สำรวจ
รีวิว
สอบเข้า
ออนไลน์

08 พฤศจิกายน 2559

ครูน้ำหวาน ( ID : 11107 ) สอนภาษาอังกฤษ

อันดับ1 ครูสอนพิเศษ เรียนพิเศษที่บ้าน กับทีมติวเตอร์คุณภาพ
หาครูสอนภาษาที่บ้าน ต้องการเรียนภาษาที่บ้าน Tutor Ferryรับสอนภาษาที่บ้าน

รับสมัครครูสอนพิเศษ [สมัครติวเตอร์]

อันดับ1 ครูสอนพิเศษ เรียนพิเศษที่บ้าน กับทีมติวเตอร์คุณภาพ

สนใจร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับเรา

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับเรา Tutor Ferry Group

Tutor Ferry เป็นสถาบันกวดวิชาที่ให้บริการ การสอนพิเศษที่บ้านที่ดีที่สุด เรามุ่งมั่นในการให้ความรู้คู่ความสะดวกแก่ทุกครอบครัว และเรามุ่งมั่นในการส่งเสริมติวเตอร์ทุกคนให้ก้าวหน้า เจริญเติบโตในสายอาชีพนี้ เพราะเราเห็นว่า ทุกคนที่ร่วมงานกับเราคือหุ้นส่วนของเรา

07 พฤศจิกายน 2559

ชนิดของคำ วิชาภาษาไทย ประถมปลาย

อันดับ1 ครูสอนพิเศษ เรียนพิเศษที่บ้าน กับทีมติวเตอร์คุณภาพ

ชนิดของคำ ภาษาไทย


ชนิดของคำ วิชาภาษาไทย ประถมปลาย

ชนิดของคำ วิชาภาษาไทย ประถมปลาย 
ชนิดของคำ วิชาภาษาไทย ประถมปลาย

ชนิดของคำ วิชาภาษาไทย ประถมปลาย 
ชนิดของคำ วิชาภาษาไทย ประถมปลาย

ชนิดของคำ วิชาภาษาไทย ประถมปลาย 
ชนิดของคำ วิชาภาษาไทย ประถมปลาย

ชนิดของคำ วิชาภาษาไทย ประถมปลาย

ชนิดของคำ วิชาภาษาไทย ประถมปลาย 
ชนิดของคำ วิชาภาษาไทย ประถมปลาย

ชนิดของคำ วิชาภาษาไทย ประถมปลาย

ชนิดของคำ วิชาภาษาไทย ประถมปลาย 
ชนิดของคำ วิชาภาษาไทย ประถมปลาย 
ชนิดของคำ วิชาภาษาไทย ประถมปลาย 







06 พฤศจิกายน 2559

การเงิน การคลัง การธนาคาร งบประมาณ วิชาสังคม มัธยมต้น

อันดับ1 ครูสอนพิเศษ เรียนพิเศษที่บ้าน กับทีมติวเตอร์คุณภาพ

การเงิน การคลัง การธนาคาร งบประมาณ

เรียนวิชาสังคมที่บ้าน กรุงเทพ นนทบุรี สมุทรปราการ นนทบุรี ชลบุรี ระยอง โคราช ขอนแก่น อุดรฯ เชียงใหม่ ภูเก็ต หาดใหญ่


เงิน คือ สิ่งใดก็ตามที่สังคมยอมรับอย่างแพร่หลายในฐานะสื่อกลางของการแลกเปลี่ยน มีอำนาจซื้อขายสินค้าและบริการ สามารถรักษามูลค่าหรือหน่วยทางบัญชี สะสมความมั่งคั่งได้และสามารถชำระหนีได้ตามกฎหมาย



ลักษณะของเงินที่ดี

1.  เป็นที่ยอมรับในสังคมทั่วไปอย่างแพร่หลาย
2.  แบ่งแยกเป็นหน่วยย่อย ๆ ได้
3.  มีเสถียรภาพในมูลค่า ไม่เปลี่ยนขึ้นลงรวดเร็ว
4.  พกพานำติดตัวได้สะดวก
5.  มีความคงทนถาวร


หน้าที่ของเงิน

จำแนกแกเป็น 4 ประเภท คือ
1.  เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน ก่อให้เกิดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
2.  เป็นมาตรฐานในการวัดค่า คือ สามารถกำหนดราคาสินค้าและบริการทุกชนิดออกมาเป็นเงิน ใช้วัดค่าเปรียบเทียบมูลค่าระหว่างกันก่อนที่จะตัดสินใจซื้อขายแลกเปลี่ยน
3.  เป็นมาตรฐานในการชำระหนี้ภายหน้าสามารถใช้ประโยชน์ในสินค้าและบริการและชำระหนี้ในอนาคตได้
4.  เป็นเครื่องรักษามูลค่า การรักษามูลค่าหรือสะสมความมั่งคั่ง สามารถกระทำได้ในรูปแบบอื่น ๆ เช่น เก็บในรูปของวัตถุมีค่าต่าง ๆ ที่ดิน บ้าน เป็นต้น ทั้งนี้การถือเงินไว้ในมือเป็นสินทรัพย์อย่างหนึ่งมีสภาพคล่อง ใช้จ่ายได้ทันที ใช้ในการลงทุนได้สะดวก

ประเภทของเงิน 
1.  เหรียญกษาปณ์ ทำจากโลหะโดยกำหนดค่าต่าง ๆ ไว้ เช่น เหรียญ 5 บาท 10 บาท เป็นต้น ผลิตโดยกระทรวงการคลัง
2.  เงินธนบัตร หรือเงินกระดาษ คือ กระดาษที่พิมพ์ขึ้นเป็นพิเศษและกำหนดมูลค่าเอาไว้ ผลิตโดยธนาคารแห่งประเทศไทย เช่น ธนบัตรฉบับละ 50 บาท เป็นต้น
3.  เงินฝากกระแสรายวัน คือสิทธิที่ธนาคารให้แก่ลูกค้าที่ฝากเงินประเภทนี้ใช้เช็ค (cheque) สั่งจ่ายเงินในบัญชีได้ จำนวนเงินที่กรอกลงในเช็คก็คือ มูลค่าของเงินที่คราเอาไว้


ตลาดเงิน

ตลาดเงิน หมายถึง ตลาดที่อำนวยความสะดวกในการโอนเงินจากหน่วยเศรษฐกิจที่มีเงินออกไปยังหน่วยเศรษฐกิจที่ต้องการเงินออม เพื่อนำไปลงทุนประกอบด้วย
1.  ตลาดเงิน คือ การระดมทุนและให้สินเชื่อระยะสั้นไม่เกิน 1 เช่น ตั๋วแลกเงิน ตั๋วเงินคลัง 
2.  ตลาดทุน คือ ตลาดที่มีการระดมเงินออมระยะยาวให้สินเชื่อตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป ได้แก่ เงินฝากประจำ หุ้นกู้ หุ้นสามัญ และพันธบัตรของทั้งรัฐบาลและเอกชน
ความสำคัญของตลาดเงิน คือ
1.  เป็นการระดมทุนจากหน่วยเศรษฐกิจที่มีเงินออม
2.  ก่อให้เกิดการจัดสรรทุนอย่างมีประสิทธิภาพ
3.  ช่วยรักษาความเจริญ เติบโต ของระบบเศรษฐกิจ
4.  ตลาดเงินช่วยแก้ปัญหาทางการเงินในระดับมหภาคได้


เรียนวิชาสังคมที่บ้าน


การธนาคาร หรือสถาบันการเงิน

ความหมาย ประเภท ของสถาบันทางการเงิน
สถาบันทางการเงิน หมายถึง หน่วยงานหรือองค์กรที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางรับเงินออมจากผู้มีเงินออมต่าง ๆ มาให้ผู้ต้องการกู้ยืมเงิน เพื่อการบริโภค หรือเพื่อลงทุน
ประเภทของสถาบันการเงิน แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1.  ธนาคารพาณิชย์ หมายถึง ธนาคารที่ประกอบธุรกิจประเภทรับฝากเงินที่ต้องจ่ายคืน เมื่อทวงถามหรือเมื่อสิ้นระยะเวลากำหนดไว้ โดยนำไปใช้ประโยชน์ให้กู้ยืม ซื้อขายเป็นตั๋วแลกเงินหรืออื่น ๆ 

     หน้าที่ธนาคารพาณิชย์

1.  รับฝากเงินของเอกชน บริษัทห้างร้านทั่วไป ประเภทกระแสรายวัน ออมทรัพย์และประจำ
2.  ให้สินเชื่อและเครดิตหรือให้การกู้ยืมแก่เอกชน บริษัทห้างร้านหรือบุคคลทั่วไป
3.  การซื้อลดตั๋วเงิน โดยได้รับส่วนลดเป็นดอกเบี้ย
4.  การซื้อขายเงินตราต่างประเทศ
5.  การออกหนังสือค้ำประกัน
6.  อำนวยความสะดวกให้กับผู้สั่งซื้อสินค้าเข้าและผู้ส่งสินค้าออก
7.  การซื้อพันธบัตรจากรัฐบาล
8.  การบริการอื่น ๆ เช่น การเช่าตู้นิรภัย เช็คของขวัญ
2.  ธนาคารกลาง เป็นธนาคารที่มีบทบาทหลักในการจัดการให้เศรษฐกิจมีเสถียรภาพ เช่น แก้ไขเงินเฟ้อ ดูแลการปล่อยสินเชื่อ หรือป้องกันมิให้ธนาคารพาณิชย์ล้ม เป็นต้น
     หน้าที่ของธนาคารกลาง
1.  รักษาเสถียรภาพทางการเงิน ดำเนินนโยบายที่เหมาะสมต่อเศรษฐกิจ เพื่อก่อให้เกิดเสถียรภาพทางการเงินทั้งภายในและภายนอก
2.  กำกับดูแลสถาบันการเงิน ตรวจสอบการทำงานของธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ให้มีความมั่นคงและได้มาตรฐานสากล
3.  เป็นนายธนาคารและที่ปรึกษาด้านนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาล เป็นนายธนาคารของรัฐบาล บริการธุรกิจธนาคารให้แก่ส่วนราชการ
4.  เป็นนายธนาคารของสถาบันการเงิน
5.  การบริหารเงินสำรองระหว่างประเทศ บริหารให้เกิดสภาพคล่องปลอดภัย มีระดับที่มีเสถียรภาพ และความเชื่อถือของเงินบาท
6.  จัดพิมพ์และออกพันธบัตรออกใช้


สถาบันการเงินที่มีวัตถุประสงค์เป็นพิเศษ

1.  ธนาคารออมสิน เป็นธนาคารของรัฐบาล มีหน้าที่รับฝากเงินจากประชาชนทั่วไป โดยนำเงินไปลงทุนซื้อหลักทรัพย์รัฐบาล เช่น พันธบัตร เป็นต้น
2.  ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) มีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจ มีหน้าที่ช่วยเหลือทางการเงินแก่เกษตรกร
3.  ธนาคารอาคารสงเคราะห์ เป็นธนาคารของรัฐบาล สังกัดกระทรวงการคลัง มีวัตถุประสงค์เพื่ออนุเคราะห์แก่ประชาชน กู้ยืมเพื่อไปซื้อที่ดินหรืออาคารสิ่งปลูกสร้าง


สถาบันการเงินที่มิใช่ธนาคาร

1.  บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
2.  บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์จำกัด
3.  บริษัทประกันภัย
4.  สหกรณ์การเกษตรและสหกรณ์ออมทรัพย์
5.  โรงรับจำนำ


การคลัง

การคลัง หมายถึง กระบวนการดำเนินงานทางการเงิน เกี่ยวกับรายรับ รายจ่ายของรัฐบาล
นโยบายการคลัง หมายถึง นโยบายเกี่ยวกับการใช้ รายได้ และรายจ่ายของรัฐ เป็นเครื่องมือสำคัญในการกำหนดแนวทาง เป้าหมาย และการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมายทางเศรษฐกิจ
วัตถุประสงค์ของนโยบายการคลัง
1.  ส่งเสริมการจัดสรรทรัพยากรระหว่างภาคเอกชนและรัฐบาลให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยให้สัดส่วนที่ทำให้สังคมได้รับประโยชน์สูงสุด สามารถจัดหาสินค้าและบริการสาธารณะในปริมาณและคุณภาพที่ตรงกับความต้องการของประชาชนส่วนใหญ่
2.  ส่งเสริมการกระจายรายได้ที่เป็นธรรม ทำให้รายได้เบื้องต้นของประชาชนมีความทัดเทียมกันมากขึ้น
3.  เสริมสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ซึ่งจะขยายตัวได้เมื่อมีการลงทุนที่มีอัตราเพิ่มสูงกว่าอัตราเพิ่มของประชาชน รัฐบาลสามารถใช้นโยบายการคลังที่จะเพิ่มการใช้จ่ายและขยายการลงทุนในภาครัฐบาล
4. รักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่ขาดเสถียรภาพมักก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ประชาชนทั่วไป จึงต้องสร้างความมีเสถียรภาพในตลาดเงินและสมดุลในบัญชีดุลการชำระเงินระหว่างประเทศ

เครื่องมือของนโยบายการคลัง คือ
งบประมาณแผ่นดินเป็นแผนการเงินของรับบาล ประกอบด้วยประมาณการรายได้และรายจ่ายรวมทั้งการจัดหาเงินเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายตามประมาณการใช้ในช่วงระยะเวลา 1 ปี
1.  งบประมาณจะมีการจัดทำได้เป็น 3 ลักษณะ คือ
2.  งบประมาณสมดุล หมายถึง รายจ่ายเท่ากับรายได้รวม
3.  งบประมาณเกินดุล หมายถึง รายได้มากกว่ารายจ่าย
4.  งบประมาณขาดดุล หมายถึง รายจ่ายมากกว่ารายได้ ซึ่งในกรณีนี้รัฐบาลต้องจัดหาทุนมาจุนเจือส่วนที่ขาดดุลโดยก่อหนี้สาธารณะ
เครื่องมือของนโยบายการคลังจึงหมายถึง
1.  งบประมาณรายจ่าย
2.  งบประมาณรายรับ
3.  หนี้สาธารณะ
งบประมาณรายจ่ายของรับ หมายถึง ยอดเงินรวมที่รัฐต้องจ่ายออกไปเพื่อพัฒนาประเทศซึ่งรับบาลจะทำแผนประมาณการรายจ่ายประจำปี
1.  รายจ่ายของรัฐ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
      1.  รายจ่ายประจำ เช่น เงินเดือน ค่าจ้าง ค่าไฟฟ้า ค่าบริการต่าง ๆ 
      2.  รายจ่ายลงทุน คือ การพัฒนาประเทศด้านต่าง ๆ เช่น การสร้างเขื่อน ท่าอากาศยาน ฯลฯ
2.  รายรับของรัฐ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
     รายได้จากการเก็บภาษีอากรและรายได้ที่มิใช่ภาษีอากร
     1.  รายได้จากการเก็บภาษีอากร ได้แก่ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีศุลกากร และภาษีสรรพสามิต ซึ่งเป็นรายได้ส่วนใหญ่ของรัฐ
     2.  รายได้ที่มิใช่ภาษีอากร ได้แก่ รายได้จากรัฐพาณิชย์ รายได้จากการขายหลักทรัพย์และอสังหาริมทรัพย์ และการเก็บค่าธรรมเนียมประเภทต่าง  ๆ
3.  หนี้สาธารณะ
     ในกรณีที่งบประมาณแผ่นดินขาดดุลรัฐบาลต้องจัดหาเงินมาจุนเจือส่วนที่ขาดดุลโดยก่อหนี้สาธารณะโดยกู้ทั้งจากภายในประเทศและจากต่างประเทศ

     การกู้เงินภายในประเทศมีวัตถุประสงค์ คือ
     1.  เพื่อชดเชยงบประมาณขาดดุลชั่วคราว โดยการกู้เงินภายในประเทศระยะสั้นเพื่อนำมาใช้จ่ายในงบประจำต่าง ๆ ชั่วคราว
     2.  เพื่อใช้ในการลงทุนตามโครงการพัฒนาเศรษฐกิจ ตามโครงการเร่งรัดพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศให้เจริญก้าวหน้า
     3.  เพื่อสร้างเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจ ในภาวะที่เศรษฐกิจตกต่ำอันเนื่องมาจากความต้องการใช้จ่าย ผู้ผลิตจำต้องลดการผลิตลง ทำให้เกิดปัญหาการว่างงาน รัฐบาลอาจต้องเพิ่มรายจ่ายของรัฐบาลเพื่อให้มีการใช้ทรัพยากรและการจ้างงาน การเพิ่มรายจ่ายเช่นนี้ทำให้รัฐบาลต้องกู้เงิน

การกู้เงินจากต่างประเทศมีวัตถุประสงค์ คือ
1.  เนื่องจากรัฐบาลรับภาระด้านจัดหาโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจรองรับความเจริญเติบโตของเศรษฐกิจในยุคทุนนิยม แต่ไม่สามารถเก็บภาษีอากรและรายได้อื่นภายในประเทศได้เพียงพอ
2.  ในการสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจโดยผ่านการลงทุนขนาดใหญ่ จำเป็นต้องใช้สินค้าทุนและเทคโนโลยีจากต่างประเทศ และต้องชำระค่าตอบแทนด้วยเงินตราต่างประเทศ แต่เนื่องจากการหารายได้เงินตราต่างประเทศจากการขายสินค้าและบริการส่งออกยังไม่พอเพียง รัฐบาลจึงจำเป็นต้องกู้จากต่างประเทศ

05 พฤศจิกายน 2559

เศรษฐกิจพอเพียง วิชาสังคม มัธยมต้น

อันดับ1 ครูสอนพิเศษ เรียนพิเศษที่บ้าน กับทีมติวเตอร์คุณภาพ

เศรษฐกิจพอเพียง

เศรษฐกิจพอเพียง วิชาสังคม มัธยมต้น



ความหมายของระบบเศรษฐกิจแบบพอเพียง

เศรษฐกิจแบบพอเพียง หรือระบบที่พึ่งตนเองได้ เพราะพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มองได้ 2 ลักษณะใหญ่ ๆ คือ
เศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง ความสามารถของชุมชนเมือง รัฐ ประเทศ หรือภูมิภาคหนึ่ง ๆ ในการผลิตสินค้าและบริการทุกชนิดเพื่อเลี้ยงสังคมนั้น ๆ ได้โดยไม่ต้องพึ่งพาปัจจัยต่าง ๆ ที่เราไม่ได้เป็นเจ้าของ


เศรษฐกิจพอเพียงในระดับบุคคล

เศรษฐกิจพอเพียงในระดับบุคคล คือ ความสามารถในการดำรงชีวิตได้อย่างไม่เดือดร้อน มีความเป็นอยู่อย่างประมาณตนตามฐานะ ตามอัตภาพ ที่สำคัญไม่หลงใหลไปตามกระแสของวัตถุนิยม มีอิสรภาพ เสรีภาพไม่พันธนาการอยู่กับสิ่งใด

หลักการพึ่งตนเอง มีหลักสำคัญอยู่ 5 ประการ คือ
1.  ด้านจิตใจ ทำตนให้เป็นที่พึ่งแห่งตน มีจิตสำนึกที่ดี สร้างสรรค์ให้ตนเองและชาติโดยรวม มีจิตใจเอื้ออาทร ประนีประนอม เห็นประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง
2.  ด้านสังคม แต่ละชุมชนต้องช่วยเหลือเกื้อกูลกัน เชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายชุมชนที่แข็งแรงเป็นอิสระ
3.  ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้ใช้และจัดการอย่างฉลาด พร้อมทั้งหาทางเพิ่มมูลค่าโดยให้ยึดอยู่บนหลักการของความยั่งยืน
4. ด้านเทคโนโลยี จากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เทคโนโลยีที่เข้ามาใหม่มีทั้งดีและไม่ดี จึงต้องแยกแยะบนพื้นฐานของภูมิปัญญาชาวบ้านและเลือกใช้เฉพาะที่สอดคล้องกับความต้องการตามสภาพแวดล้อมและควรพัฒนาเทคโนโลยีจากภูมิปัญญาของเราเอง
5. ด้านเศรษฐกิจ แต่เดิมนักพัฒนามักมุ่งเน้นแต่การเพิ่มรายได้ และไม่มีการมุ่งลกรายจ่ายในภาวะที่เศรษฐกิจวิกฤตเช่นเวลานี้ จึงต้องปรับทิศทางการพัฒนาใหม่ คือ ต้องมุ่งลดรายจ่ายก่อนเป็นสำคัญโดยยึดหลัก “พออยู่ พอกิน พอใช้”

ทุกข์ของคนไทยในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ ในช่วงปี พ.ศ.2539 – 2540 ที่เศรษฐกิจผันผวน การลงทุนหยุดชะงัก เกิดภาวการณ์ว่างงาน สถาบันทางการเงินล้มเป็นจำนวนมาก กระแสเงินไหลออกจนทุนสำรองระหว่างประเทศกระทบกระเทือนอย่างหนัก กิจการขนาดใหญ่ต้องล้มเลิกกิจการ ล้วนแต่เป็นทุกข์ที่รุนแรงที่ทั้งภาครัฐบาลและเอกชนไม่สามารถตั้งรับได้ทัน
เหตุวิกฤติครั้งนี้มาจาก การวางแผนพัฒนาประเทศในอดีตมุ่งความเจริญทางด้านเศรษฐกิจเป็นหลักสำคัญ ทุ่มเทขยายการผลิตไปในด้านอุตสาหกรรมมากกว่าด้านเกษตรกรรมซึ่งเป็นการผลิตที่เน้นปัจจัยที่เหมาะสมของไทยเป็นสำคัญ
แนวทางพ้นทุกข์ ที่จะทำให้หลุดพ้นจากระบบเศรษฐกิจที่พังพินาศ คือ การประคองตนเองให้ลุกขึ้นมายืนหยัดด้วยลำแข้งของตนเองต่อไป ด้วยวิธีการแบบที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเรียกว่า “เศรษฐกิจพอเพียงกับตนเอง” (Relative Self – Sufficient Economy) เพื่อให้รอดพ้นจากวิกฤตและลุกขึ้นต่อสู่ต่อไปได้อย่างช้า ๆ แต่ยั่งยืน

การดำรงชีพแบบ “เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นการเข้าสู่มาตรฐาน “พออยู่ พอกิน” ตามพระราชดำริอาจปฏิบัติได้ดังนี้
1.  ยึดความประหยัด ตัดทอนค่าใช้จ่ายทุกด้าน ลดละความฟุ่มเฟือยในการดำรงชีพ
2.  ยึดการประกอบอาชีพสุจริต แม้จะอยู่ในภาวะเลวร้ายเพียงใดก็ตาม
3.  ละเลิกการแก่งแย่งผลประโยชน์และการแข่งขันในการประกอบอาชีพ การค้าขายในอดีต
4.  ไม่หยุดนิ่งที่จะหาทางให้ชีวิตหลุดพ้นจากความทุกข์ยาก โดยใฝ่หาความรู้ ให้เกิดรายได้เพิ่มพูนขึ้นจนถึงขั้นพอเพียง
5.  ปฏิบัติตนในแนวทางที่ดี ลดละสิ่งชั่วให้หมดสิ้นไป ทั้งนี้ด้วยสังคมไทยล่มสลายจากบุคคลบางส่วนที่มีส่วนทำลายทั้งตนเองและผู้อื่นโดยปราศจากความละอายต่อบาป


แนวคิดระบบเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับเกษตรกร

ตามแนวพระราชดำริตั้งอยู่บนพื้นฐานของ “ทฤษฏีใหม่ 3 ขั้น” คือ


  1. ขั้นที่หนึ่ง มีความพอเพียง เลี้ยงตัวเองได้บนพื้นฐานของความประหยัด ขจัดการใช้จ่าย
  2. ขั้นที่สอง รวมพลังกันในรูปของกลุ่ม เพื่อทำการผลิต การตลาด การจัดการ รวมทั้งด้านสวัสดิการการศึกษา การพัฒนาสังคม การปกครองตนเอง ฯ
  3. ขั้นที่สาม สร้างเครือข่ายกลุ่มอาชีพและขยายกิจกรรมทางเศรษฐกิจให้หลากหลายโดยประสานความร่วมมือกับภาคธุรกิจ ภาคองค์กรพัฒนาเอกชน และภาคราชการในด้านการเงินทุน ตลาด การผลิต การจัดการ และข่าวสารข้อมูล



แนวคิดระบบเศรษฐกิจแบบพอเพียงมีองค์ประกอบหลัก 3 ประการ คือ

ประการแรก เป็นระบบเศรษฐกิจที่ยึดหลัก “ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน” คือ
-  มุ่งเน้นผลิตพืชผลเพียงพอกับความต้องการบริโภคในครัวเรือน
-  เมื่อเหลือจากการบริโภคแล้วจึงคำนึงถึงการผลิตเพื่อการค้าอันถือเป็นกำไร ผลคือ เกษตรกรจะเป็นผู้กำหนดตลาด และได้ลดค่าใช้จ่ายโดยการสร้างสิ่งอุปโภคบริโภคในที่ดินของตนเอง

ประการที่สอง ให้ความสำคัญกับการรวมกลุ่มชาวบ้าน หรือองค์กรในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่าง ๆ หลากหลายแบบผสมผสาน ทำให้ชุมชนมีรายได้

ประการที่สาม อยู่บนพื้นฐานของความเมตตา ความเอื้ออาทร ความสามัคคีของสมาชิกในชุมชน การสร้างความมั่นคงให้กับสถาบันครอบครัว ชุมชน การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น


ผู้ที่อยู่นอกภาคเกษตรกรรม

สามารถนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้เป็นแนวปฏิบัติตนไม่ว่าจะอยู่ในกิจกรรมใด อาชีพใด ก็ต้องยึดวิถีชีวิตไทย อยู่แต่พอดี อย่าฟุ่มเฟือยอย่างไร้ประโยชน์ อย่ายึดวัตถุเป็นที่ตั้ง ยึดเส้นทางสายกลาง อยู่กินตามฐานะ ใช้สติปัญญาในการดำรงชีวิต จำเริญเติบโตอย่างค่อยเป็นค่อยไป อย่าใช้หลักการลงทุนเชิงการพนันซึ่งตั้งอยู่ในความเสี่ยง กู้เงินมาลงทุนโดยหวังรวยอย่างรวดเร็ว ตั้งมั่นในการใช้สติปัญญาปกป้องตนเองจากกระแสโลกาภิวัฒน์ ให้มีความรัก ความเมตตาที่จะช่วยเหลือสังคมให้รอดพ้นจากภัยพิบัติ และรวมพลังกันด้วยความสามัคคีเป็นหมู่เหล่า ประนีประนอมรักษาผลประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก
ทฤษฎีใหม่ (New theory)


เศรษฐกิจพอเพียง วิชาสังคม มัธยมต้น


จากพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเกี่ยวกับทฤษฎีใหม่ที่ได้ทรงประทานไว้ในวโรกาสต่าง ๆ น่าจะพอสรุปได้ คือ

ทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 1 แนวทางปฏิบัติเพื่อให้เกษตรกรที่มีที่ดินถือครองประมาณ 10 – 15 ไร่ สามารถมีน้ำใช้เพื่อการเกษตรอย่างพอเพียงตลอดปี และการใช้น้ำกับที่ดินที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยแบ่งที่ดินถือครองออกเป็นสัดส่วนดังนี้
ส่วนที่ 1 ร้อยละ 30 ของพื้นที่ใช้ขุดสระ เพื่อมีน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง
ส่วนที่ 2 ร้อยละ 60 ของพื้นที่ใช้สำหรับทำนาปลูกข้าวและปลูกพืชไร่ทำสวน
ส่วนที่ 3 ร้อยละ 10 ของพื้นที่ใช้สำหรับเป็นที่บริการ เช่น ถนน ที่อยู่อาศัย อื่น ๆ 
ทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 2 การรวมพลังกันในรูปของกลุ่มหรือสหกรณ์ร่วมแรงในการการผลิต การตลาด การเป็นอยู่ สวัสดิการ การศึกษา และสังคมและศาสนา ด้วยความร่วมมือของหน่วยราชการมูลนิธิและเอกชน
ทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 3 ติดต่อร่วมมือกับแหล่งเงิน (ธนาคาร) แหล่งพลังงาน (บริษัทน้ำมัน) ตั้งและบริการโรงสี ตั้งและบริหารร้านสหกรณ์


ประโยชน์ของทฤษฎีใหม่ (พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานสรุป)

1.  ทำให้ประชาชนมีกินตามอัตภาพ
2.  ถ้าน้ำพอดีปีไหนก็สามารถทำการเกษตรหรือปลูกข้าวนาปีได้ ถ้าต่อไปในหน้าแล้งน้ำมีน้อยก็สามารถนำน้ำจากสระมาใช้ได้
3.  ถ้าในภาวะปกติก็สามารถทำให้มีรายได้มากขึ้น
4.  ถ้าในภาวะที่มีอุทกภัยก็สามารถจะฟื้นตัวได้ โดยไม่ต้องให้ทางราชการไปช่วยมากเกินไปทำให้พึ่งตนเองได้เป็นอย่างดี


ปัจจุบันมีผู้ศึกษาเกี่ยวกับ “การวิเคราะห์อุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง” ค้นพบว่า ถ้านำหลักการแนวคิดของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ก็จะทำให้กิจกรรมเหล่านี้สามารถดำเนินกิจกรรมไปได้โดยตลอด จึงถือได้ว่าอาจใช้ประยุกต์แทนหลักธรรมมาภิบาลได้ สรุปได้ 9 ข้อ คือ
1. ใช้เทคโนโลยีให้ถกหลักวิชาแต่มีราคาถูก
2. ใช้ทรัพยากรทุกชนิดอย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพสูงสุด
3. เน้นการจ้างงานเป็นหลักโดยไม่นำเทคโนโลยีมาทดแทนแรงงาน
4. มีขนาดการผลิตที่สอดคล้องกับความสามารถบริหารจัดการ
5. ไม่โลภจนเกินไป
6. ซื่อสัตย์สุจริตในการประกอบการ
7. กระจายความเสี่ยงจากการมีผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายและมีความสามารถในการเปลี่ยนผลผลิตได้ง่าย
8. เน้นการบริหารความเสี่ยวต่ำ ไม่ก่อหนี้เกินขีดความสามารถบริหารจัดการ
9. เน้นการใช้วัตถุดิบในท้องถิ่น ตลาดในท้องถิ่น ถูมิภาค ตลาดในและต่างประเทศตามลำดับ








04 พฤศจิกายน 2559

วิชาภาษาอังกฤษ มัธยมต้นเรื่อง Word order

อันดับ1 ครูสอนพิเศษ เรียนพิเศษที่บ้าน กับทีมติวเตอร์คุณภาพ

Word order

เรียนภาษาอังกฤษที่บ้านแบบตัวต่อตัว



Word order คือ การเรียงลำดับตำแหน่งคำของประโยคในภาษาอังกฤษนั้นเอง เพื่อให้การเขียนและการพูดภาษาอังกฤษ มีความไพเราะและถูกต้องในเรื่องของโครงสร้างประโยค ซึ่งมีหลักเกณฑ์สำคัญๆ อยู่ไม่กี่อย่าง Ungkrit.com ได้สรุปหลักสำคัญ มาให้ทุกคนได้เรียนรู้และง่ายต่อการทำความเข้าใจ  

รูปประโยค

  ประธาน + กริยา + กรรม
  ตัวอย่าง: Cats+ eat+ fish

ประโยคคำถาม

  กริยาช่วย + ประธาน + รูปกริยาที่มี To นำหน้าและทำหน้าที่เป็นนาม หรือ กริยาช่องที่ 3…?
  (ตัวอย่าง: Have you visited her?)
  คำกริยาช่วย + ประธาน + รูปกริยาที่ทำหน้าที่เป็นนาม.....?
  (ตัวอย่าง: Can you swim?)

Subject Question

  Who + กริยา (ทั้งที่มี / และไม่มี กริยาช่วย)....?
  (ตัวอย่าง: Who has eaten the cake? Who ate the cake?)
Object Question
  อะไร / ทำไม / เมื่อไร + กริยาช่วย + ประธาน + รูปกริยาทำหน้าที่เป็นนาม หรือ กริยาช่องที่ 3 
  (ตัวอย่าง: Why did you leave?) 

กฎทั่วๆไป

  คำคุณศัพท์ จะต้องอยู่ข้างหน้าและสอดคล้องกับนาม
  (ตัวอย่าง: Hungry, black cats eat raw and cooked fish)
  กริยา จะต้องอยู่ข้างหน้าและสอดคล้องกับ คำที่ทำหน้าที่ขยายกริยา
  (ตัวอย่าง: Although he was eating noisily, she watched quietly)
  คำนำหน้านามจะต้องอยู่ข้างหน้าและสอดคล้องกับนาม
  (ตัวอย่าง: The Vatican chose a Polish priest to be Pope)
  

การเรียงลำดับคำในประโยค

การเรียงลำดับคำในประโยคเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมากในภาษาอังกฤษ แต่ไม่ได้มีความซับซ้อนขนาดที่ว่ายากเกินที่จะทำความเข้าใจกับมัน และเราสามารถลดให้เหลือแต่หลักการสำคัญๆในการทำความเข้าใจกับ Word order

ในรูปประโยคปกติ (ประโยคบอกเล่าทั่วๆไป) ประธานของประโยคจะต้องอยู่ก่อนหน้า กริยาเสมอ และกรรมตรง (ถ้าหากว่ามีในรูปประโยค) จะต้องตามหลังกริยาเสมอ
  ตัวอย่าง:
  The man wrote a letter.  People who live in glasshouses shouldn't throw stones.  The president laughed.


ให้จำไว้ว่าประธานของประโยค ไม่ได้หมายถึงคำเดี่ยวๆเพียงคำเดียว แต่หมายถึง คำนามหรือคำสรรพนามประอบกับการขยายวลีเข้าด้วยกัน ส่วนที่เหลือของประโยคที่ไม่ใช่ประธานเราจะเรียกว่าภาคแสดง
  ตัวอย่าง:  People who live in glasshouses shouldn't throw stones.

ถ้ารูปประโยคมีส่วนใดๆก็ตามที่เป็น กรรมรอง, กริยาช่วย, ข้อความที่มีคำกริยาวิเศษณ์ที่พ่วงบุพบทเข้าขยายกริยา ส่วนต่างๆเหล่านี้มักโดยปรกติแล้วมักจะวางตามมาในรูปประโยค
   
ตำแหน่งของกรรมรอง
  กรรมรองจะอยู่ต่อท้าย กรรมตรง เมื่ออยู่รวมกับประโยคมีคำบุพบท to:
  กรรมรองจะอยู่ ข้างหน้าของกรรมตรง ถ้ามี to อยู่ด้วย
  ตัวอย่าง:
  The doctor gave some medicine to the child.
  The doctor gave the child some medicine.
   
กริยาช่วย หรือ กริยาวิเศษณ์วลี สามารถวางได้ 3 รูปแบบด้วยกัน ดังนี้
  วางไว้อยู่หน้าประธาน ในรูปประโยค (จะอยู่รวมกับกริยาช่วย หรือ กริยาวลี)
  ตัวอย่าง: Yesterday the man wrote a letter.
อยู่หลังกรรม (เสมือนว่ากริยาช่วยใดๆก็ตาม หรือ กริยาวิเศษณ์วลี สามารถวางได้ในรูปประโยคนี้)
  ตัวอย่าง: The man wrote a letter on his computer in the train.
  วางไว้ในตรงกลางของกลุ่มคำกริยา (อยู่ร่วมกับกริยาวิเศษณ์วลีทั่วไป)
  ตัวอย่าง: The man has already written his letter.

ในภาษาอังกฤษแบบมาตรฐานนั้น โดยปกติแล้วจะไม่มีสิ่งใด มาขั้นระหว่างประธานและกริยา หรือ ระหว่างกริยาและกรรม ซึ่งมีข้อยกเว้นอยู่เล็กน้อย สิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับกริยาช่วยและ กรรมรองที่ไม่มี to.
  ตัวอย่าง:  The man often wrote his mother a letter.  I sometimes give my dog a bone.
 

  ประโยคคำถาม

  เราจำประโยคคำถามง่ายๆแบบนี้ ทีเราพูดในภาษาอังกฤษได้ไหม How do you do? เกือบจะทุกคำถามโครงสร้างประโยคคำถามส่วนมากในภาษาอังกฤษนั้น ได้อิงพื้นฐานมาจากรูปประโยคนี้ ( คำถาม + รูปกริยาทำหน้าที่เป็นนาม หรือ กริยาช่วย – ประธาน – กริยาหลัก + ส่วนที่เหลืองของประโยค
  (Question word) - Auxiliary or modal - subject - main verb - (plus the rest of the sentence): 
  ตัวอย่าง : 
  What did Tom Cruise do?
  Did Arnold Schwarzenegger learn English quickly?
  How quickly did Arnold Schwarzenegger learn English?
  Has the representative from that German company sent us his invoice yet?

ข้อยกเว้น

      แน่นอนที่สุดสำหรับกฎการใช้งานต่างๆนั้น จะต้องมีการยกเว้นในบางอย่าง คนที่เขียนภาษาอังกฤษ คนที่พูดภาษาอังกฤษในบางครั้งพวกเขาเหล่านั้นก็มีการใช้ Word order ที่มีความแตกต่างกันออกไป หรือ มีการใช้ในรูปประโยคที่ไม่ได้ใช้กันบ่อยๆ แต่ถ้าหากว่าเราไปให้ความสำคัญกับข้อยกเว้นในการใช้งานจนเกินไป เราอาจจะละเลยหลักการที่สำคัญๆ ของ word order ได้ และอาจทำให้เรื่อง word order ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ซับซ้อนมากนัก กลายเป็นเรื่องซับซ้อนสำหรับเราไปเลยก็ได้ และนี้เป็นตัวอย่างเพียงแค่เล็กน้อย 
      เราควรจะตระหนักว่า Word order นั้นสามารถนำมาใช้ในภาษาอังกฤษได้ แต่อย่าพยายามใช้มันถ้าหากว่าไม่มีความจำเป็นต่อบริบทนั้นจริงๆ หรือถ้าหากคุณมีความชำนาญในการใช้ word order ในรูปแบบต่างๆแล้วจริง (อย่าพยายามวิ่ง จนกว่าคุณจะเดินได้อย่างมั่นคง)
ตัวอย่าง:
  Never before had I seen such a magnificent exhibition.
  (หลัง Never หรือ never before ประธานและกริยา สามารถแปลงเป็นรูปอื่นได้)
   
  Hardly had I left the house, than it started to rain.
  (เมื่อประโยคขึ้นต้นด้วย Hardly ประธานและกริยาจะต้องมีการเปลี่ยนรูป)
   
  Had I known, I'd never have gone there.
  (การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นเมื่อในประโยคมีเงื่อนไขที่เป็นสมมุติฐาน และเมื่อ If ถูกละไว้)
   
  The book that you gave me I'd read already.
  (ในประโยคนี้มีกรรมที่มีความยาว คือ “The book that you gave” ถูกวางใน ตอนต้นของประโยคด้วย 
  รูปแบบของเหตุและผล ซึ่งเรามักจะไม่ค่อยได้เห็น โครงสร้างประโยคแบบนี้บ่อยนัก เป็นเพียงแค่การ  
  เขียนอีกรูปแบบหนึ่ง)










วิชาภาษาอังกฤษ มัธยมต้น เรื่อง Stative verbs

อันดับ1 ครูสอนพิเศษ เรียนพิเศษที่บ้าน กับทีมติวเตอร์คุณภาพ

Stative verb

คำกริยาเป็น Part of speech หนึ่งที่สำคัญมาก เนื่องจากเป็นส่วนที่จะสื่อสารข้อมูลซึ่งแสดงใจความสำคัญของประโยค ความเข้าใจที่ถูกต้องและครอบคลุมเกี่ยวกับคำกริยาจึงจำเป็นสำหรับผู้เรียนภาษาอังกฤษ



คำกริยาเป็น Part of speech หนึ่งที่สำคัญมาก เนื่องจากเป็นส่วนที่จะสื่อสารข้อมูลซึ่งแสดงใจความสำคัญของประโยค ความเข้าใจที่ถูกต้องและครอบคลุมเกี่ยวกับคำกริยาจึงจำเป็นสำหรับผู้เรียนภาษาอังกฤษ  

เมื่อนึกถึงคำกริยา คนส่วนใหญ่จะนึกถึงการกระทำบางอย่างที่ต้องมีการเคลื่อนไหว แสดงให้เห็นอาการบางอย่างของคน หรือ สัตว์ หากให้ผู้เรียนยกตัวอย่างคำกริยา คำตอบที่ได้มักจะได้แก่คำกริยาต่างๆซึ่งแสดงการเคลื่อนไหว หรือการกระทำในชีวิตประจำวันของมนุษย์เรา เช่น eat  walk  run  speak  sing  write เป็นต้น คำกริยาลักษณะนี้เรียกว่าคำกริยาแสดงอาการ (action หรือ dynamic verbs) ซึ่งเป็นคำกริยาส่วนใหญ่ในภาษาอังกฤษ แต่คำกริยาไม่จำเป็นต้องแสดงการเคลื่อนไหวหรืออาการที่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าเสมอไป และคำกริยาไม่จำเป็นต้องใช้กับสิ่งมีชีวิตเสมอไป คำกริยาที่ดำเนินอยู่ แต่มองไม่เห็น และยังสามารถใช้กับประธานที่เป็นคน สัตว์ หรือสิ่งของได้นี้คือคำกริยาแสดงสภาวะ หรือ stative verbs เป็นคำกริยาที่บรรยายให้เห็นสภาวะ (state) ไม่ใช่การกระทำ  บางท่านอาจเรียกว่า abstract verbs เนื่องจากเป็นกริยาที่ไม่สามารถจับต้องได้ นอกจากนี้คำกริยากลุ่มนี้ยังมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Nonprogressive verbs เนื่องจากเราไม่สามารถใช้คำกริยาแสดงสภาวะนี้ในรูปของ –ing ได้


ประเภทของคำกริยาแสดงสภาวะ

คำกริยาแสดงสภาวะแบ่งออกได้เป็น 6 ประเภท หรือ 6 กลุ่ม ตามความหมายของมัน ดังนี้

1. คำกริยาที่แสดงประสาทสัมผัสและการรับรู้ (Verbs of the senses and perception) 
      เป็นคำกริยาที่แสดงถึงการใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าในการรับรู้สิ่งรอบตัวนั่นเอง ได้แก่คำต่อไปนี้
  Feel see sound Hear smell taste

เช่น
Did you hear the explosion? คุณได้ยินเสียงระเบิดใหม่


The coffee smells so good.กาแฟกลิ่นหอมจัง

คำขยาย stative verbs ในกลุ่มนี้ ต้องใช้ adjectives เท่านั้น ไม่สามารถใช้ adverbs เหมือนคำกริยาโดย ทั่วๆไปได้ ซึ่งการขยายคำกริยากลุ่มนี้ด้วย adverbs เป็นข้อผิดพลาดที่พบเห็นเป็นประจำ

2. คำกริยาที่แสดงสภาวะทางความคิด (Verbs of Mental State) 
      เป็นคำกริยาที่แสดงถึงการทำงานของสมอง ระบบความจำ และระบบความคิด ซึ่งการทำงานเหล่านี้เราไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าว่าเกิดขึ้นจริงหรือไม่ หรือมีอยู่หรือไม่ ได้แก่คำต่อไปนี้

believe know recognize think
doubt mean remember understand
forget realize suppose


เช่น She believes that he loves her.
I doubt that the money will arrive in time.
I forgot to turn off the light.

3.  คำกริยาที่แสดงความเป็นเจ้าของ (Verbs of Possession)
คน หรือสัตว์สามารถเป็นเจ้าของสิ่งต่างๆได้โดยไม่จำเป็นต้องประกาศความเป็นเจ้าของนั้นๆให้สาธารณชนรับรู้เสมอไป แต่สภาวะความเป็นเจ้าของก็ยังคงมีอยู่ คำกริยาแสดงความเป็นเจ้าของได้แก่คำต่อไปนี้

belong own have possess
เช่น
My grandfather owns this farm.
คุณปู่ผมเป็นเจ้าของฟาร์มนี้

That bone belongs to Bobby.
กระดูกท่อนนั้นเป็นของเจ้าบ๊อบบี้

4.  คำกริยาแสดงความรู้สึกหรืออารมณ์ (Verbs of Feeling or Emotion)
ความรู้สึกและอารมณ์อาจเกิดขึ้นแล้วหายไป แต่ความรู้สึกและอารมณ์บางอย่างอาจเกิดขึ้นแล้วและคงอยู่ต่อไปเป็นเวลานานก็ได้ ดังนั้นความรู้สึกและอารมณ์จึงมีลักษณะเป็นสภาวะที่เก็บอยู่ในใจคนโดยที่ผู้อื่นอาจไม่รับรู้ก็เป็นได้ คำกริยาที่แสดงความรู้สึกและอารมณ์ได้แก่คำกริยาต่อไปนี้
adore fear love prefer
astonish hate mind surprise wish
enjoy like please envy

เช่น
Wilbur adores charlotte.
วิลเบอร์ชื่นชมชาร์ลอตต์

The news  astonished us.
ข่าวนี้ทำให้เราประหลาดใจ

We enjoyed our holidays so much.
เราสนุกสนานกับวันหยุดของเราอย่างมาก



5.  คำกริยาแสดงการวัดหรือประมาณค่า (Verbs of Measurement)
หลายๆคนอาจสงสัยว่าเพราะเหตุใดจึงจัดคำกริยาแสดงการวัดหรือประมาณอยู่ในกลุ่มของคำกริยาที่แสดงสภาวะ เพราะการวัดปริมาณน่าจะต้องมีการใช้เครื่องมือบางอย่างมาทำการวัด กริยาในกลุ่มนี้ได้แก่คำต่อไปนี้
contain equal weigh
cost          measure
เช่น
The ring is nice, but it costs too much.
แหวนวงนี้สวยดี แต่มันแพงไปหน่อย

The whole package contains four books.
ทั้งห่อมีหนังสือ 4 เล่ม

6.  คำกริยาแสดงสภาวะอื่นๆ (Verbs that express states)
นอกเหนือจากกลุ่มคำแสดงสภาวะทั้ง 5 กลุ่มที่ได้กล่าวมาแล้ว ยังมีคำแสดงสภาวะอื่นๆอีก ดังนี้
be owe seem
exist require
เช่น
The town is three miles away.
ตัวเมืองอยู่ห่างออกไป 3 ไมล์

You seem sad today.
วันนี้เธอดูเศร้าๆนะ


การใช้คำกริยาแสดงสภาวะ

ใช้คำกริยาแสดงสภาวะในกรณีต่อไปนี้
1. เมื่อต้องการแสดงให้เห็นสภาวะใดสภาวะหนึ่ง โดยสิ่งๆนั้นจะยังคงสภาพนั้นต่อๆไปโดยไม่เปลี่ยนแปลง อย่างน้อยชั่วระยะเวลาหนึ่ง เช่น
The theatre is small.
โรงละครเล็ก

She has a cat.
เธอมีแมวหนึ่งตัว

We own a factory.
เราเป็นเจ้าของโรงงานหนึ่งโรง
ดังนั้นจึงไม่สามารถใช้คำกริยาแสดงสภาวะในรูปของ progressive ได้
We have two cars.  (ใช้ได้)
We are having two cars. (ใช้ไม่ได้)

2. มี stative verbs อยู่จำนวนหนึ่งที่มีทั้งความหมายที่แสดงสภาวะ (stative meaning) และความหมายที่แสดงอาการ (active meaning) เวลาใช้จึงควรระวัง เพราะถ้าใช้ในความหมายที่แสดงสภาวะ จะเป็น progressive ไม่ได้ แต่ถ้าใช้ในความหมายที่แสดงอาการ จะเป็น progressive ได้ ผู้เรียนที่ไม่ทราบข้อเท็จจริงนี้มักจะจำเป็นกฎตายตัวว่าห้ามเปลี่ยนรูป stative verb เป็น progressive form ซึ่งกฎข้อนี้ใช้ไม่ได้กับ verb กลุ่มนี้ เช่น

Julie appears happy. (stative)
จูลี่ดูมีความสุข

Julie is appearing in a new show. (active)
จูลี่จะปรากฏตัวในการแสดงชุดใหม่

I think it is a good idea.  (stative)
ฉันคิด(เชื่อ)ว่ามันเป็นความคิดที่ดี

I am thinking about the problem.  (active)
ฉันกำลังคิดตรึกตรองเกี่ยวกับปัญหาอยู่

3. เมื่อใช้ verb to be + adjective ความหมายมักจะเป็นการแสดงสภาวะมากกว่าการกระทำ เช่น
He is tall.
The mango is sweet.
The bacons are crispy.
อย่างไรก็ตาม เมื่อใช้ verb to be + adjective ใน progressive form ประโยคนั้นจะหมายถึงสิ่งซึ่งมีสภาวะชั่วคราว และ adjective ซึ่งตามหลัง verb to be จะต้องกล่าวถึงพฤติกรรมที่ประธานของประโยคสามารถควบคุมได้   
  เช่น
He is polite. (แสดงลักษณะนิสัยซึ่งเป็นนิสัยแท้ๆของเขา)
เขาเป็นคนสุภาพ.