 待 ก็มีเสียงองว่า "tai"

เท็นชูโมจิ (転注文字)

เป็นคันจิที่ใช้ในความหมายอื่นไม่ใช่ความหมายเดิมของคันจิตัวนั้นๆ

คะชะกุโมจิ (仮借文字)

เป็นคันจิที่ยืมมาแต่เสียงอ่านโดยไม่เกี่ยวข้องกับความหมาย

การเรียนคันจิ

กระทรวงศึกษาธิการของญี่ปุ่นได้กำหนดอักษรคันจิที่ใช้เป็นประจำในชีวิตประจำวันซึ่งใช้เป็นประจำ โดยกำหนดให้อยู่ในหลักสูตรการศึกษาของนักเรียนญี่ปุ่น เรียกว่าโจโยคันจิ (常用漢字) มีทั้งหมด 1,945 ตัว อย่างไรก็ตามคันจิที่ใช้ในชีวิตประจำวันมีมากกว่า 3,000 ตัว โดยเด็กนักเรียนญี่ปุ่นจะต้องจดจำคันจิที่อยู่นอกเหนือหลักสูตรเหล่านี้เอง คันจิที่นอกเหนือจากคันจิ เช่น คันจิที่ใช้เป็นชื่อคน (จินเมโยคันจิ 人名用漢字) หลักสูตรของเด็กนักเรียนญี่ปุ่นจะเริ่มเรียนตัวอักษรคันจิตั้งแต่ประถมศึกษาปีที่ 1 เริ่มต้นที่ประมาณ80ตัว เทียบเท่ากับการสอบวัดระดับคันจิระดับ 10 (คันจิเคนเต 漢字検定)โดยเด็กญี่ปุ่นจะเรียนพื้นฐานคันจิทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นเสียงอง เสียงคุน โอะกุริงะนะ จำนวนขีด บุชุของอักษร การผสมคำ การใช้คำ ความหมาย เด็กญี่ปุ่นประมาณ ป.5-ป.6 ก็จะสามารถอ่านคันจิที่ใช้ในชีวิตประจำวันได้หมดแล้ว

การเรียงลำดับของคันจิ

ลำดับของอักษรคันจิสามารถเรียงได้ตามลำดับดังนี้คือ

  1. ลำดับของบุชุ (部首)
  2. จำนวนขีด(総画数)
  3. เสียงของคันจิ

โจทย์ฟิสิกส์เรื่องการเคลื่อนที่ของวัตถุและเรื่องของไหล พร้อมเฉลย

อันดับ1 ครูสอนพิเศษ เรียนพิเศษที่บ้าน กับทีมติวเตอร์คุณภาพ

1. โจทย์วิชาฟิสิกส์เรื่องการเคลื่อนที่ของวัตถุ :

นักขี่จักรยานยนต์เลี้ยวโค้งบนถนนซึ่งมี ค่าสัมประสิทธิ์ของความเสียดทาน เท่ากับ
ขณะเค้าเลี้ยวโค้งด้วย อัตราเร็วสูงสุด เค้าจะต้อง เอียงทำมุมเท่ใดกับแนวดิ่ง ?

เฉลยโจทย์วิชาฟิสิกส์เรื่องการเคลื่อนที่ของวัตถุ




2. โจทย์วิชาฟิสิกส์เรื่องของไหล :

เขื่อแห่งหนึ่งยาว 100 เมตรสูง 50 เมตร วิศวกรออกแบบสร้างเขื่อนได้กำหนดแรงดันของน้ำทั้งหมดที่ตัวเขื่อนจะรับไว้ได้ เท่ากับ นิวตัน
   
จงคำนวณหาระดับน้ำเหนือเขื่อนที่เขื่อนจะรับไว้ได้
กำหนดให้ค่าความหนาแน่นของน้ำ = 

เฉลยโจทย์วิชาฟิสิกส์เรื่องของไหล



สถิติการออกข้อสอบ PAT2 ฟิสิกส์

ครูเปีย ( ID : 10124 ) สอนฟิสิกส์ติวสอบ PAT2

อันดับ1 ครูสอนพิเศษ เรียนพิเศษที่บ้าน กับทีมติวเตอร์คุณภาพ

ครูเปีย อัชฎาภรณ์ หารคำแพง ( ID 10124 )

สอนวิชา :  ฟิสิกส์ ,คณิตศาสตร์

สถานที่ :  ศรีราชา, บางแสน, เมืองชลบุรี หรือพื้นที่ที่ใกล้เคียงกับตัวเมืองชลบุรี

ค่าเรียน 200 - 350 บาท / ชั่วโมง

สถาบันการศึกษา


  • ป.ตรี ม.ราชภัฏเลย คณะวิทยาศาสตร์สาขาวิชาฟิสิกส์
  • จบ ป.โท ม.ศิลปากร คณะวิทยาศาสตร์สาขาวิชาฟิสิกส์

เทคนิคการสอน 

เป็นคนใจเย็น มีความอดทนสูง ขยัน มีความรับผิดชอบ รักเด็ก

เรียนฟิสิกส์ ติวสอบ PAT2 กับครูพี่เปีย คลิกเลย

ครูลูกแมว ( ID : 10123 ) สอนภาษาจีน

อันดับ1 ครูสอนพิเศษ เรียนพิเศษที่บ้าน กับทีมติวเตอร์คุณภาพ


ครูลูกแมว บุญรักษา คงทน ( ID 10123 )

สอนวิชา :  ภาษาจีน

สถานที่ :  เดอะมอลล์งามวงศ์วาน เซนทรัลลาดพร้าว เซลทรัลรัตนาธิเบศ เซลทรัลแจ้งวัฒนะ เสาวรีย์ สยาม เดอะมอลบางแค มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ 

ค่าเรียน 250 - 350 บาท / ชั่วโมง

สถาบันการศึกษา

ปริญญาตรี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ คณะศิลปศาสตร์ สาขาภาษาจีนธุรกิจ

ปริญญาโท มหาวิทยาลัยคุรุศาสตร์หวาจง(Central China Normal Unniversity) 
คณะอักษรศาสตร์ เอกการเรียนการสอนภาษาจีนให้กับนักศึกษาต่างชาติ เมืองอหูเป่ย มณฑลอู่ฮั่น สาธารณรัฐประชาชนจีน

เทคนิคการสอน 

ร่าเริงแจ่มใส ชอบเด็ก  ไม่เน้นการเรียนที่เครียดจนเกินไป เน้นการสอนที่สามารถนำไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน

เรียนภาษาจีน กับครูพี่ลูกแมว คลิกเลย

เรียนคณิตศาสตร์ในห้องเรียนไม่เข้าใจ ทำอย่างไรดี ?

อันดับ1 ครูสอนพิเศษ เรียนพิเศษที่บ้าน กับทีมติวเตอร์คุณภาพ

มีนักเรียนมากมายที่เรียนคณิตศาสตร์ในชั้นเรียนไม่รู้เรื่องเลย 

ไม่ว่าจะเป็นระดับชั้นประถม ชั้นมัธยมต้น หรือชั้นมัธยมปลาย ต่างก็เจอปัญหาแบบนี้ได้ทั้งนั้น บางคนอาจจะเรียนใช้ได้หรือเรียกว่าเรียนเก่งเลยก็ได้ก่อนหน้านั้น แต่พอผ่านไปๆ กลับกลายเป็นเด็กที่เรียนคณิตศาสตร์ไม่ทันเพื่อนไปซะอย่างนั้น

ต้องทำความเข้าใจกันก่อน ว่าวิชาคณิตศาสตร์เป็นวิชาที่ลำดับความรู้แบบต่อเนื่องทุกเรื่องที่เรียนในระดับชั้นประถมไม่ว่าจะเป็น

  • เรื่องสมการ
  • เรื่องจำนวนนับ จำนวนเฉพาะ
  • เรื่องการหาตัวประกอบ การแยกตัวประกอบ
  • เรื่องการหา หรม. หรือ ครน.
  • เรื่องการหาพื้นที่และการหาปริมาตร


หรือเรื่องพื้นฐานแบบ เลขเศษส่วน เลขทศนิยมและเปอร์เซนต์ ล้วนเป็นพื้นฐานในการเรียนคณิตศาสตร์ในชั้นมัธยมต้นทั้งสิ้น และก็ไม่ต่างกันสักเท่าไหร่ที่เนื้อหาที่เรียนในชั้นมัธยมต้น เช่น

  • เรื่องจำนวนจริง 
  • พหุนาม 
  • สมการเชิงเส้น
  • ปีทาโกรัส 
  • เรื่องพาราโบลา
  • เรื่องสถิติและความน่าจะเป็น 

ทุกเรื่องเป็นพื้นฐานในการเรียนคณิตศาสตร์ระดับชั้นมัธยมปลายทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง แคลคูลัส ตรีโกณมิติ จำนวนเชิงซ้อนหรือ ลำดับและอนุกรม

ทีนี้พอนักเรียนคนไหนเรียนเรื่องใดเรื่องหนึ่งไม่เข้าใจในระดับชั้นประถมเลยทำให้เรียนคณิตศาสตร์ตอน ม.ต้นไม่เข้าใจ แล้วจะไปเรียนในระดับ ม.ปลายเข้าใจได้อย่างไร ยกตัวอย่างเช่น

เรื่องแคลคูลัส ต้องมีพื้นฐานเรื่องต่างๆหลายเรื่องเลย เช่น

  • เซต
  • จำนวนจริง
  • จำนวนเชิงซ้อน
  • ตรีโกณมิติ
  • ฟังก์ชันตรีโกณมิติและอินเวิร์สของฟังก์ชัน
  • เอกลักษณ์ตรีโกณมิติ
  • ภาคตัดกรวย
  • ฟังก์ชันลอการิทึม
  • ลำดับและอนุกรม
  • และเรื่องอื่นๆ

วิธีแก้ไขคือเราต้องรู้ก่อนว่าที่เราเรียนคณิตศาสตร์ไม่เข้าใจนั้น เราขาดพื้นฐานเรื่องอะไรบ้างและรีบแก้ไขให้ได้โดยเร็วที่สุด หรือแม้กระทั่งบางทีเาก็เข้าใจเรื่องพื้นฐานต่างๆ ได้ดีแต่ก็ยังเรียนคณิตศาสตร์ในห้องเรียนไม่เข้าใจอยู่ดี ก็ไม่ใช่เรื่องแปลกนะเพราะบางครั้งในสิ่งที่เราเข้าใจอาจจะไม่เข้าใจจริงๆก็ได้ คณิตศาสตร์เป็นวิชาที่แปลก บางทีนักเรียนก็ สามารถทำโจทย์คณิตศาสตร์ได้ แต่เป็นการทำได้จากการจำ บางเรื่องจำสูตรได้ อ่านโจทย์และหาตัวแปรได้ แทนค่าตัวเลขในสูตรก็ทำโจทย์ (แบบพื้นๆ)ได้ ก็ต้องยอมรับว่าบางโรงเรียน หรือครูบางคนกลัวนักเรียนที่เป็นลูกศิษฐ์ของตัวเองทำข้อสอบไม่ได้ หรือกลัวว่าตัวเองจะถูกตำหนิที่นักเรียนของตัวเองทำคะแนนได้น้อย ก็เลยออกแบบทดสอบแบบพื้นๆ ซึ่งถ้าไม่ใช่นักเรียนที่อ่อนคณิตศาสตร์จริงๆก็สามารถทำได้ แต่โจทย์คณิตศาสตร์นั้นไม่ได้ทดสอบความเข้าใจของนักเรียนจริงๆ

โจทย์คณิตศาสตร์ ที่ออกแบบมาอย่างดีต้องทดสอบนักเรียนได้ว่าเป็นอย่างไร เช่น

  • ทดสอบความเข้าใจทฤษฎี(คำนวณ)
  • ทดสอบความจำ (สูตร)
  • ทดสอบการแก้โจทย์ปัญหา
  • และทดสอบการนำไปประยุกต์ใช้ได้

มาพูดถึงเรื่องว่าจะแก้ไขกันอย่างไรต่อดีกว่า ถ้าน้องๆคนไหนเเรียนคณิตศาสตร์ในห้องเรียนไม่เข้าใจ อย่างที่บอกว่าเราต้องรู้ก่อนว่าเป็นเพราะพื้นฐานเราไม่ดีในบางเรื่องหรือหลายเรื่อง ที่เกี่ยวข้องกัน หรือเราอาจจะยังไม่เข้าใจในเรื่องนั้นๆจริง ขอย้ำอีกครั้งครับว่าการเรียนคณิตศาสตร์ที่เข้าใจจริงๆนั้น ต้องสามารถมองเห็นออกมาเป็นภาพได้ทุกเรื่อง ดังนั้นถ้าเรียนไม่เข้าใจจริงๆ ก็กลับไปทบทวนเรื่องพื้นฐานต่างๆให้เข้าใจจริงๆเสียก่อน ไม่ใช่แค่จำสูตรแทนค่าตัวแปรแล้วก็ถือว่าเข้าใจแล้ว 

การทบทวนเนื้อหานั้น จะใช้วิธีหาอ่านในเน็ตก็ได้ หรือจะไปหาซื้อหนังสือมาอ่าน หรือจะให้เพื่อน พี่ ญาติหรือใครก็ได้ที่สามารถอธิบายให้เราเข้าใจและเห็นภาพได้ ถ้าไม่มีใครสามารถอธิบายได้ก็ไป เรียนพิเศษ ก็ได้ครับ หาคอร์สเรียนที่เหมาะสมกับความต้องการมากที่สุด  ถ้าสามารถเรียนและสอบถามกับติวเตอร์ได้ทุกเรื่องจะดีมาก ( กรณีนี้ไม่แนะนำให้เรียนแบบ VDO หรือแบบ Self Learning นะครับ ) ซึ่งกรณีที่เราต้องการเรียนเพื่อปรับพื้นฐานนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับการอธิบายให้ตรงจุดจริงๆครับ

คณิตศาสตร์ นั้นถ้าน้องๆตั้งใจเรียนจริงๆ ตรงไหนไม่รู้หรือไม่เข้าใจให้ถามทันที ต้องทำความเข้าใจทันที เพราะถ้าปล่อยเอาไว้นานๆจะยิ่งแก้ไขยาก และถ้าน้องๆทำความเข้าใจคณิตศาสตร์แบบสามาถมองเห็นเป็นภาพได้ รับรองว่าวิชาคณิตศาสตร์จะไม่ใช่เรื่องยากและน่ากลัวอีกต่อไป 



11 สิงหาคม 2558

ครูเอ็มม่อล ( ID : 10122 ) สอนคณิตศาสตร์

อันดับ1 ครูสอนพิเศษ เรียนพิเศษที่บ้าน กับทีมติวเตอร์คุณภาพ


ครูเอ็มม่อล อนิรุธ หนูตอ ( ID 10122 )

สอนวิชา :  คณิตศาสตร์   ประถม-มัธยมต้น

สถานที่ :  เขตห้วยขวาง เขตดินแดง เขตลาดพร้าว

ค่าเรียน 220 - 300 บาท / ชั่วโมง

สถาบันการศึกษา

คณิตศาสตร์ประยุกต์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

เทคนิคการสอน 

ชอบสอนคนที่ตั้งใจเรียนจริงๆ 
ชอบสอนเน้นให้ความรู้ เข้าใจจริงๆ ไม้ชอบสอนวิธีคิดลัด ถ้ายังไม่เข้าใจในเนื้อหา

เรียนคณิตศาสตร์ กับครูพี่เอ็มม่อล คลิกเลย

ครูอ้อ ( ID : 10121 ) ติวสอบ PAT1 - PAT2

อันดับ1 ครูสอนพิเศษ เรียนพิเศษที่บ้าน กับทีมติวเตอร์คุณภาพ


ครูอ้อ ยุพารัตน์ แก้วมิตร ( ID 10121 )

สอนวิชา :  PAT1 (คณิตศาสตร์)  -  PAT2 (ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ)

สถานที่ :  สยาม อนุเสารวรีย์ชัย แจ้งวัฒนะ งามวงศ์วาน เซ็นทรัลลาดพร้าว หลักสี่ ปากเกร็ด

ค่าเรียน 350 - 400 บาท / ชั่วโมง

สถาบันการศึกษา

สถาบันเทคโนฯพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง คณะวิทยาศาสตร์

เทคนิคการสอน 

เน้นตามความต้องการของผู้เรียน จะติวสอบ หรือจะเรียนเพื่อปรับพื้นฐานก่อน

ติวสอบ PAT1 PAT2 กับครูพี่อ้อ คลิกเลย

10 สิงหาคม 2558

ครูหยก ( ID : 10119) สอนภาษาญี่ปุ่น

อันดับ1 ครูสอนพิเศษ เรียนพิเศษที่บ้าน กับทีมติวเตอร์คุณภาพ


ครูหยก หทัยชนก  พลอยแดง ( ID 10119 )

สอนวิชา :  วิชาภาษาญี่ปุ่น พื้นฐาน สอนได้จากหนังสือ อากิโกโตะโทมาดะจิ ทั้ง 6 เล่ม


สถานที่ :  ลาดกระบัง  มีนบุรี  สมุทรปราการ

ค่าเรียน 350 - 380 บาท / ชั่วโมง

สถาบันการศึกษา

มหาวิทยาลัยสยาม  คณะศิลปศาสตร์ สาขาการท่องเที่ยว ภาษาญี่ปุ่น

เทคนิคการสอน 

รักเด็ก ชอบการสอน ใจเย็นมีความตั้งใจ


เรียนภาษาญี่ปุ่น กับครูพี่หยก คลิกเลย

ครูเก๊ะ ( ID : 10118) ติวสอบPAT2 ชีวะ - เคมี

อันดับ1 ครูสอนพิเศษ เรียนพิเศษที่บ้าน กับทีมติวเตอร์คุณภาพ


ครูเก๊ะ ณิชารีย์ ( ID 10118 )

สอนวิชา :  
  • ชีววิทยา ม.4-มหาวิทยาลัย
  • เคมี ม.4-มหาวิทยาลัย

สถานที่ :  บางแค ภาษีเจริญ ปิ่นเกล้า ตลิ่งชัน พุทธมณฑล สาย1 2 3 4

ค่าเรียน 250 - 300 บาท / ชั่วโมง

สถาบันการศึกษา

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง คณะเทคโนโลยีการเกษตร วิทยาศาสตร์การประมง (วิทยาศาสตร์บัณฑิต)

เทคนิคการสอน 

สอนพื้นฐานในวิชานั้นๆให้น้องเข้าใจพื้นฐานอย่างดี และเพิ่มความรู้ที่ลึกและยากขึ้นให้น้อง สอนสบายๆ มีแบบฝึกหัดให้น้องทำเป็นประจำ สร้างบรรยากาศให้น้องรู้สึกสนุกกับการเรียน


เรียนชีววิทยา เคมี ติวสอบ PAT2กับครูพี่เก๊ะ คลิกเลย

09 สิงหาคม 2558

08 สิงหาคม 2558