สำรวจ
รีวิว
สอบเข้า
ออนไลน์

17 พฤศจิกายน 2559

ครูจี๊ด ( ID : 11122 ) สอนภาษาอังกฤษ แกรมม่า การอ่าน เขียนภาษาอังกฤษ

อันดับ1 ครูสอนพิเศษ เรียนพิเศษที่บ้าน กับทีมติวเตอร์คุณภาพ
หาครูสอนภาษาที่บ้าน ต้องการเรียนภาษาที่บ้าน Tutor Ferryรับสอนภาษาที่บ้าน

16 พฤศจิกายน 2559

14 พฤศจิกายน 2559

วิชาสังคมศึกษา มัธยมต้นเรื่องโครงสร้างของสังคม

อันดับ1 ครูสอนพิเศษ เรียนพิเศษที่บ้าน กับทีมติวเตอร์คุณภาพ

โครงสร้างของสังคม

เรียนวิชาสังคมที่บ้าน ภูเเก็ต สงขลา สมุทรปราการ นนทบุรี ปทุมธานี ชลบุรี ระยอง นครราชสีมา ขอนแก่น อุดรธานี มหาสารคาม เชียงใหม่


ความหมายของโครงสร้างสังคม

หมายถึง   ลักษณะขั้นมูลฐานหรือขั้นต้นที่ก่อให้เกิดการอยู่ร่วมกันอย่างมีระเบียบ   ตามกฎเกณฑ์  และเป้าหมายร่วมกัน    หรือหมายถึงสิ่งที่ยึดเหนี่ยวให้สังคมดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคง ประกอบด้วยกลุ่มบุคคลที่มาอยู่รวมกัน   มีตำแหน่งและบทบาทที่สอดคล้องกัน    ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ที่ยอมรับร่วมกันโครงสร้างสังคมจึงเปลี่ยน

แปลงอยู่ตลอดเวลา  เพราะสภาพสิ่งแวดล้อมเปลี่ยน  เช่น  จำนวนคนเปลี่ยน  โครงสร้างของสังคม   จึงเป็นโครงร่างที่ประกอบเพื่อเชื่อมแบบแผนความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในสังคมใดๆ    ให้อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข


ลักษณะของโครงสร้างสังคม

1.  มีคนจำนวนหนึ่งที่ติดต่อกัน  หรือ  การกระทำระหว่างกันภายใต้รูปแบบที่สังคมวางไว้
2.  มีกฎเกณฑ์ที่ใช้ร่วมกัน
3.  มีวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้เพื่อการบรรลุเป้าหมายที่ต้องการ
4.  มีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงได้

กลุ่มทางสังคม   เป็นองค์ประกอบของโครงสร้างสังคมอย่างหนึ่ง
กลุ่ม นักสังคมวิทยามีเกณฑ์ในการแบ่งกลุ่มไว้  3  ประการคือ
1.  มีความรู้สึกเป็นพวกเดียวกัน
2.  มีการปะทะสังสรรค์ทางสังคม
3.  มีการจัดระเบียบทางสังคม

การแบ่งกลุ่ม   ไม่แน่นอนตายตัว  ขึ้นอยู่กับว่าจะใช้อะไรเป็นเกณฑ์   ดังนี้  คือ
1.  ใช้ความสัมพันธ์เป็นเกณฑ์   แบ่งเป็น
-  กลุ่มปฐมภูมิ  เป็นความสัมพันธ์แบบใกล้ชิดเป็นกลุ่มเล็ก ๆ สนิทสนมและส่วนตัว  ไม่มีพิธีรีตองเพราะมีคนน้อย  เช่น  ครอบครัว  เพื่อนบ้าน ฯลฯ                                                   
-  กลุ่มทุติยภูมิ   คือเป็นความสัมพันธ์กับคนจำนวนมากเป็นกลุ่มใหญ่และเป็นทางการมักติดต่อกันตามสถานภาพ  ยึดประโยชน์เป็นสำคัญ  เช่น บริษัท ร้านค้า ฯลฯ
2.  ใช้ความรู้สึกเป็นเกณฑ์   แบ่งเป็นกลุ่มพวกเรา   และกลุ่มพวกเขา  (In-groups  and  Out  groups)  เช่น นักเรียนโรงเรียนเดียวกัน    ชาวเอเชียและชาวยุโรป
3.  ใช้แบบของความสัมพันธ์  และอำนาจทางการเมือง  แบ่งออกเป็น
-  ชนกลุ่มใหญ่  คือ มีอำนาจทางการเมืองและเศรษฐกิจ
-  ชนกลุ่มน้อย  เป็นกลุ่มขนาดเล็ก   ที่ถูกครอบงำ    โดยกลุ่มใหญ่  เช่น   ชาวเขาในประเทศไทย
4.  ใช้กลุ่มบุคคลยึดถือเป็นแบบ  หรือมาตรฐานความประพฤติ    จึงมีการลอกเลียนการกระทำ  เช่น  บุคคลที่มีชื่อเสียง   ดาราภาพยนตร์   สุภาษิต    เรียกว่า  กลุ่มอ้างอิง


องค์ประกอบของโครงสร้างสังคม   ได้แก่

1.  กลุ่มสังคมและสถาบันทางสังคม
2.  การจัดระเบียบทางสังคม


สถาบันสังคม

สถาบันสังคม   เป็นนามธรรม   หมายถึง  แบบแผนความประพฤติหรือกฎเกณฑ์แบบอย่างพฤติกรรมที่ตั้งขึ้นจนเป็นที่ยอมรับของคนในสังคม   เพื่อตอบสนองความต้องการด้านต่างๆ  ของสมาชิกในสังคม  มักออกมาในรูปของกิจกรรมต่างๆ  แสดงบทบาทเองไม่ได้ต้องอาศัยกลุ่มบุคคลซึ่งเรียกว่า  กลุ่มสังคม  เป็นผู้แสดงบทบาทแทน เช่น   บิดามารดาแสดงบทบาทในนามของสถาบันครอบครัว  เป็นต้น    สถาบันจึงเป็นกระบวนการถ่ายทอดวัฒนธรรม  ทำให้เกิดการเรียนรู้และการรับปฏิบัติตามรูปแบบความคาดหวังของสังคม


องค์ประกอบของสถาบันทางสังคม

สถาบันทางสังคมแต่ละสถาบัน  มีองค์ประกอบ  3  ประการ คือ
1.  ตำแหน่งทางสังคม
2.  หน้าที่
3.  แบบแผนการปฏิบัติ

ประเภทของสถาบันทางสังคม  แบ่งออกเป็น   7  ประเภท  คือ
1.  สถาบันครอบครัว
2.  สถาบันการศึกษา
3.  สถาบันศาสนา
4.  สถาบันเศรษฐกิจ
5.  สถาบันการเมือง  การปกครอง
6.  สถาบันนันทนาการ
7.  สถาบันสื่อสารมวลชน

หน้าที่และความสำคัญของสถาบันทางสังคม
1.  สถาบันครอบครัว   เป็นสถาบันแห่งแรกของมนุษย์   มีขนาดเล็กที่สุด  แต่มีความสำคัญมากที่สุดเพราะเป็นสถาบันที่วางพื้นฐานความประพฤติของบุคคลด้วยการเลี้ยงดูและอบรมสั่งสอน   เพื่อการเติบโตไปเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม
ครอบครัว  (Family)  เกิดขึ้นจากการอยู่ร่วมกันระหว่างชายและหญิงในฐานะสามีและภรรยา   อาจมีบุตรหรือไม่มีก็ได้    แบ่งชนิดของครอบครัวที่ควรศึกษาที่นี้ไว้  2  ชนิด  คือ
ก.  ครอบครัวเดี่ยวหรือครอบครัวขนาดเล็ก  (Nuclear  Family)   เป็นครอบครัวที่ประกอบด้วย   พ่อ  แม่ และลูก
ข.  ครอบครัวขยายหรือครอบครัวขนาดใหญ่  (Extended  Family)  เป็นครอบครัวที่ประกอบด้วย   พ่อ  แม่  ลูก  และญาติ
โดยสรุปครอบครัวจึงทำหน้าที่  ผลิตสมาชิกใหม่และเลี้ยงดู ให้ความรักความอบอุ่น   กำหนดสถานภาพแก่สมาชิกที่เกิดใหม่ บำบัดความต้องการทางเพศอย่างมีรูปแบบ และทำหน้าที่ทางเศรษฐกิจในฐานะผู้ผลิตและผู้บริโภค
2.  สถาบันการศึกษา  ทำหน้าที่ต่อเนื่องจากสถาบันครอบครัวในการถ่ายทอด   ความรู้  ความคิด  โดยมุ่งหมายให้มีคุณธรรม  วัฒนธรรมและสร้างประโยชน์ต่อสังคมนับได้ว่าเป็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่จะมีบทบาทต่อพัฒนาการทางสังคม   การเมือง   และเศรษฐกิจต่อไป
3.  สถาบันศาสนา  เป็นสถาบันที่ทำหน้าที่สร้างศรัทธาและความเชื่อ   อบรมสั่งสอนให้บุคคลประพฤติดีด้วยคำสอนของศาสนา  ส่งเสริมให้บุคคลสงบทางด้านจิตใจ
4.  สถาบันเศรษฐกิจ  ทำหน้าที่ในการจัดสรรทรัพยากร   เพื่อสนองความต้องการของสมาชิกในสังคมในด้านผลิตบริโภค    และแลกเปลี่ยน   รวมทั้งการประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจในรูปแบบต่าง ๆ
5.  สถาบันการเมืองการปกครอง  ทำหน้าที่รับผิดชอบที่จะทำให้เกิดการอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขตามรูปแบบการปกครองที่แต่ละสังคมใช้
6.  สถาบันนันทนาการ  เป็นสถาบันที่ทำหน้าที่ด้านการพักผ่อนหย่อนใจของมนุษย์  ในลักษณะของการกระทำที่ทำให้สุขกายสบายใจ   สนุกสนาน   เช่น  กีฬา  งานอดิเรก   เป็นต้น
7.  สถาบันสื่อสารมวลชน  เป็นสถาบันที่ทำหน้าที่สื่อสาร   ระหว่างบุคคลและสถาบันต่างๆ   ในสังคมเผยแพร่ข่าวสาร   บางครั้งรวมอยู่กับสถาบันการศึกษา
กล่าวโดยสรุป สถาบันทางสังคมได้รวมเอาระบบบรรทัดฐาน ซึ่งสัมพันธ์กันอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์หรือรูปแบบเดียวกัน

การจัดระเบียบทางสังคม
เป็นกระบวนการที่จะทำให้การกระทำระหว่างกันทางสังคมเป็นไปอย่างเรียบร้อย   โดยการวางรูปแบบพฤติกรรมและกระบวนการความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในสังคม  ประกอบด้วย
1.  บรรทัดฐาน
2.  สถานภาพและบทบาท
3.  ค่านิยมและความเชื่อ
4.  การขัดเกลาทางสังคม


ความสำคัญของการจัดระเบียบทางสังคม

การจัดระเบียบทางสังคมมีความสำคัญและจำเป็นต่อสังคมมนุษย์ ทั้งนี้เนื่องจากมนุษย์มีความแตกต่างกันในด้านความต้องการและพื้นฐานทางจิตใจ  จึงจำเป็นต้องมีการกำหนดความสัมพันธ์เพื่อการปะทะสังสรรค์   กับบุคคลอื่นๆ    ในสังคม    นำความเจริญก้าวหน้า   และสงบสุขมาสู่สังคม
1. สถานภาพ  (Status)  หมายถึง  ตำแหน่งซึ่งได้รับจากการเป็นสมาชิกของกลุ่ม  (สังคม)   นับตั้งแต่มนุษย์กำเนิดในสังคม  สถานภาพบอกถึงสิทธิหน้าที่ และความรับผิดชอบของบุคคลทั้งต่อตนเองและต่อผู้อื่นหรือเป็นตัวกำหนดบทบาท (พฤติกรรม)  ของบุคคลให้เป็นไปตาม  กฎเกณฑ์   หรือเงื่อนไขของสังคม   สถานภาพแบ่งเป็น  2  ชนิด คือ
1.1  สถานภาพที่ติดตัวมา  (Ascribed   Status)  เป็นตำแหน่งที่บุคคลได้มาโดยสังคมเป็นผู้กำหนดและธรรมชาติเป็นตัวกำหนด   ได้แก่  เพศ,  อายุ,  วงศาคณาญาติ,  เชื้อชาติ   และถิ่นกำเนิด
1.2  สถานภาพที่ได้มาภายหลัง หรือ  ได้มาตามความสามารถ   หรือ  สถานภาพสัมฤทธิ์  (Achieved  Staug)   เป็นสถานภาพที่ได้เพิ่มเติม   หรือเปลี่ยนในภายหลัง   เพราะอาศัยความสามารถ  หรือ   การเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขในระบบเครือญาติ    แบ่งออกเป็น
ทางการสมรส   คือ  สถานภาพ  สามี  และภรรยา
ทางบิดามารดา  คือ  เมื่อมีบุตรจะเกิดสถานภาพ  บิดา  และมารดา
ทางการศึกษา    คือ  ตามคุณวุติที่บุคคลศึกษา    เช่น  พ.ม.,  กศ.บ.,   ค.บ. เป็นต้น
ทางอาชีพ         คือ  สถานภาพตามอาชีพ   เช่น  แพทย์  ครู  ทนายความ  พ่อค้า เป็นต้น

2.  บทบาท   (Role)   คือ   พฤติกรรมที่เกิดขึ้นตามสถานภาพที่บุคคลดำรงอยู่   สถานภาพ   และบทบาทจึงเป็นของคู่กัน   เพราะสถานภาพเป็นสิ่งกำหนดบทบาทถ้าบทบาทออกนอกขอบเขตของสถานภาพก็สร้างปัญหาต่อสังคม   สถานภาพและบทบาทจึงส่งผลกระทบต่อความเจริญหรือความเสื่อมของสังคมได้  
ในความเป็นจริงบุคคลมิได้ดำรงตำแหน่งหรือมีสถานภาพในสังคมเพียงสถานภาพเดียว  แต่มาหลายสถานภาพในเวลาเดียวกัน เช่น เป็นทนายความ  เป็นลูกน้อง  เป็นบิดา หรือเป็นมารดา สถานภาพเหล่านี้   บางครั้งอาจขัดแย้งกันเรียกว่า   สถานภาพขัดกัน  เช่น  เป็นแพทย์และเป็นผู้รับทำแท้ง   เมื่อมีการแสดงบทบาทก็ก่อให้เกิดบทบาทขัดกัน  (Rosie Conflict) เช่น รักษาคนไข้  ช่วยเหลือชีวิตมนุษย์ขณะเดียวกันกลับทำแท้งซึ่งเป็นการทำลายชีวิตมนุษย์
  ประโยชน์และความสำคัญของสถานภาพและบทบาท
ทำให้บุคคลรู้ฐานะของตนเอง  รู้หน้าที่  สิทธิและความรับผิดชอบ   แบ่งภาระหน้าที่ระหว่างบุคคลในสังคม   และทำให้สังคมมีระเบียบ

3.  บรรทัดฐานหรือปทัสถาน  (Norms)  เป็นกฎเกณฑ์ ระเบียบ  แบบแผน   หรือแบบความประพฤติที่วางไว้ให้บุคคลในสังคมปฏิบัติ     จึงเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลเหนือความนึกคิดของบุคคลในสังคม  แบ่งออกเป็น  3  ประเภท  คือ
3.1  วิถีประชาหรือวิถีชาวบ้าน   (Folkways)   เป็นบรรทัดฐานที่คนทั่วไปในสังคมปฏิบัติทั้งไปไม่มีการบังคับ   ไม่ใช่เรื่องที่เกี่ยวกับศีลธรรม   หรือกฎหมาย   เป็นการปฏิบัติตามที่ผู้อื่นปฏิบัติจนเกิดเป็นความเคยชิน  หรือความคุ้นเคย   จึงไม่ถือเป็นเรื่องร้ายแรงถ้ามีการละเมิดไม่ปฏิบัติ  การโต้ตอบ   ผู้ฝ่าฝืนก็คือการติฉินนินทา  เช่น  มารยาทในสังคม   แฟชั่น  เป็นต้น
3.2  ศีลธรรมจรรยาหรือจารีต   (Mores)  เป็นบรรทัดฐานที่เกี่ยวข้องกับหลักคุณธรรม   คำสอนของศาสนา    จึงมีลักษณะเป็นทั้งข้อห้าม  (Taboo)  มิให้บุคคลประพฤติ  และเป็นข้อบังคับเพื่อสร้างสวัสดิภาพของสังคมหนึ่งๆ  การฝ่าฝืนถือเป็นเรื่องร้ายแรง    อาจได้รับการตอบโต้ด้วยการเลิกคบหาหรือถูกลงโทษตามกฎหมาย  เช่น  การเนรคุณต่อผู้มีคุณ   การพูดโกหก   การคบชู้    การทำร้ายร่างกายผู้อื่น   เป็นต้น
3.3  กฎหมาย  เป็นบรรทัดฐานสูงสุดของสังคม   แตกต่างจากบรรทัดฐานอื่นตรงที่บัญญัติขึ้น โดยรัฐาธิปัตย์   ใช้ควบคุมคนในสังคม  ครอบคลุมชีวิตสังคมของทุกด้าน  และมีบทลงโทษที่แน่นอนนับได้ว่ากฎหมายเป็นบรรทัดฐานที่จำเป็นสำหรับสังคมขนาดใหญ่   หรือสังคมที่ซับซ้อน เพราะวิถีประชาและกฎศีลธรรมจรรยาไม่สามารถควบคุมให้บุคคลประพฤติในกรอบที่สังคมต้องการได้  เนื่องจากกฎหมายมีรากฐานมาจากวิถีประชาและศีลธรรมจรรยา  ในบางครั้งการกระทำผิดกฎหมายจึงผิดศีลธรรมด้วย  เช่น  การฆ่าผู้อื่น  การคดโกง   เป็นต้น


ความสำคัญของบรรทัดฐาน

บรรทัดฐานเป็นแนวทางกำหนดพฤติกรรมของมนุษย์ที่ยอมรับร่วมกัน  การอยู่ร่วมกันย่อมเป็นไปอย่างถูกต้องเพราะทุกคนยอมรับและเข้าใจไปในทิศทางเดียวกัน

4. ค่านิยมและความเชื่อ
ค่านิยม  หมายถึง   สิ่งที่คนส่วนใหญ่ในสังคมเล็งเห็นว่าดีงาม  ถูกต้องในการปฏิบัติน่ายกย่อง   ซึ่งโดยข้อเท็จจริงอาจเป็นสิ่งดีหรือเลว   ถูกหรือผิดก็ได้    ค่านิยมจึงส่งผลกระทบต่อการจัดระเบียบทางสังคมของสังคมหนึ่งๆ  ในแง่เป็นตัวชักนำความประพฤติของบุคคล  เกณฑ์การประเมินสิ่งของเหตุการณ์บุคคลว่าดี  ชั่ว   ถูก  ผิดอย่างไร   และค่านิยมยังเป็นเสมือนแรงจูงใจของบุคคลในการกระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใด
ค่านิยมเกิดจากความต้องการแบบแผนที่ถูกต้องในการดำเนินชีวิต   ดังนั้นเมื่อกาลเวลาเปลี่ยนไปค่านิยมบางอย่างก็อาจล้าสมัยหรือสมควรถูกยกเลิก   เช่น ค่านิยมของไทยเรื่อง  “ชายเป็นช้างเท้าหน้า  หญิงเป็นช้างเท้าหลัง”   เป็นต้น  ค่านิยมจึงเป็นเสมือนหางเสือของเรือที่ใช้บังคับทิศทางให้เรือแล่นไปสู่จุดหมายปลายทางคือ  วัฒนธรรมของสังคมนั่นเอง
ความเชื่อ    หมายถึง   ความคิดและความยึดมั่นในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง   ซึ่งอาจเป็นจริงหรือเท็จ    ก็ได้  จึงมีผลต่อความประพฤติของบุคคล  เช่น  ความเชื่อเรื่องไสยศาสตร์   ความเชื่อเรื่องผีมีจริง   เป็นต้น
ถ้าสมาชิกในสังคมใดมีความเชื่องมงายปราศจากเหตุผล   ย่อมส่งผลกระทบต่อสังคม


การควบคุมทางสังคม แบ่งเป็น 

1.  การจูงใจให้สมาชิกปฏิบัติตามบรรทัดฐานของสังคม เช่น การยกย่อง การชมเชย หรือการให้รางวัล 
2.  ลงโทษสมาชิกที่ละเมิดหรือฝ่าฝืนบรรทัดฐานทางสังคม เช่น ผิดวิถีชาวบ้าน การลงโทษคือตำหนิ ซุบซิบนินทา หัวเราะเยาะ ผิดกฎศีลธรรม ไม่คบหาสมาคม ผิดกฎหมาย ซึ่งการลงโทษจะมากหรือน้อยแล้วแต่การกระทำผิด

การขัดเกลาทางสังคม  (Socialization) กลไกในการเข้ากลุ่มหรือการเข้าสังคม  เมื่อบุคคลเป็นสมาชิกในสังคมใดย่อมต้องปฏิบัติตนอยู่ในกรอบแห่งบรรทัดฐานของกลุ่มหรือสังคม  กลไกขั้นต้นที่จะทำให้บุคคลเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม  ก็คือ  การอบรมสั่งสอนหรือการขัดเกลาทางสังคม  (Socialization)   เป็นการเรียนรู้   กฎเกณฑ์   และแบบแผนของการดำเนินชีวิตตามที่สังคมต้องการส่งผลให้บุคคลเป็นที่ยอมรับของกลุ่มและสังคม  เกิดบุคลิกภาพเฉพาะตัวขึ้น


วิธีขัดเกลาทางสังคม 

1.  การขัดเกลาโดยตรง เป็นการบอกว่าสิ่งใดถูกสิ่งใดผิด แนะแนวทางในการปฏิบัติตัว เพื่อให้สามารถวางตัวให้ถูกต้อง 
2.  การขัดเกลาโดยอ้อม ให้บุคคลนั้นมีประสบการณ์เองจากการสังเกต เรียนรู้จากการระทำของผู้อื่น 

พื้นฐานของกระบวนการขัดเกลาทางสังคม 
1.  มนุษย์ไม่มีสัญชาตญาณ  มนุษย์จะต่างกับสัตว์โดยไม่สามารถใช้สัญชาตญาณในการช่วยตัวเอง 
2.  มนุษย์ต้องพึ่งพาผู้อื่นในวัยเด็ก ยิ่งมนุษย์ต้องเรียนรู้กฎระเบียบมากเท่าไรก็ต้องพึงพาผู้อื่นนานเท่านั้น เช่น ทารกนั้นต้องได้รับการคุ้มครอง เลี้ยงดู การอบรมจากผู้อื่น 
3.  มนุษย์มีความสามารถในการเรียนรู้มาก ยิ่งโตมากก็จะเรียนรู้มาก จึงทำให้การขัดเกลาได้ผลตามที่สังคมคาดหวัง 
4.  มนุษย์ใช้ภาษาสื่อสารในการขัดเกลา เพื่อถ่ายทอดความคิด ความเข้าใจ ความเชื่อ ความรู้ และแบบความประพฤติในกลุ่มมนุษย์


ความมุ่งหมายของกระบวรการขัดเกลาทางสังคม 

1.  เพื่อปลูกฝังความมีระเบียบวินัย เพื่อให้สมาชิกมีแบบแผนความประพฤติตามที่กลุ่มกำหนด เป็นการสละความพอใจในปัจจุบัน เพื่อผลประโยชน์ในวันข้างหน้า เช่น นักเรียนไม่ชอบการสอบ เพราะไม่ต้องการดูหนังสือ อยากเที่ยวเล่นมากกว่า แต่ถ้าไม่ดูหนังสือก็จะสอบตก เป็นต้น 
2.  ปลูกฝังความมุ่งหวัง จะช่วยให้สมาชิกมีกำลังใจที่จะทำตามระเบียบวินัยต่างๆ 
3.  สอนให้รู้จักแสดงบทบาทของตน อย่างเหมาะสมตามกาลเทศะและโอกาสต่างๆ เช่น นักเรียนต้องใฝ่หาความรู้ แพทย์ต้องรักษาคนไข้ ฯลฯ 
4.  สอนให้เกิดความชำนาญหรือทักษะ ที่จะร่วมใช้กับผู้อื่น จะเรียนรู้ด้วยการลอกเลียนแบบสิ่งที่เห็นเป็นประจำ

ตัวแทนที่ทำหน้าที่อบรมสั่งสอนขัดเกลาทางสังคม 
1.  ครอบครัว มีหน้าที่ให้การอบรมสั่งสอนสมาชิกมากที่สุด เนื่องจากสถาบันนี้เป็นสถาบันแห่งแรกที่เด็กได้รับการอบรมสั่งสอน 
2.  กลุ่มเพื่อน บุคคลจะได้รับการขัดเกลาจากกลุ่มเพื่อนอายุไล่เลี่ยกัน และจะมีการสังเกตและเอาแบบอย่าง 
3.  ครูอาจารย์ มีหน้าที่อบรมสั่งสอนด้านวิชาการอย่างเป็นทางการและมีผลต่อการพัฒนาบุคลิกภาพของเด็กด้วย 
4. กลุ่มเพื่อนร่วมอาชีพ ถ้าจะยึดอาชีพนั้นและต้องการให้เป็นที่ยอมรับ จะต้องเรียนรู้แบบแผนต่างๆของกลุ่มใหม่ 
5. สื่อมวลชน มีอิทธิพลมากต่อกระบวนขัดเกลาสังคม 






13 พฤศจิกายน 2559

ห้องเรียนพิเศษ แก้ปัญหาอ่าน - เขียนภาษาไทย

อันดับ1 ครูสอนพิเศษ เรียนพิเศษที่บ้าน กับทีมติวเตอร์คุณภาพ


การอ่าน เขียนภาษาไทย

สำหรับเด็กนักเรียนหลายคนมีปัญหาการเรียนไม่ทันในชั้นเรียน ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากปัญหาเรื่องการอ่าน การเขียนภาษาไทยของนักเรียน นักเรียนบางคนอ่านไม่คล่อง นักเรียนบางคนอยู่ ประถม 2 ประถม 3 แล้วยังอ่านไม่ได้เลยก็มี ซึ่งเป็นปัญหาในการเรียนรู้ของเด็กๆอย่างมากในทุกๆวิชาไม่ใช่เฉพาะวิชาภาษาไทยเท่านั้น



มาดูการฝึกอ่าน เขียนภาษาไทยในระดับต่างๆที่จะทำให้เด็กอ่าน เขียนภาษาไทยได้ 100 % กันครับ


ระดับปฐมวัย

-ฝึกเปล่งคำและเปล่งเสียงพูดชัดเจน
-ฝึกเปล่งเสียงท่องพยัญชนะ ก-ฮ ได้ชัดเจน 
-ฝึกออกเสียงสระ และจดจำได้
- ฝึกเขียน พยัญชนะ สระ วรรณยุกต์และตัวเลข ๐-๙ ได้ถูกต้อง 
-ฟังนิทาน เรื่องเล่าและ พูด ถาม ตอบได้ชัดเจน ถูกต้อง


ระดับประถม 1

-ฝึกอ่านแจกลูก
-ฝึกอ่าน-เขียนพยัญชนะ
-ฝึกอ่าน-เขียนสระ
- ฝึกอ่าน-เขียน วรรณยุกต์ 
-ฝึกการผันเสียงวรรณยุกต์
-ฝึกการอ่านเขียนแม่ ก กา
- ฝึกการอ่าน-เขียนคำที่มีตัวสะกด
-ฝึกการอ่าน-เขียนอักษรนำ
-ฝึกการอ่าน-เขียนคำควบกล้ำ
-ฝึกการอ่านออกเสียง
-ฝึกการอ่านจับใจความ
-ฝึกเขียนตามคำบอก
-ฝึกคัดลายมือ
-ฝึกอ่าน/เขียนและท่องบทอาขยาน


ระดับประถม 2 ขึ้นไป

-ฝึกเขียนตามคำบอก
-ฝึกคัดลายมือ
-ฝึกอ่านออกเสียง
-ฝึกอ่านจับใจความสำคัญ
-ฝึกเขียนเรื่องจากภาพ
-ฝึกตอบคำถามจากการฟัง
- ฝึกการเขียนสรุปความจากเรื่องที่อ่านและฟัง
-ฝึกการอ่าน-เขียนคำควบกล้ำ
-ฝึกการเขียนเรียงความ
-ฝึกอ่าน/เขียนและท่องบทอาขยาน


พัฒนาทักษะภาษาไทย ด้วยบันได 5 ขั้น


  • ขั้นที่ 1  หาเรื่องให้สนุก
  • ขั้นที่ 2  แจกลูก  สะกดคำ
  • ขั้นที่ 3  อ่านย้ำ  นำวิถี
  • ขั้นที่ 4  คัดลายมือ ให้ถูกวิธี
  • ขั้นที่ 5  เขียนตามคำบอกทุกวัน







ขั้นตอนเรียนซ้ำชั้นของโรงเรียนทั่วประเทศ วัดผลหลายแบบ-ซ่อมเสริม-สอบแก้ตัว ผ่านไม่ถึงครึ่ง เกรดต่ำ 1.00 ให้เรียนซ้ำ

อันดับ1 ครูสอนพิเศษ เรียนพิเศษที่บ้าน กับทีมติวเตอร์คุณภาพ
เรียนพิเศษที่บ้าน โคราช มหาสารคามอุดร ขอนแก่น สงขลา ภูเก็ต สมุทรปราการ ปทุมธนสี นนทบุรี ชลบุรี ระยอง เชียงใหม่



" สพฐ.แจ้ง 5 ขั้นตอน ซ้ำชั้น โรงเรียนทั่วประเทศ
วัดผลหลายแบบ-ซ่อมเสริม-สอบแก้ตัว
ผ่านไม่ถึงครึ่ง  เกรดต่ำ 1.00 ให้เรียนซ้ำ "


เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยว่า

ตามที่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) วิเคราะห์ข้อดี ข้อเสีย ของการเรียนซ้ำชั้น โดย สพฐ.ได้สรุปข้อมูลเสนอรัฐมนตรีว่าการ ศธ.พิจารณาแล้ว ทั้งนี้ จากการเปิดให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทั้งผู้ปกครอง ผู้บริหารสถานศึกษา ครู นักวิชาการ นักจิตวิทยา และผู้เกี่ยวข้องจากหลายภาคส่วน แสดงความคิดเห็นในเรื่องนี้ มีทั้งผู้เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย


ผู้ที่เห็นด้วยมองว่าการให้เรียนซ้ำชั้น ควรเริ่มตั้งแต่ชั้น ป.1 เพื่อให้อ่านออก เขียนได้ มีความรู้ที่จะเรียนในระดับที่สูงขึ้น ช่วยให้ผู้เรียนกระตือรือร้น ให้ความสำคัญกับการเรียน และเข้าใจในเนื้อหาที่เรียนมากขึ้น

สำหรับข้อเสีย ส่วนใหญ่โดยเฉพาะนักจิตวิทยากังวลว่าจะมีผลกระทบทางจิตใจ ส่งผลต่อความสัมพันธ์ พฤติกรรมทางสังคม ทำให้เด็กเครียด และถ้าเป็นนักเรียนระดับมัธยม อาจถึงขั้นไม่เรียน และตัดสินใจลาออก ขณะที่ผู้ปกครองบางคนมองว่าทำให้เด็กเสียเวลา ขาดโอกาส ทั้งนี้ที่ผ่านมา

สพฐ.ไม่เคยมีนโยบายห้ามไม่ให้เด็กที่สอบตกเรียนซ้ำชั้น และเรื่องนี้กำหนดไว้ในปฏิบัติการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรอยู่แล้ว เพียงแต่โรงเรียนอาจไม่เข้าใจ ดังนั้น จึงได้เสนอให้ออกหนังสือซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับแนวปฏิบัติดังกล่าวไปยังผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) ทั่วประเทศ เพื่อแจ้งไปยังโรงเรียนต่างๆ

ทั้งนี้ ได้มีการกำหนดแนวปฏิบัติการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรดังกล่าว เพื่อให้สถานศึกษานำไปปฏิบัตินั้น เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง ชัดเจน และตรงกัน ในประเด็นของการเรียนซ้ำชั้น มีประเด็นที่ สพฐ.ขอซักซ้อมความเข้าใจ ดังนี้


1. การวัดและประเมินผลการเรียน

ให้สถานศึกษาวัดและประเมินผลการเรียนของผู้เรียนเป็นระยะระหว่างเรียน โดยใช้เทคนิคการวัดและประเมินผลอย่างหลากหลาย เพื่อตรวจสอบพัฒนาการความก้าวหน้าในการเรียนรู้ของผู้เรียน ถ้าพบปัญหา หรือข้อบกพร่องในตัวผู้เรียน ให้ช่วยเหลือ และซ่อมเสริมทันที โดยเฉพาะชั้น ป.1 ต้องพัฒนาให้ผู้เรียนอ่านออก เขียนได้


2. การสอนซ่อมเสริม

เพื่อแก้ไขข้อบกพร่อง และพัฒนาผู้เรียน ให้มีความรู้ ทักษะ กรณีที่ผู้เรียนมีผลการประเมินไม่ผ่าน หรือได้ “0” สถานศึกษาต้องจัดสอนซ่อมเสริมให้ผู้เรียนก่อนสอบแก้ตัวนอกเหนือจากการสอนปกติ


3. ให้ผู้เรียนสอบแก้ตัว 2 ครั้ง

ครั้งที่ 1 ให้ผู้เรียนยื่นคำร้องสอบแก้ตัว โดยให้ครูประจำวิชา หรือครูประจำชั้นสอนซ่อมเสริม และสอบแก้ตัว ให้เสร็จก่อนเปิดภาคเรียน หรือภาคเรียนแรกของปีการศึกษาถัดไป สอบแก้ตัวครั้งที่ 2 กรณีครั้งที่ 1 ไม่ผ่าน หรือไม่มาสอบแก้ตัว ให้โอกาสสอบแก้ตัวอีก 1 ครั้ง โดยสถานศึกษาแต่งตั้งกรรมการสอนซ่อมเสริม และสอบแก้ตัวให้เสร็จก่อนเปิดภาคเรียน หรือในภาคเรียนแรกของปีการศึกษาถัดไป


4. เรียนซ้ำชั้นรายวิชา

ผู้เรียนที่สอนซ่อมเสริม และสอบแก้ตัว 2 ครั้งแล้ว ไม่ผ่านเกณฑ์ประเมินรายวิชา หรือยังได้ “0” ถ้าเป็นรายวิชาพื้นฐานให้เรียนซ้ำชั้นในวิชานั้น ถ้าเป็นรายวิชาเพิ่มเติม ให้เรียนซ้ำชั้นในวิชานั้น หรือเปลี่ยนวิชาใหม่ ทั้งนี้ ให้อยู่ในดุลยพินิจของสถานศึกษา กรณีเปลี่ยนวิชาใหม่ ให้หมายเหตุในระเบียบแสดงผลการเรียนว่าเรียนแทนวิชาใด ในการเรียนซ้ำรายวิชาให้อยู่ในช่วงใดช่วงหนึ่งที่สถานศึกษาเห็นว่าเหมาะสม เช่น พักกลางวัน วันหยุด ชั่วโมงว่างหลังเลิกเรียน ภาคฤดูร้อน เป็นต้น


5. การเรียนซ้ำชั้น

หากพบปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนกรณีใดกรณีหนึ่ง ซึ่งมีแนวโน้มจะเป็นปัญหาต่อการเรียนในระดับชั้นที่สูงขึ้น ดังนี้ ระดับประถม ผู้เรียนไม่ผ่านรายวิชาเกินครึ่งหนึ่งตามโครงสร้างเวลาเรียน ผู้เรียนชั้น ป.1-2 ได้รับการประเมินแล้วยังอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ คิดเลขไม่เป็น ระดับมัธยม การเรียนซ้ำชั้นของผู้เรียนในระดับมัธยม เมื่อผู้เรียนไม่ผ่านเกณฑ์ข้อใดข้อหนึ่ง ดังนี้ มีผลการเรียนเฉลี่ยในปีการศึกษานั้นต่ำกว่า 1.00 และมีแนวโน้มจะเป็นปัญหาต่อการเรียนในระดับที่สูงขึ้น ผู้เรียนที่มีผลการเรียน “0”, “ร” หรือ “มส” เกินครึ่งหนึ่งของรายวิชาที่ลงทะเบียนเรียนในปีการศึกษานั้น

ทั้งนี้ การพิจารณาให้เรียนซ้ำชั้นหรือซ้ำชั้นรายวิชา ให้สถานศึกษาดำเนินการในรูปของคณะกรรมการ ให้แจ้งผู้ปกครองและผู้เรียนทราบเหตุผลของการเรียนซ้ำชั้นหรือซ้ำรายวิชา




ดร.ชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ นายการุณ สกุลประดิษฐ์ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) ได้รายงานความคืบหน้าแนวทางการเรียนซ้ำชั้น หลังจากที่ พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รมว.ศึกษาธิการ มีนโยบายให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ไปคิดแนวทางดำเนินงาน โดยข้อเสนอของ สพฐ.คือ ให้ซ้ำชั้น ป.3, ป.6 และ ม.3 ได้ลงพื้นที่รับฟังความคิดเห็นจากผู้เกี่ยวข้องถึงการตกซ้ำชั้นแนวใหม่ ที่จะให้ซ้ำชั้น ป.3, ป.6 และ ม.3 มีการให้เรียนซ้ำเป็นรายวิชา หรือซ้ำชั้นในกรณีไม่ผ่านรายวิชาเกินครึ่งหนึ่งของวิชาที่เรียน

ซึ่งจากการลงพื้นที่สอบถามความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องในภูมิภาคต่าง ๆ อาทิ อาจารย์มหาวิทยาลัย ผู้บริหารสถานศึกษา ศึกษานิเทศก์ ครู นักจิตวิทยา และผู้แทนผู้ปกครอง ถึง 3 ครั้ง พบว่าในภาพรวมของประเทศเห็นด้วยเรื่องการให้เด็กเรียนซ้ำชั้น ถึงร้อยละ 95.18 และมีข้อสังเกตเรื่องการกระทบจิตใจ ร้อยละ 4.82

ปลัด ศธ.กล่าวต่อไปว่า หลังรับฟังรายงานแล้ว รมว.ศึกษาธิการ ย้ำว่าในการให้เรียนซ้ำชั้นควรมี 3 ขั้นตอน คือ 1.ตรวจสอบให้แน่นอนว่าเด็กเรียนอ่อน มีปัญหาคุณภาพจริงๆ 2.ให้ใช้วิธีการเพื่อนช่วยเพื่อน พี่ช่วยน้องก่อน ครูและผู้บริหารต้องร่วมกันดูแลสอนซ่อมเสริมให้แก่เด็ก และ 3.ต้องสร้างความเข้าใจกับผู้ปกครองให้รับรู้ถึงศักยภาพในการเรียนของลูกหลานตนเอง พร้อมทั้งให้โจทย์ สพฐ.มาคิดต่อว่าหากเด็กต้องเรียนซ้ำชั้นจะดูแลอย่างไร และคงต้องมาดูอีกครั้งว่าควรจะให้ซ้ำที่ชั้นไหนจึงจะเหมาะสมที่สุด เช่น อาจจะเป็นซ้ำชั้น ป.2 ป.5 หรือ ม.2 เป็นต้น

"ขณะนี้นักเรียนกำลังเรียนในภาคเรียนที่ 2/2559 ดังนั้น จะต้องมีกระบวนการในภาคเรียนที่ 2นี้ว่า สถานศึกษาต้องใช้มาตรการต่าง ๆ ร่วมกันดูแลนักเรียนอย่างเต็มที่เพื่อไม่ให้เด็กต้องซ้ำชั้น และวางแผนต่อด้วยว่า ในเดือน มี.ค.2560 หากเด็กต้องซ้ำชั้นจริงๆ เดือน เม.ย.-พ.ค.2560 ช่วงปิดภาคเรียนควรดำเนินการอย่างไรกับเด็กที่ต้องซ้ำชั้น"ดร.ชัยพฤกษ์ กล่าว








12 พฤศจิกายน 2559

11 พฤศจิกายน 2559

10 พฤศจิกายน 2559

การส่งสารด้วยการพูด วิชาภาษาไทยมัธยมต้น

อันดับ1 ครูสอนพิเศษ เรียนพิเศษที่บ้าน กับทีมติวเตอร์คุณภาพ

ส่งสารด้วยการพูด

การส่งสารด้วยการพูด วิชาภาษาไทยมัธยมต้น


การพูดที่มีประสิทธิภาพ  หมายถึง  การพูดได้เนื้อถ้อยกระทงความสนองจุดประสงค์ของผู้พูด ส่วนหนึ่งของการพูด  เราสอนและฝึกได้  การพูดเป็น “ศาสตร์” มีหลักการ กฎเกณฑ์ และเป็นศิลปะเฉพาะตัวที่อาจจะลอกเลียนกันได้ยาก ซึ่งอาจประกอบไปด้วย

๑.  ผู้พูดมีความรู้ในเรื่องที่จะพูด
๒.  มีจุดประสงค์ในการพูด
๓.  ผู้พูดรู้จักวิเคราะห์ผู้ฟัง
๔.  โอกาสที่พูดเหมาะสม
๕.  ผู้พูดพูดได้ชัดเจน
๖.  ผู้พูดรู้จักสร้างบรรยากาศให้เป็นกันเอง
๗.  ผู้พูดมีบุคลิกลักษณะที่น่าเชื่อถือ

การพูดระหว่างบุคคล
๑.  การทักทายปราศรัย
๒.  การแนะนำตนเอง
๓.  การสนทนา

การพูดในกลุ่ม
๑.  การเล่าเหตุการณ์ที่ได้อ่านหรือฟังมา
๒.  การเล่าเหตุการณ์

การพูดระหว่างบุคคล

เป็นการพูดที่ไม่เป็นทางการ  ปกติทั้งผู้พูดและผู้ฟังมักไม่ได้เตรียมตัวล่วงหน้ามาก่อน  ไม่จำกัดสถานที่และเวลา  เนื้อหาไม่มีขอบเขตจำกัดแน่นอน  แต่เป็นการพูดที่คนเราต้องใช้มากที่สุด  และควรฝึกฝนให้ใช้การได้อย่างคล่องแคล่ว  การพูดประเภทนี้ได้แก่  การพูดทักทายปราศรัย  การแนะนำตนเองและการสนทนา
๑.  การทักทายปราศรัย
ธรรมเนียมไทยใช้คำทักทายปราศรัยว่า  “สวัสดี สบายดีหรือคะ” เป็นการเริ่มต้น ในการทักทายปราศรัยต้องระมัดระวังไม่ล่วงล้ำก้าวก่ายในเรื่องส่วนตัวของผู้อื่น ทั้งโดยเจตนาและไม่เจตนา การทักทายปราศรัยควรปฏิบัติดังนี้ คือ
๑.  ยิ้มแย้มแจ่มใสด้วยความรู้สึกยินดีที่ได้พบผู้ที่เราทักทาย
๒.  กล่าวคำปฏิสันถารหรือทักทายตามธรรมเนียมนิยมที่ยอมรับกันในสังคม  เช่น  “สวัสดีครับ..........สวัสดีค่ะ............”
๓.  แสดงกิริยาอาการประกอบคำปฏิสันถาร  ซึ่งขึ้นอยู่กับฐานะของบุคคลที่เราทักทาย  

๒.  การแนะนำตนเอง
การแนะนำตนเองมีความสำคัญในชีวิตประจำวันเพราะแต่ละวันเรามักจะได้พบ  ได้รู้จัก  ได้สังสรรค์  และติดต่อกิจธุรการงานกับบุคคลอื่น ๆ อยู่เสมอ  บุคคลอาจแนะนำตนเองในหลายโอกาสด้วยกัน  คือ 
๑.  การแนะนำตนเองในที่สาธารณะ  มักจะมีการสนทนาสั้น ๆ เริ่มขึ้นมาก่อน  แล้วจึงมีการแนะนำตนเองขึ้น  มิใช่จู่ ๆ ก็แนะนำตนเองขึ้นมา
๒.  การแนะนำตนเองในการทำกิจธุระ  ต้องมีการนัดหมายล่วงหน้า  เพราะมักจะเกิดกับผู้ที่ยังไม่รู้จัก  การแต่งกายก็ควรเรียบร้อย  ไปให้ตรงเวลา  และเมื่อพบบุคคลที่นัดควรบอกชื่อ   นามสกุลของเราด้วยน้ำ
เสียงที่สุภาพและบอกกิจธุระของตนตามไป  หรืออาจบอกกิจธุระก่อนก็ได้
๓.  การแนะนำตนเองในงานเลี้ยง  เช่น  งานวันเกิด  งานมงคลสมรส  งานฉลองใด ๆ ก็ตาม ควรคำนึงถึงมารยาททางสังคม  การแนะนำตนเองในงานเลี้ยงอาจเริ่มด้วยการแสดงสีหน้าท่าทางที่แสดงความเป็นมิตร  การช่วยเหลือ  การให้บริการซึ่งกันและกันแล้วจึงแนะนำโดยการกล่าวชื่อ  หรือนามสกุล  และรายละเอียดพอสมควร  แต่ไม่ควรบอกตำแหน่งหรือสถานที่ทำงาน  เพราะอาจจะทำให้คู่สนทนารู้สึกว่าด้อยกว่า  และคู่สนทนาก็ควรแนะนำตนเองบ้าง  อย่าอ้ำอึ้งรีรอจนทำให้อีกฝ่ายหนึ่งอึดอัดได้
๔.  การแนะนำตนเองในกลุ่มย่อย  ที่มีคนประมาณ ๑๐ – ๑๕  คน  และส่วนใหญ่ไม่รู้จักกันมาก่อน  เมื่อเริ่มประชุมควรแนะนำตนเองให้รู้จักกัน  เพื่อให้เกิดความเป็นกันเอง  เช่น  บอกชื่อ  นามสกุล  เป็นต้น  และคนอื่น ๆ ในกลุ่มก็ควรแสดงกิริยาต้อนรับ  ด้วยการยิ้มให้ก้มศีรษะรับก็ได้
๓.   การสนทนา
การสนทนาเป็นกิจกรรมที่บุคคลเฉพาะสองคนหรือมากกว่านั้นพูดคุยกันเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ความ
คิด  ความรู้สึก  และประสบการณ์ระหว่างกันอย่างไม่เป็นทางการ
    ๓.๑  การสนทนาระหว่างบุคคลที่รู้จักคุ้นเคย  การสนทนาที่ดีจะนำความราบรื่น  ความเจริญและความสุขมาให้  ตรงกันข้ามการสนทนาที่ไม่ดีจะก่อให้เกิดความแตกร้าว  และนำไปสู่ความเสื่อมทำให้กิจการงานไม่ก้าวหน้าและสับสนวุ่นวาย  การสนทนาระหว่างบุคคลที่รู้จักคุ้นเคย  ควรคำนึงถึงเรื่องที่สนทนาและคุณสมบัติของผู้ร่วมสนทนา  การสนทนาที่ดีควรคำนึงถึงเรื่องที่สนทนา  ดังต่อไปนี้
๓.๑.๑  ควรเป็นเรื่องที่ตนเองและคู่สนทนามีความรู้และมีความสนใจร่วมกัน
๓.๑.๒  ควรเป็นเหตุการณ์ปัจจุบันหรือเป็นข่าวที่กำลังอยู่ในความสนใจ
๓.๑.๓  ควรเป็นเรื่องที่เหมาะแก่กาลเทศะและเหตุการณ์  เช่น  ถ้าไปงานมงคลก็พูดแต่เรื่องที่ดีงาม  หรือขณะรับประทานอาหารก็ไม่พูดถึงสิ่งที่น่ารังเกียจ  เป็นต้น
๓.๑.๔  ควรเป็นเรื่องที่ไม่ทำให้คู่สนทนาเคร่งเครียดจนเกินไป  ควรให้มีความสนุกขบขันบ้างทั้งนี้ควรงดเว้นเรื่องต่าง ๆ ต่อไปนี้
๑.  เรื่องส่วนตัวของผู้พูดเองและเรื่องที่ผู้อื่นไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง
๒.  การพูดโอ้อวดความสามารถของตนเอง
๓.  การปรับทุกข์  การกล่าวถึงความเคราะห์ร้ายของตนเองเพื่อเรียกร้องความสนใจยกเว้นเมื่อสนทนากับผู้ที่สนิทจริง ๆ 
๔.  การนินทาว่าร้ายผู้อื่น การพูดส่อเสียด การพูดเพ้อเจ้อ
เรียนภาษาไทยที่บ้าน ที่สงขลา ภูเก็ต สมุทรปราการ ชลบุรี ระยอง นนทบุรี ปทุมธานี


คุณสมบัติของผู้ร่วมสนทนาที่ดี
๑.  มีความรู้ทั่วไปในเรื่องต่าง ๆ พอสมควร
๒.  ใช้ถ้อยคำสำนวนภาษาที่ง่าย  สุภาพ  คำพูดและน้ำเสียงน่าฟัง  เป็นกันเองกับคู่สนทนาไม่พูดทับถมคู่สนทนาถ้าจำเป็นต้องค้านควรพูดขออภัยก่อน
๓. รู้จักฟัง  ในขณะที่ฟังอาจนึกอยากพูดบ้างควรรอให้คู่สนทนาพูดจบก่อน
๔.  รู้จักสังเกตความรู้สึกของผู้ร่วมสนทนา  
๕.  รู้ว่าอะไรควรพูดและอะไรไม่ควรพูด
๖.  ควรพูดด้วยอารมณ์ขันที่มีรสนิยมดี เพราะอารมณ์ขันจะช่วยชักนำให้การสนทนาดำเนินไปในทางสร้างสรรค์
๓.๒  การสนทนากับบุคคลแรกรู้จัก
หัวข้อที่ควรนำมาสนทนาคือเรื่องดินฟ้าอากาศ  ข่าวสารที่เป็นข้อเท็จจริงแท้ ๆ ในขณะนั้นแต่ไม่ควรเป็นเรื่องที่มีประเด็นโต้แย้งกันอยู่  เพราะคู่สนทนาอาจมีทรรศนะที่ตรงข้ามกันได้  ควรรู้จักสังเกตว่าคู่สนทนาเป็นคนชอบพูดหรือชอบฟังเพื่อจะได้ปฏิบัติตนได้ถูกกาลเทศะ

การพูดในกลุ่ม

การพูดในกลุ่มเป็นกิจกรรมที่สำคัญในสมัยปัจจุบัน  ทั้งในชีวิตประจำวันและในการศึกษา  โดยเฉพาะในโรงเรียนการแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่มเล็ก ๆ ๘ – ๑๐ คน แล้วให้ไปอภิปรายถกเถียงกันเป็นการฝึกให้นักเรียนได้มีโอกาสแสดงความคิดเห็นทำให้นักเรียนทุกคนเติบโตในด้านความคิด
๑.  การเล่าเรื่องราวที่ได้อ่านหรือฟังมา  ควรมีวิธีการดังนี้
๑.  เล่าถึงเนื้อหาและประเด็นสำคัญ ๆ ว่ามีอะไรบ้าง  โดยไม่ต้องกล่าวถึงรายละเอียด
๒.  ภาษาที่ใช้ในการเล่าควรเป็นภาษาง่าย ๆ ไม่ใช้ศัพท์ยาก  ใช้ประโยคสั้น  เข้าใจง่าย
๓.  ใช้น้ำเสียงชัดเจนน่าฟัง  เน้นเสียงในตอนสำคัญ  เพื่อแสดงความรู้สึกหรืออารมณ์ต่าง ๆ 
๔.  ใช้กิริยาท่าทางประกอบตามความเหมาะสม
๕.  ผู้เล่าควรจำเรื่องให้ได้  เรียงลำดับเรื่องให้ถูกต้อง เน้นตอนสำคัญเพื่อเรียกร้องความสนใจของผู้ฟัง
๖.  อาจสรุปเป็นข้อคิดในตอนท้ายหรือทิ้งให้ผู้ฟังคิดเองหรือใช้เป็นประเด็นที่จะอภิปรายต่อไป
๒.  การเล่าเหตุการณ์
๑.  กล่าวเริ่มต้นด้วยการแสดงเหตุผลในการเล่าเหตุการณ์นั้น ๆ 
๒.  ระบุวันเวลา สถานที่ที่เกิดเหตุการณ์นั้น ๆ 
๓.  กล่าวถึงบุคคลที่สำคัญแก่เหตุการณ์นั้น 
๔.  เล่าเหตุการณ์ตามลำดับที่เกิดขึ้นให้มีความต่อเนื่องกัน
๕.  ใช้ถ้อยคำและสำนวนภาษาที่ทำให้ผู้ฟังเห็นภาพ  ใช้ประโยคง่าย ๆ กะทัดรัดเพื่อจะได้สื่อความหมายได้ดี
๖.  น้ำเสียงแจ่มใส  ดังชัดเจน  เน้นเสียงและใช้ระดับเสียงพอเหมาะ
๗.  ใช้สีหน้า  ท่าทาง  กิริยาประกอบการเล่าเหตุการณ์ด้วย  จะได้ดูเป็นธรรมชาติ
๘.  แสดงข้อคิดเพิ่มเติมตามควร